พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์
พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2518 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (70 ปี) |
นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึงปี พ.ศ. 2518[1]
ประวัติ[แก้]
นายพิสุทธิ์ เป็นบุตรของนายกี และ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ที่ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คนโดยหนึ่งในนั้นคือนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์
นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์พันธุ์ชมพูนุท ทองแถม เมื่อ พ.ศ. 2486 มีบุตรธิดา 3 คน คือ
- นางนลินี เลขะกุล สมรสกับ นายนวรัตน์ เลขะกุล
- นายสุทธิพันธุ์ นิมมานเหมินท์ สมรสกับ นางธัญญลักษณ์ นิมมานเหมินท์ (สกุลเดิม นิตย์วิบูลย์)
- นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์[2]
พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2528
การทำงาน[แก้]
นายพิสุทธิ์ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง ต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 จึงได้โอนย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้ากองเงินกู้ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึงปี พ.ศ. 2518
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2510 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2504 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รู้จัก ธปท. > ผู้ว่าการอดีตถึงปัจจุบัน > นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายปิยพันธ์ นิมมานเหมินท์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภริยาข้าราชการ