พลากร สุวรรณรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลากร สุวรรณรัฐ
ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ว.ป.ร.3
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม 2544 – 6 ธันวาคม 2559
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม 2559
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 (74 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรส ท่านผู้หญิงทัศนียา สุวรรณรัฐ (ถึงแก่อนิจกรรม)
ศาสนา พุทธ

พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี[1] ประธานกรรมการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2491

ประวัติ[แก้]

พลากรเป็นบุตรของนายพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และหม่อมราชวงศ์ประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ (ราชสกุลเดิมทองแถม บุตรีหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม) สมรสกับท่านผู้หญิงทัศนียา สุวรรณรัฐ (สกุลเดิม โฆวินทะ) [2]

นาย พลากร สุวรรณรัฐ ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2534 [3]

นายพลากร สุวรรณรัฐ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ดังนี้

  1. ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตนกุล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สมรสกับ นายจเร จุฑารัตนกุล อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์
  2. นางพิยดา สุวรรณรัฐ ประกอบอาชีพอิสระ สมรสกับนายเฮนริค แลงเฟลด์
  3. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี สมรสกับท่านผู้หญิงทัศนียา (โฆวินทะ)
  4. นางภราไดย สุวรรณรัฐ สมรสกับ นายทินกร หิรัญพฤกษ์ ซึ่งมีลูกชายเป็นนักแสดง คือ นายภูริ หิรัญพฤกษ์
  5. นายพระนาย สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย[4] อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.)

การศึกษา[แก้]

นายพลากร สุวรรณรัฐ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท M.A.I.A.(International Affairs, Southeast Asian Studies) จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ และผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

หน้าที่การงานในอดีต[แก้]

หน้าที่การงานในปัจจุบัน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายเกษม วัฒนชัย, นายพลากร สุวรรณรัฐ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
  2. ทั้งสองท่าน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 Link
  3. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๘, ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง, ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๐
  5. นายกมูลนิธิ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๓, ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๓๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๖๕, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒