ข้ามไปเนื้อหา

มาลินี สุขเวชชวรกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลินี สุขเวชชวรกิจ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบสัดส่วน
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2501–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุนทร สุขเวชชวรกิจ

แพทย์หญิง มาลินี สุขเวชชวรกิจ (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2480) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ

[แก้]

มาลินี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศนียบัตรอายุรกรรมทั่วไป (Residency Training in Internal Medicine ) Beekman Downtown Hospital,NYC, USA และประกาศนียบัตรอบรมสาขาโรคหัวใจ โดยได้รับทุนจากองค์การอนามัยโลก WHO จาก Green Lane Hospital ประเทศนิวซีแลนด์

นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 4 สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน รุ่น 13 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท รัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนายแพทย์ สุนทร สุขเวชชวรกิจ

การทำงาน

[แก้]

แพทย์หญิง มาลินี รับราชการเป็นแพทย์อายุรศาสตร์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากน้ำโพ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 ด้านเวชกรรม กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ต่อมาได้เริ่มต้นทำงานการเมือง โดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วนกลุ่ม 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550

สมาชิกวุฒิสภา

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดนครสวรรค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘๕, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]