ข้ามไปเนื้อหา

การทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการก่อสร้างเป็นต้นมา ก็ได้มีข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยตลอด โดยข้อกล่าวหาการทุจริตเริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 ภายหลังการจัดซื้อที่ดินของรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร[1] ซึ่งกินเวลามาจนถึงรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีความคืบหน้าของการก่อสร้างท่าอากาศยานมากที่สุด จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีองค์การใดที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการก่อสร้างได้เลย[ต้องการอ้างอิง]

ในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 กองทัพไทยอาศัยข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหนึ่งในข้ออ้างรัฐประหาร[2] ส่วนความล่าช้าในการซ่อมแซมและปัญหาท่าอากาศยานที่พบในภายหลังนั้น คณะรัฐประหารเองก็ได้กล่าวหารัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรมากขึ้นอีก

ใน พ.ศ. 2551 หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ได้ออกมายอมรับว่า รายงานการทุจริตในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ถูกต้อง และถอนการรายงานของตน[3]

ภาพรวม

[แก้]

ข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเริ่มมีขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 ซึ่ง ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กล่าวว่า "รัฐบาลทั้งหมดก่อนหน้ารัฐบาลทักษิณ ต่างก็มีส่วนได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว"[4]

ส่วนวีระ สมความคิด จากเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ได้กล่าวว่า "มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในโครงการท่าอากาศยานทุกโครงการ ตั้งแต่ที่จอดรถ การประมูลราคาร้านค้าปลอดภาษี ระบบทำความเย็นของตัวอาคาร และระบบผลิตพลังงาน"[5] แต่เขาก็ยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าวเลย ซึ่งข้อกล่าวหาดังกล่าวนำไปสู่การลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ

ข้อกล่าวหาการทุจริต

[แก้]
เหตุการณ์นี้นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2548 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ก็ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจสุริยะได้ตามข้อกล่าวหา[7]
  • ปัญหาสัมปทานในการก่อสร้าง และจัดสรรพื้นที่ องค์ประกอบอื่นๆ สัมปทานบริการต่างๆ ภายในสนามบิน [8]เช่น
    • มีนาคม 2549 สตง.ได้ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอความชี้แจงเรื่องที่ มีการจ่ายค่าบริการ 1,600 ล้านบาท ให้กับ บริษัทรับเหมาสร้างรถไฟขนส่ง จากตัวเมืองมายังสนามบิน (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) เพียง 5 วันหลังจากมีการเซ็นสัญญา แทนที่จะมีการจ่าย หลังจการที่โครงการสร้างเสร็จ สตง.ได้สั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยชี้แจงภายใน 60 วัน[9]
    • กรกฎาคม 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ตนจะแจ้งความกล่าวโทษต่อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคล 6 คน (รวมถึงคนใกล้ชิดของนายกรัฐมนตรี) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับสินบน 300 ล้านบาท จากบริษัทลัทธ์ เฟอร์ ไทย จำกัด ในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ (คาร์ปาร์ก) และสัมปทานเก็บผลประโยชน์ 25 ปี[10]
    • กรกฎาคม 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ตั้งข้อสังเกตในการประมูล รถเข็นสัมภาระในสนามบิน และการจัดหาบริษัทจำหน่ายไฟฟ้า สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศ ให้กับเครื่องบินที่ลานจอด[11]
    • เดือนกรกฎาคม 2549 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ บริษัทไทยแอร์พอร์ตกราวน์เซอร์วิส (แทคส์, TAGS) (บริษัทที่ได้รับสัมปทาน บริหารเขตปลอดอากร และศูนย์โลจิสติกส์ในสนามบิน) ว่า มีบริษัทในสิงคโปร์ถือหุ้นอย่างไม่ปรกติ และไม่มีการประกาศประมูลอย่างที่ควรเป็น[12]
    • เดือนสิงหาคม 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้อ้างว่าตนเองมี บันทึกข้อตกลงลับระหว่างคณะผู้บริหารท่าอากาศยานไทย กับบริษัทแทคส์ ซึ่งระบุว่ามีการแก้ไขสเปครถเข็นเอื้อให้บางบริษัทได้งาน และลดสเปคลงมาเป็นการผลิตรถเข็นในประเทศ ทำให้มีส่วนต่างกำไรมากขึ้น 200 ล้านบาท โดยได้นำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นให้กับ สตง.[13]
  • ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรมีแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยยกระดับให้เป็นเขตบริหารพิเศษ[14] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "สุวรรณภูมิมหานคร" ส่วนข้อกล่าวหาในแนวคิดดังกล่าว เป็นการคาดการณ์ถึงผลกระทบความยากจนที่อาจเพิ่มขึ้น และนักการเมืองได้เข้าไปซื้อที่ดินขนาดใหญ่ในพื้นที่เพื่อหากำไร[15] อย่างไรก็ตาม หลังจากการเปิดท่าอากาศยานอย่างเป็นทางการ ราคาที่ดินในพื้นที่ก็ตกลงถึง 40-50% เนื่องจากปัญหามลภาวะทางเสียง[16]
    • ในวันที่ 28 สิงหาคม 2555 ปปช มีมติยกฟ้อง ทักษิณ ชินวัตร และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจในคดี CTX[17]
    • เดือน มีนาคม 2556 มีเรื่องร้องเรียนท่าอากาศยานไทยฯ ดำเนินการจัดจ้างไม่ถูกต้องในการมาดำเนินการเป็นผู้จัดเก็บรวบรวมเงินจากตู้เก็บเงินขาออก และมาดำเนินการจัดหาพนักงานปฏิบัติหน้าที่ในตู้เก็บเงินในช่องทางขาออกอีกทั้งมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการดังกล่าว เช่น สำเนาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาพัสดุ ผู้ปฏิบัติการจัดหาพัสดุ คณะกรรมการตรวจรับ สัญญาจ้าง โดยมีผู้ร้องเรียนดังกล่าวแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถูกยืนให้ดำเนินการสอบสวนต่อโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ[ต้องการอ้างอิง]

การตรวจสอบข้อกล่าวหาการทุจริต

[แก้]

คณะวิศวกรที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐประหารให้ดำเนินการตรวจสอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่าอากาศยานเป็นเรื่อง "เล็กน้อย" และ "เกิดขึ้นได้ทั่วไป" ส่วนโฆษกของสายการบิน บริติช แอร์เวย์ ได้ออกมากล่าวว่า "ทุกอย่างเป็นปกติ" และ "เราไม่ได้ยินการฟ้องจากพนักงานแต่อย่างใด"[18]

ส่วนจากการตรวจสอบโดยท่าอากาศยานไทย พบว่า มูลค่าความเสียหายจากปัญหา 60 อย่างที่ถูกระบุนั้นมีมูลค่าน้อยกว่า 1% ของมูลค่าสายการบิน โดยปัญหาดังกล่าวคาดว่าจะสามารถซ่อมแซมได้ทั้งหมดภายใน 4-5 ปี

นอกจากนี้ การตรวจสอบข้อกล่าวหาการทุจริตดังกล่าวยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ได้ให้ภาพรวมที่ยุติธรรมของข้อบกพร่องของท่าอากาศยาน โดย สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา หัวหน้าสถาปนิกของคณะตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้กล่าวว่า "ปัญหาต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติสำหรับสนามบินใหม่ ในกรณีของเรามันซับซ้อนยิ่งกว่า เพราะว่าทุกคนต้องการขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี"[19]

การตรวจสอบคดีนี้มีความขัดแย้งในการตรวจสอบเนื่องจากอัยการสูงสุดที่รับผิดชอบในการฟ้องร้องต่อศาลนั้นเป็นคนเดียวกันกับกรรมการบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งบุคคลดังกล่าวได้แก่ ชัยเกษม นิติสิริ[20]ซึ่งในที่สุดคดีจบที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง ทักษิณ ชินวัตร ชัยเกษม นิติสิริ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 คตส. ได้รับหนังสือจากอัยการสูงสุดแจ้งข้อไม่สมบูรณ์ของคดี และขอให้ตั้งคณะทำงานร่วมกันให้ คตส. ทราบ คตส. จึงรีบมีมติมอบหมายให้ ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการต่อ ก่อนที่ คตส. จะหมดวาระเพียง 3 วัน ในวันที่ คตส. ได้รับหนังสือจากอัยการสูงสุด คตส. บางคนถึงกับอุทานว่า “ทำอย่างนี้หักหลังกันนี่หว่า” ภายหลังการสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว ชัยเกษม นิติสิริ ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อเป็นการตอบแทนที่ไม่สั่งฟ้อง ทักษิณ ชินวัตร

ต่อมา ปปช.มีการตั้งอนุกรรมการเพื่อไต่สวนความผิดอดีตเจ้าหน้าที่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำนวน 6 คน ที่เดินทางไปเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดูงานท่าอากาศยาน[21] โดยมีบริษัทตัวแทนขาย CTX 9000 ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้แทน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มาตรา 103 ประกอบด้วย นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธาน บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด, นาย ชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด, นาย เทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ, นาย ศุภเดช พูนพิพัฒน์ และ พล.อ.อ.ณรงค์ สังขพงศ์ ในฐานะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ต่อมา นายศรีสุข จันทรางศุ เสียชีวิตลง ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "New airport, new province, new government HQ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
  2. International Herald Tribune, Thailand's airport imbroglio grows, 2 February 2007
  3. The Nation, Nation Wrong About Thaksin Corruption เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 6 November 2008
  4. The Nation, Engineers beat their breasts over airport debacle เก็บถาวร 2007-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 11 February 2007
  5. 5.0 5.1 Channel NewsAsia, Corruption scandals delay Thailand's massive Suvarnabhumi Airport[ลิงก์เสีย]", 23 August 2005
  6. AirportTechnology.com, Suvarnabhumi Airport เก็บถาวร 2006-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. The Bangkok Post, More To Come เก็บถาวร 2006-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 June 2005
  8. พลิกปูม - ก่อนเปิดใช้ "จุดเด่น-จุดด่าง" สนามบินสุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ.เดลินิวส์, 9 กันยายน พ.ศ. 2549
  9. Bangkokpost Newspaper March 20, 2006: Rail told to explain B2bn spending
  10. นายอลงกรณ์ พลบุตร แถลงว่า ตนจะแจ้งความกล่าวโทษต่อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เก็บถาวร 2009-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ.คมชัดลึก, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
  11. "ปชป." ชำแหละประมูล 4 พันล. ระบบ "แอร์-ไฟฟ้า" ป้อนเครื่องบิน ท่าอากาศยาน"สุวรรณภูมิ" เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ.มติชน
  12. จี้ตรวจสอบ! บ.ผีสิงคโปร์เหมาฮุบงาน สุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2020-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นสพ.เดลินิวส์
  13. ปชป.ปูด"เจ๊"งาบงานสุวรรณภูมิ ขู่เป็นรบ.มีคนติดคุกนับร้อย เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ.มติชนรายวัน, 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549
  14. Institute for Public Policy Studies Democracy Monitor, Suvanabhumi Metropolis เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. The Nation, City plan could see prices double เก็บถาวร 2006-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 June 2006
  16. The Nation, Noise, floods cut land prices เก็บถาวร 2006-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 October 2006
  17. ปปช มีมติยกฟ้อง ทักษิณ ชินวัตร และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจในคดี CTX[ลิงก์เสีย]
  18. Bangkok Post, Suvarnabhumi: No cracks, minor damage เก็บถาวร 2007-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 February 2007
  19. Asian Times Online, Cracks appear in Thai aviation-hub hopes เก็บถาวร 2012-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 7 February 2007
  20. ย้อนรอยมหากาพย์ 7 ปี CTX (2): คตส. เริ่มต้นและจบด้วยการหักหลัง
  21. ย้อนรอยมหากาพย์ 7 ปี CTX: ตอนจบแบบหักมุมของ ป.ป.ช.
  22. เส้นทางเดิน “ศรีสุข จันทรางศุ” อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]