เสนาะ อูนากูล
เสนาะ อูนากูล | |
---|---|
![]() | |
กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2560 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2522 | |
ก่อนหน้า | พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ |
ถัดไป | นุกูล ประจวบเหมาะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงนงนุช อูนากูล |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | ![]() |
เสนาะ อูนากูล (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474) เป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2] ในปี พ.ศ. 2562 ได้จัดตั้งมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เพื่อช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก [3]
ประวัติ
[แก้]เสนาะ อูนากูล เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของ นายวิชัย และ นางเนื่อง อูนากูล (สกุลเดิม สืบสงวน) บิดาเป็นผู้สร้าง "ตลาดหนองมน" เป็นบุตรชายคนเล็กของพี่น้องทั้งหมด 8 คน[4] จบชั้นมัธยมปีที่ 6 จาก โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี เมื่อพ.ศ. 2490 จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อพ.ศ. 2494 จบการศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วไปศึกษาต่อปริญญาตรี สาขาการพาณิชย์ University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา[5]
รับราชการ
[แก้]เสนาะ อูนากูล รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ชำนาญการคลัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อพ.ศ. 2498 หลังจากนั้นในพ.ศ. 2503 ได้ดำรงตำแหน่ง เศรษฐกรส่วนวางแผนผังพัฒนาการเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เลื่อนเป็นหัวหน้ากองเศรษฐกิจนิเทศก์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2511 เป็นผู้อำนวยการกองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2516 รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฝ่ายวิชาการ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2517 – 2518 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[6]
หลังการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ[7]
งานการเมือง
[แก้]เสนาะ อูนากูล ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนเมื่อพ.ศ. 2534[8] เคยเป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 และเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อพ.ศ. 2524
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2527 - เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2528 - พาณิชศาสตร์และการบัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531 - สังคมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2532 - เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2534 - เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- พ.ศ. 2534 - เศรษฐศาสตร์การพัฒนาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2541 - เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2526 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2524 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ เสนาะ อูนากูล คณะกรรมการบริษัท เก็บถาวร 2015-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก www.scg.co.th
- ↑ "มูลนิธิเสนาะ อูนากูล".
- ↑ เสนาะ อูนากูล “เสาหลักรุ่นที่สาม” แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
- ↑ นายเสนาะ อูนากูล เก็บถาวร 2014-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก www.bot.or.th
- ↑ เรียนรู้จากหนังสือ ชีวิต/ผลงาน/เสนาะ อูนากูล จากไทนรัฐออนไลน์. 17 กันยายน 2556.
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๕/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๗, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2474
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองชลบุรี
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- นักการเมืองไทย
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยบูรพา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ