พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) | |
---|---|
เกิด | 31 มกราคม พ.ศ. 2419 |
เสียชีวิต | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 (78 ปี) |
อาชีพ | ขุนนาง, ทหาร |
บิดามารดา | หม่อมเจ้าอลงกรณ์ สุทัศน์ หม่อมเจ้ามรกต สุทัศน์ |
มหาอำมาตย์โท พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร นามเดิม หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์ (31 มกราคม 2419-23 กรกฎาคม 2497) อดีต แม่ทัพภาคที่ 1 อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 อดีตผู้รั้งตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่
ประวัติ[แก้]
พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์ เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2419 เป็นบุตรของหม่อมเจ้าอลงกรณ์ สุทัศน์ และหม่อมเจ้ามรกต สุทัศน์ (ราชสกุลเดิม นิลรัตน์)
พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ขณะอายุได้ 78 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498[1]
การศึกษา[แก้]
รับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2441 เป็นนายเวรรายงาน กรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2445 เป็นหัวหน้าแผนกที่ ๑ กรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2446 เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก
- 8 มีนาคม พ.ศ. 2449 ราชองครักษ์พิเศษ[2]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2451 เป็นผู้บัญชาการทหารบกมณฑลนครราชสีมา[3]
- 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 กราบถวายบังคมลาไปรับราชการตามตำแหน่ง[4]
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ และรั้งตำแหน่งแม่ทัพกองที่ ๓[5]
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 รั้งตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่[6]
- 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 แม่ทัพกองที่ ๓[7]
- 12 เมษายน พ.ศ. 2456 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต[8]
- 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 องคมนตรี[9]
- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 แม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่ 1 (กองทัพภาคที่ 1 ในปัจจุบัน)[10]
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 อัครราชทูตสยามประจำสหรัฐอเมริกา[11]
- 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์[12]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2475 สมุหราชองครักษ์[13]
- 31 มกราคม พ.ศ. 2479 ออกจากประจำการ[14]
ยศ[แก้]
- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ร้อยตรี[15]
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ร้อยโท[16]
- 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ร้อยเอก[17]
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2447 พันตรี[18]
- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2448 พันโท[19]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2449 พันเอก[20]
- 26 เมษายน พ.ศ. 2452 พลตรี[21]
- 14 เมษายน พ.ศ. 2456 พลโท[22]
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มหาอำมาตย์โท[23]
บรรดาศักดิ์[แก้]
- 24 ตุลาคม พ.ศ. 2447 หม่อมนเรนทรราชา ราชนิกุล ถือศักดินา 800[24]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2453 พระยาพิไชยสงคราม ถือศักดินา 1500[25]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2456 พระยาสุรินทราชา สยามาธิราชภักดี พิริยพาหะ ถือศักดินา 10000[26]
- 16 มิถุนายน พ.ศ. 2463 พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร วิชัยสงคราม รามภักดี พิริยพาหะ ถือศักดินา 10000[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ๒๔๔๘ -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[28]
- พ.ศ. ๒๔๕๑ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[29]
- พ.ศ. ๒๔๕๓ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[30]
- พ.ศ. ๒๔๕๔ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)[31]
- พ.ศ. ๒๔๕๗ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[32]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา (หน้า ๑๕๑)
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ ประกาศตั้งสมุหเทศาภิบาล
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาล
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอัครราชทูตพิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอัครราชทูต
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ปลดสมุหราชองครักษ์
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์ทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศเลื่อนยศ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๓๙๐)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า (หน้า ๑๐๑๔)
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า (หน้า ๒๔๑๓)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2419
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2497
- หม่อมราชวงศ์
- ทหารบกชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา