ไพฑูรย์ แก้วทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพฑูรย์ แก้วทอง
ไพฑูรย์ ใน พ.ศ. 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าอุไรวรรณ เทียนทอง
ถัดไปเฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2537 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไปสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 สิงหาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2539–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังใหม่ (2518–2533)
ราษฎร (2535)
ความหวังใหม่ (2535–2539)
คู่สมรสนางอัจราภรณ์ แก้วทอง

ไพฑูรย์ แก้วทอง (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2479) กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร

ประวัติ[แก้]

ไพฑูรย์ แก้วทอง เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมรสกับนางอัจฉราภรณ์ แก้วทอง มีบุตรชายคนโตคือ นายนราพัฒน์ แก้วทอง และมีน้องสาวคนกลางคือ นางสาวพัชราภรณ์ แก้วทอง และมีน้องชายคนเล็กคือ นายพูนทรัพย์ แก้วทอง

การทำงาน[แก้]

นายไพฑูรย์ แก้วทองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตรสมัยแรกในนามพรรคพลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อมาในสังกัดพรรคอื่นๆ อาทิ พ.ศ. 2529-2531 สังกัดพรรคราษฎร พ.ศ. 2535-2538 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 9 สมัย (แบบแบ่งเขต 5 สมัย ระบบบัญชีรายชื่อ 4 สมัย)

เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[2] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน 1[3] ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม[4] (ครม.คณะที่ 50) และในรัฐบาลชวน 2 (ครม.คณะที่ 53) ได้กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง มีบุตรชาย ที่เข้าสู่วงการเมืองคือ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ที่ลงสมัครได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.พิจิตร

ในทางธุรกิจ นายไพฑูรย์เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาหลายแห่ง เช่น บริษัทสระหลวงก่อสร้าง, บริษัทชาละวัน เทรดดิ้ง, บริษัท ก.นราพัฒน์ ถือเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนของพรรคประชาธิปัตย์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายไพฑูรย์รับผิดชอบดูแลพื้นที่โซน 2 (ภาคเหนือตอนล่างและภาคอีสานบางส่วน รวม 9 จังหวัด) และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 1 โดยสามารถนำทีมชนะการเลือกตั้งรวม 3 คน คือ นายไพฑูรย์ แก้วทอง, นายพุฒิพงศ์ สงวนวงศ์ชัย และแพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ ต่อมาแพทย์หญิงมาลินี ขอลาออกจาก ส.ส.สัดส่วน ทำให้นายสัญชัย อินทรสูตร ขึ้นมาเป็น ส.ส. สัดส่วนแทน

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายไพฑูรย์ แก้วทอง ที่เป็น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเงา

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายไพฑูรย์ แก้วทอง ได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ครม.คณะที่ 59) ต่อมาได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยนายไพฑูรย์ ถูกปรับออกจากตำแหน่ง[5] เพื่อเปิดโอกาสให้คนในพรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสทำงาน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 11[6] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๓๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ไพฑูรย์ แก้วทอง ถัดไป
อุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
เฉลิมชัย ศรีอ่อน
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ครม. 50)
(8 มกราคม พ.ศ. 2537 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์