การกีฬาแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกีฬาแห่งประเทศไทย
Sports Authority of Thailand
ตราเครื่องหมาย
ตราอัตลักษณ์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง18 ตุลาคม พ.ศ. 2528; 38 ปีก่อน (2528-10-18)
ผู้ก่อตั้งครม.43
หน่วยงานก่อนหน้า
  • องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย
สำนักงานใหญ่286 ถนนรามคำแหง
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี3,061.3087 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ก้องศักด ยอดมณี, ผู้ว่าการ[2]
  • ทนุเกียรติ จันทร์ชุม, รองผู้ว่าการ
  • ประชุม บุญเทียม, รองผู้ว่าการ
  • โปรดปราน สมานมิตร, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เว็บไซต์www.sat.or.th

การกีฬาแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Sports Authority of Thailand, ชื่อย่อ: กกท., SAT) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาในประเทศไทยทั้งหมดทุกชนิดกีฬา มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 286 ศูนย์กีฬาหัวหมาก ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

การกีฬาแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปีเดียวกัน[3] โดยจัดตั้งขึ้นแทน องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2507 ที่ประกาศเมื่อ 12 กันยายน ปีดังกล่าว[4] และให้มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมกีฬาในประเทศไทย และควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาในประเทศไทยให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติฯ[3] ต่อมา พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ประกาศใช้แทนพระราชบัญญัติฯ ฉบับปี พ.ศ. 2528 โดยให้มีผลบังคับ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป[5]

การบริหารงาน[แก้]

อาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560 การกีฬาแห่งประเทศไทย มีโครงสร้างการบริหารคือ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ทั้งหมด 15 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของ นายกสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกกันเองของนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย การแพทย์ การบริหารการกีฬา หรือวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นกรรมการ ให้ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการและเลขานุการ[6]

และกรรมการโดยตำแหน่ง กับกรรมการซึ่งแต่งตั้ง ตามมติคณะรัฐมนตรี และมีผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้มีตำแหน่งรับผิดชอบในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเป็นรายปี[3]

คณะกรรมการในปัจจุบัน[แก้]

คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 มีผล 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ปัจจุบันมีรายชื่อคณะกรรมการดังนี้[7]

  1. ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานกรรมการ
  2. สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ
  3. อารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นกรรมการ
  4. อัครุตม์ สนธยานนท์ ผู้แทนปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
  5. สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
  6. พรพจน์ เพ็ญพาส ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
  7. อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
  8. เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกรรมการ
  9. วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้แทนประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
  10. ณัยณพ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
  11. ชาญชัย สุขสุวรรณ์ ผู้แทนสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า "แห่งประเทศไทย" เป็นกรรมการ
  12. พลตำรวจโท ประจวบ วงศ์สุข ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ
  13. สาธิต บุญทอง ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด เป็นกรรมการ
  14. อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ
  15. ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ
  16. ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ

สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย[แก้]

สมาคมกีฬาในประเทศไทยที่อยู่ในความดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีรายชื่อดังต่อไปนี้

อาคารกีฬาที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. 'ดร.ก้องศักดิ์' ผู้ว่ากกท.คนที่13, ไทยโพสต์ออนไลน์, 8 มิถุนายน 2561.
  3. 3.0 3.1 3.2 พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2528, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 102 ตอน 149 ฉบับพิเศษ, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2528, หน้า 1-23.
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2507, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 81 ตอน 89 ก ฉบับพิเศษ, 17 กันยายน พ.ศ. 2507, หน้า 1-11.
  5. พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2558, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 132 ตอนที่ 21 ก, 26 มีนาคม 2558, หน้า 1-29.
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/106/1.PDF
  7. การกีฬาแห่งประเทศไทย. "คณะกรรมการ กกท. – การกีฬาแห่งประเทศไทย".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]