สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
Synchrotron Light Research Institute | |
ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน | |
ที่ทำการของสถาบัน | |
ภาพรวมสถาบัน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 5 มีนาคม พ.ศ. 2539 |
สถาบันก่อนหน้า |
|
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | อาคารสิรินธรวิชโชทัย 111 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
บุคลากร | 212 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 386,857,700 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสถาบัน |
|
ต้นสังกัดสถาบัน | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสถาบัน |
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Synchrotron Light Research Institute (Public Organization)) เป็นองค์การมหาชนไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สืบทอดจาก "ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา[3]
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2537 สภาวิจัยแห่งชาติ ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในประเทศไทย โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงาน จำนวน 15 คน เพื่อร่างโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของประเทศไทย กระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการแสงสยาม และการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติขึ้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551 เป็นผลให้ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดซินโครตรอนแห่งชาติ ได้รับการยกฐานะเป็น องค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[4] ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อัตรากำลัง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประวัติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๑