ข้ามไปเนื้อหา

องค์การสวนพฤกษศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
The Botanical Garden Organization
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง7 เมษายน พ.ศ. 2535
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สวนพฤกษศาสตร์ภาคเหนือ
สำนักงานใหญ่100 หมู่ที่ 9 ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
งบประมาณต่อปี234.3205 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พงศ์บุณย์ ปองทอง, ประธานกรรมการ
  • ปวิช เฉลิมวัฒน์, ผู้อำนวยการ [2]
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เว็บไซต์http://www.qsbg.org

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (ชื่อย่อ : อ.ส.พ.) เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินงานด้านสวนพฤกษศาสตร์ การศึกษาค้นคว้าวิจัยและรวบรวมข้อมูลทางด้านพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย โดยเป็นการโอนภารกิจของสวนพฤกษศาสตร์ภาคเหนือ ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาดำเนินการ[3][4]

องค์การสวนพฤกษศาสตร์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบันมีพงศ์บุณย์ ปองทอง เป็นประธานกรรมการ และมีปวิช เฉลิมวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการ

สวนพฤกษศาสตร์ในความดูแล

[แก้]

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ มีสวนพฤกษศาสตร์ในความดูแล จำนวน 5 แห่ง[5] ได้แก่

  1. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่ 6,500 ไร่ เป็นแหล่งอนุรักษ์พืชวงศ์กล้วยไม้ ขิงข่า พืชหินปูน พืชสมุนไพร พืชทนแล้ง พืชกินแมลง พืชน้ำ
  2. สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้าในพระราชดำริ พิษณุโลก ตั้งอยู่ที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก บนพื้นที่ 1,380 ไร่ เป็นแหล่งอนุรักษ์พืชที่มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่สูง
  3. สวนพฤกษศาสตร์ระยอง ตั้งอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 830 ไร่ เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พืชชุ่มน้ำ
  4. สวนพฤกษศาสตร์เมืองพลขอนแก่น ตั้งอยู่ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่ 75 ไร่ เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พืชสมุนไพรอีสาน
  5. สวนพฤกษศาสตร์พระแม่ย่าสุโขทัย ตั้งอยู่ริมทุ่งทะเลหลวง บนพื้นที่ 340 ไร่ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ ศึกษาวิจัยและคืนถิ่นธรรมชาติ

และอยู่ระหว่างการเตรียมการจัดตั้งอีก 4 แห่ง คือ สวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ จังหวัดพังงา สวนพฤกษศาสตร์ภาคเหนือตอนบน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และสวนพฤกษศาสตร์อีสาน จังหวัดขอนแก่น

การดำเนินงาน

[แก้]

องค์การสวนพฤกศาสตร์ เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้หลักจากการดำเนินงานศูนย์ฝึกอบรม ประมาณ 8.7 ล้านบาท รองลงมาคือ รายได้จากค่าเข้าชมสวนพฤกศาสตร์ ประมาณ 3.1 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2552 มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 10.8 ล้านบาท[6] แต่งบประมาณในการบริหารงานองค์การฯ มาจากเงินงบประมาณอุดหนุนของรัฐจำนวนกว่า 146.9 ล้านบาท

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ มีบุคลากรในสังกัดจำนวน 547 คน (ณ ปี พ.ศ. 2553) ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราว/ลูกจ้างโครงการ โดยมีพนักงาน/ลูกจ้างประจำเพียง 95 คน (ร้อยละ 17)

อ้างอิง

[แก้]