วิวรรธน์ ปฐมภาคย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิวรรธน์ ปฐมภาคย์
ไฟล์:วิวรรธน์ ปฐมภาคย์.jpg
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าพลโท ปราการ ชลยุทธ
ถัดไปพลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางศรีกฤษ ปฐมภาคย์
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27
ชื่อเล่นเอียด
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพภาคที่ 4

พลเอก วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[1]นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์[2] และราชองครักษ์พิเศษ[3]

ประวัติ[แก้]

พล.อ.วิวรรธน์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายเปล่ง และนางจันทร์ฉาย ปฐมภาคย์ เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 16 (ตท.16) นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 27 (จปร.27) เมื่อสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้เลือกรับราชการในเหล่าทหารราบ ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 จังหวัดปัตตานี ได้รับพระราชทานยศ พลเอก เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561[4]

ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางศรีกฤษ ปฐมภาคย์ ครูชำนาญการ มีบุตรด้วยกัน 2 คน

การทำงาน[แก้]

  • พ.ศ. 2538 ผู้บังคับกองพันพัฒนาที่ 4
  • พ.ศ. 2540 ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 43
  • พ.ศ. 2546 ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 4
  • พ.ศ. 2547 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกปัตตานี
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2557 รองแม่ทัพภาคที่ 4
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[5] ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ตาม ประกาศ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน[6] เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 คนแรกที่เป็นคนในพื้นที่ที่ปรากฏความไม่สงบ[7]

สถานที่จากนาม[แก้]

  • ห้องปฐมภาคย์ สโมสรมณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์
  • ลานวัฒนธรรมวิวรรธน์ ปฐมภาคย์ ค่ายอิงคยุทธบริหาร
  • ห้องประชุมวิวรรธน์ ปฐมภาคย์ กรมทหารพรานที่ 43 ค่ายอิงคยุทธบริหาร
  • ห้องประชุมวิวรรธน์ ปฐมภาคย์ กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/B/005/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/219/17.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/219/15.PDF
  7. ความท้าทายของแม่ทัพภาค4คนใหม่
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๐, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑