คณิต สาพิทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก
คณิต สาพิทักษ์
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้า พลโท ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไป พลโท อุดมเดช สีตบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 (70 ปี)
คู่สมรส งามจิตร สาพิทักษ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  ไทย
สังกัด กองทัพบก
กระทรวงกลาโหม
ยศ RTA OF-9 (General).svg พลเอก
หน่วย กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
บังคับบัญชา กองทัพภาคที่ 1

พลเอก คณิต สาพิทักษ์ กรรมการอิสระ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตประธานกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 มีชื่อเล่นว่า "อ๊อด" เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[1] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]

จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 13 (ตท.13) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 24 (จปร.24) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

เมื่อรับราชการทหาร พล.อ.คณิต ได้เข้าประจำการที่กรมทหารราบที่ 9 (ร. 9)และได้เติบโตตามหน้าที่การงานมาในหน่วยนี้ตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) หรือ "บูรพาพยัคฆ์" ปี พ.ศ. 2551 ได้เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ต่อจาก พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ที่ขึ้นเป็นเสนาธิการทหารบก

นอกจากนี้แล้วหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.คณิต ซึ่งในขณะนั้นมียศ พลตรี (พล.ต.) ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย

ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 พล.อ.คณิต ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ในยศ พลโท (พล.ท.) พล.อ.คณิต มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการชุมนุม แต่ทว่ามีเสียงเล่าลือว่าขัดแย้งกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เนื่องจาก พล.อ.คณิต ไม่ยอมใช้ความเด็ดขาดกับผู้ชุมนุมตามแผนที่วางไว้ ทำให้เมื่อมีการโยกย้ายตำแหน่งนายทหารกลางปีนั้น พล.อ.คณิต แม้จะได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็น พลเอก (พล.อ.) แต่ก็ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษากองทัพบก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สำคัญ[3] แต่ก็มีเสียงเล่าลือว่า มีสัญญาทางใจจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าในการโยกย้ายประจำปีในต้นปีหน้าจะให้กลับมารับตำแหน่งสำคัญ[4]

จนกระทั่งในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พล.อ.คณิต ให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกันเป็นต้นไป ทำให้ถูกจับตามองว่าอาจได้รับการสนับสนุนให้เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นคนถัดไปในกลางปีเดียวกัน[5]

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]

พล.อ.คณิต มีชื่อที่เรียกเล่น ๆ โดยสื่อมวลชนว่า "บิ๊กอ๊อด" ชีวิตครอบครัวสมรสแล้วกับนางงามจิตร สาพิทักษ์ มีบุตรสาว 1 คน บุตรชาย 2 คน (กรวรรณ สาพิทักษ์, ร.ต.คณินวัฒน์ สาพิทักษ์, คมน์ สาพิทักษ์) ซึ่งบุตรชายคนหนึ่งได้เสียชีวิตไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 จากอุบัติเหตุทางท้องถนน[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
  2. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  3. หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน: กันยายน พ.ศ. 2553 ISBN 9789740206521
  4. “ประยุทธ์”ขึ้นผงาดผบ.ทบ.เด้ง”คณิต”กระชับกำลัง-กลุ่มปราบเสื้อแดงได้ดี[ลิงก์เสีย]
  5. ประวัติ คณิต สาพิทักษ์ จากไทยรัฐ
  6. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  7. ลูกแม่ทัพ1ซิ่งจยย.เฉี่ยวแท็กซี่ก่อนแฉลบชนต้นไม้คอหักตาย โดย คม ชัด ลึก วัน อาทิตย์ ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 00:00 น. จากสนุกดอตคอม
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๖, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔