ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization)

อาคารพญาไทพลาซ่า ที่ตั้งของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 กันยายน พ.ศ. 2548 (19 ปี) [1]
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักทดสอบกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(พ.ศ. 2546-2548)
  • สำนักทดสอบกลาง ทบวงมหาวิทยาลัย(พ.ศ. 2520-2545)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี807,108,500 บาท
(พ.ศ. 2560)[2]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.ศิริดา บุรชาติ, ผู้อำนวยการ
  • ดร.ทรายทอง พวกสันเทียะ, รองผู้อำนวยการ
  • ดร.วารุณี เลียววิวัฒน์ชัย, รองผู้อำนวยการ
  • ดร.ชื่นฤดี บุตะเขียว, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.niets.or.th

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. (อังกฤษ: National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) : NIETS) เป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน สทศ. มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ประวัติ

[แก้]

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า "สทศ" ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "National Institute of Educational Testing Service (Public Organization)" เรียกโดยย่อว่า "NIETS" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระและหน้าด้าที่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการ ความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร การเงิน การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ

การจัดสอบ

[แก้]
  1. O-NET : Ordinary National Educational Test (การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน) เป็นการสอบความรู้รวบยอดปลายช่วงชั้นที่ 1 - 3 ของชั้น ป.6 ม. 3 และ ม. 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร โดยเดิมมี 8 วิชา แต่ต่อมาในปีการศึกษา 2558 ได้ลดลงเหลือ 5 วิชาได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ[3]
  2. V-NET : Vocational National Educational Test (การทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา) ซึ่งจัดสอบให้กับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3
  3. I-NET : Islamic National Educational Test (การทดสอบมาตรฐานอิสลามศึกษา) ระดับตอนต้น ตอนกลาง และ ตอนปลาย ซึ่งจัดสอบให้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น ตอนกลาง และ ตอนปลาย ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ
  4. B-NET : Buddhism National Educational Test การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา[4]
  5. N-NET : Non-Formal National Education Test การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน[5]
  6. การทดสอบสมรรถนะครู สำหรับครู

การบริหารงาน

[แก้]

สทศ. มีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ รายชื่อต่อไปนี้มีผลตั้งแต่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย [6][7]

  1. นายกิติรัตน์ มังคละคีรี (ประธานกรรมการสทศ.)
  2. ดร.อัมพร พินะสา
  3. ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ
  4. ศ.ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
  5. นายเธียรชัย ณ นคร
  6. รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์
  7. นางสาวพรวิสัย เดชอมรชัย
  8. ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
  9. ดร.วราภรณ์ สีหนาถ
  10. รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช
  11. ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรรมการและเลขานุการ

รายนามประธานคณะกรรมการบริหาร

[แก้]
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
รายนามประธานคณะกรรมการบริหาร วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.สงบ ลักษณะ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2553
2. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2558
3. ดร.ชาคร วิภูษณวนิช พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
4. นายกิตติรัตน์ มังคละคีรี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

รายนามผู้อำนวยการ

[แก้]

ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีดังนี้

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ประทีป จันทร์คง 3 กันยายน พ.ศ. 2548 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (รักษาการ)
-. ดร.วิเชียร เกตุสิงห์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
2. ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (รักษาการ)
3. รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (วาระแรก)
1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (วาระที่สอง)[8]
4. ดร.ทรายทอง พวกสันเทียะ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริดา บุรชาติ[9] 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน[10]


ข้อวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

ข้อสอบโอเน็ต

[แก้]

สทศ.ได้รับการวิจารณ์เป็นวงกว้างเกี่ยวกับการออกข้อสอบผิดทุกปี รวมไปถึงการทำข้อสอบกำกวมในบทวิเคราะห์ หรือออกข้อสอบที่คำตอบถูกมากกว่า 1 ข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้น ม.6 ที่ต้องใช้เป็นคะแนน 30% หรือคิดเป็น 9,000 คะแนนจากคะแนนรวมทั้งหมด 30,000 คะแนน ที่ทำให้นักเรียนบางส่วนไม่พอใจ และเกือบทุกปีข้อสอบโอเน็ตมักถูกนำเสนอแบบรายข้อผ่านทางรายการ เรื่องเล่าเช้านี้[11][12][13] นอกจากนี้ยังมีกรณีข้อสอบโอเน็ตวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาปีการศึกษา 2553 ที่ตั้งคำถามเชิงคำถามเปิดเกี่ยวกับ นก นพวรรณ เลิศชีวกานต์ นักเทนนิสอาชีพหญิง จนภายหลังมีคนไปโพสต์คำถามนี้ในเฟสบุ๊คของ นก นพวรรณ ปรากฏว่าเจ้าตัวตอบไม่ตรงเฉลยกับ สทศ. ทั้งหมด[14] กรณีตรวจข้อสอบผิดชุดในปีการศึกษา 2556 (โอเน็ตมีข้อสอบ 2 ชุดต่อหนึ่งวิชา) จนทำให้ต้องแจกคะแนนฟรีให้กับคนที่สอบอีกชุด แต่อีกกลุ่มกลับไม่ได้คะแนนฟรี[15]

ในข้อสอบโอเน็ตปีการศึกษา 2558 ได้มีการเฉลยข้อสอบรายวิชาสังคมศึกษาผิด 1 ข้อ จนทำให้ผู้มีสิทธิ์สอบ 423,519 คน มีผู้ที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น จำนวน 135,514 คน ได้คะแนนลดลง 131,292 คน และคะแนนคงเดิม 156,713 คน[16] แต่ถึงอย่างไรก็ดีมีนักวิชาการบางส่วนรวมถึงครูกวดวิชาชื่อดัง ได้ออกมาวิจารณ์ สทศ.เพิ่มเติม ว่ายังมีข้อสอบผิดอีกหลายข้อ เช่น อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ออกมาตำหนิข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษา ม.6 ผ่านเฟซบุ๊กว่ามีความกำกวมและขาดมาตรฐาน[17] รวมถึง อ.ปิง เจริญศิริวัฒน์ ครูกวดวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาจากสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ ที่ได้ออกมาโพสต์วิจารณ์ข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษาผ่านเฟสบุ๊คไลฟ์ความยาวกว่า 1 ชั่วโมง โดยได้นำเอกสารของกระทรวงเข้ามาประกอบในข้อที่ อ.ปิง อ้างว่า สทศ.เฉลยผิดอีกด้วย โดย อ.ปิงได้กล่าวว่าข้อที่ผิดทั้งหมด 5 ข้อคิดเป็นคะแนนถึง 90 คะแนน[18][19] แอนดรูว์ บิ๊กส์ ครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดังที่ได้ทำการตรวจคำตอบโอเน็ตวิชาภาษาอังกฤษ ม.3 แล้วพบว่าข้อสอบพาร์ทวิเคราะห์และพาร์ทบทสนทนา (Conversation) มีข้อที่คำตอบถูกมากกว่า 1 และมีข้อที่ สทศ.เฉลยผิด รวมทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของทั้งหมด[20]

อ้างอิงคำ

[แก้]
  1. "ความเป็นมา สทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-10.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  3. นักเรียนเฮ กระทรวงศึกษาฯ ปรับลดวิชาสอบโอเน็ต เหลือ 5 วิชา เก็บถาวร 2015-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ .วันที่ 27 มิถุนายน 2558
  4. B-NET เก็บถาวร 2016-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, niets.or.th .สืบค้นเมื่อ 08/06/2559
  5. N-NET คืออะไร (มีด้วยเหรอ??) เก็บถาวร 2021-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, archive.wunjun.com .สืบค้นเมื่อ 08/06/2559
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/017/T_0021.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/064/T_0018.PDF
  8. สัมพันธ์ นั่งผอ.สทศ.อีกสมัย ,dailynews.co.th
  9. ประกาศคณะกรรมการ สทศ. เรื่อง ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการสทศ.[ลิงก์เสีย]
  10. "ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ เข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-02-10.
  11. เมื่อ "ลุงสรยุทธ" ช่อง 3 ทำข้อสอบ O-NET 54, ยูทูบ .วันที่ 20 ก.พ. 2012
  12. ความอนาถของ ข้อสอบ O net 1 avi, ยูทูบ . 24 ก.พ. 2010
  13. O-net 56 ถามแบบนี้คุณจะตอบยังไง??, ยูทูบ .วันที่ 10 ก.พ. 2013
  14. เมื่อนก นพวรรณมาตอบข้อสอบ ONET ด้วยตัวเอง (ข้อเทนนิส ) เก็บถาวร 2021-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Unigang .สืบค้นเมื่อ 10/06/2559
  15. สทศ.ให้คะแนน O-Net วิทย์ฟรี 24 คะแนน โบ้ยความผิดคอมพ์ เก็บถาวร 2016-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ .วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
  16. ข้อสอบโอเน็ตผิดไม่กระทบแอดมิชชัน, ครูวันดี .วันที่ 3 มิถุนายน 2559
  17. อ.ธรรมศาสตร์ เผย สทศ.เฉลยข้อสอบ O-NET ผิด ชี้คำถามขาดมาตรฐาน, กระปุก .สืบค้นเมื่อ 10/06/2559
  18. ติวเตอร์ชื่อดังตรวจข้อสอบสังคมโอเน็ตม. 6 เผยมีเฉลยผิด-ตั้งคำถามกำกวม ชี้อาจส่งผลให้นักเรียนไม่ได้รับความยุติธรรม 90 คะแนน, โพสต์ทูเดย์ .วันที่ 6 มิถุนายน 2559
  19. อ.ปิงแฉ! ข้อสอบโอเน็ตม.6 ผิดเพิ่ม 5 ข้อ-กำกวมเพียบ, nationtv .สืบค้นเมื่อ 10/06/2559
  20. แอนดรูว์ บิ๊กส์ เปิดเฉลยข้อสอบ O-net อังกฤษ ม.3 พบผิดร้อยละ 8 ถือว่าเยอะมาก, กระปุก .สืบค้นเมื่อ 10/06/2559

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]