ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง
ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง | |
---|---|
หน่วยกู้ภัยได้นำอุปกรณ์ช่วยชีวิตเข้ามาที่ปากถ้ำ | |
สถานที่ | ถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน[1] |
ตั้งแต่วันที่ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561[2] |
ถึงวันที่ | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 21:38 น.[3] พบตัว 10 กรกฎาคม 2561[4] ผู้ประสบภัยรายสุดท้ายออกจากถ้ำ |
รวมระยะเวลา | 9 วัน 5 ชั่วโมง 41 นาที 15 วินาที[5] นับตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเวลาที่ผบ.ศอร.แถลงข่าวการค้นพบ 17 วัน 4 ชั่วโมง 29 นาที 5 วินาที[6] นับตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเวลาที่ผบ.ศอร.แถลงข่าวการนำผู้ประสบภัยออกจากถ้ำ |
ผู้ประสบภัย | 13 ราย[7] |
เสียชีวิต | น.ต. สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล[8] |
สาเหตุหลัก | น้ำท่วมขังภายในถ้ำหลวง[9] |
ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง เป็นปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัย 13 ชีวิต ที่ติดภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[10] ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2561 ประกอบด้วยสมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนในท้องถิ่น 12 คน และผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน ที่เข้าไปสำรวจและหายตัวไป[11][12] ทั้งหมดได้เข้าไปในถ้ำหลวงและไม่สามารถกลับออกมาได้เนื่องจาก หลังจากทั้ง 13 คนเข้าไปในถ้ำหลวงในขณะนั้นมีฝนตกหนัก และทำให้น้ำฝนไหลเอ่อเข้าท่วมถ้ำตามเส้นทางน้ำภายในถ้ำ จากทั้งดอยผาหมี จากปากทางเข้าถ้ำ รวมไปถึงรอยแยกบนเขาและสันเขาจนท่วมเอ่อบริเวณที่เป็นเหวหรือจุดต่ำสุดของถ้ำที่ทั้ง 13 คนต้องเดินทางผ่าน และน้ำได้ท่วมปิดทางออก จึงทำให้ทั้ง 13 คนออกมาไม่ได้ โดยเริ่มปฏิบัติการค้นหาโดยทันทีตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561[13] เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัย การดำน้ำ การขุดเจาะ นักภูมิศาสตร์ นักปีนเขา ตำรวจ ทหาร เอกชนจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ[14] ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นวงกว้าง[15][16][17]
ปฏิบัติการนี้มีผู้เข้าร่วมในการช่วยชีวิตกว่า 10,000 คน ซึ่งรวมถึงนักดำน้ำกว่า 100 คน, นักกู้ภัยจำนวนมาก, ตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐประมาณ 100 แห่ง, เจ้าหน้าที่ตำรวจ 900 คน และทหาร 2,000 คน รวมทั้งจำเป็นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ตำรวจสิบลำ, รถพยาบาลตำรวจเจ็ดคัน, ถังดำน้ำมากกว่า 700 ถัง และสูบน้ำมากกว่าหนึ่งพันล้านลิตรออกจากถ้ำ
กระทั่งเวลาประมาณ 22.33 น. ของวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า พบผู้ประสบเหตุแล้วทั้ง 13 ชีวิต อยู่บริเวณที่เรียกว่า "เนินนมสาว" ซึ่งอยู่เลยพัทยาบีชไปอีกประมาณ 300-400 เมตร ซึ่งในตอนแรกกู้ภัยคาดว่าทั้ง 13 คนจะอยู่บริเวณนั้น รวมเวลาการปฏิบัติภารกิจจนพบตัวเป็นเวลา 9 วัน 5 ชั่วโมง 41 นาที ซึ่งพบว่าทั้ง 13 ชีวิตปลอดภัย[18] และระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ได้เริ่มมีการลำเลียงผู้ติดถ้ำออกมาจนครบหมดทุกคนได้สำเร็จ รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจทั้งสิ้น 17 วัน 4 ชั่วโมง 29 นาที[19]
เนื้อหา
สูญหาย[แก้]
เวลา 10.00 น. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และนักฟุตบอลเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย เดินทางมาฝึกซ้อมฟุตบอลที่สนามบ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากฝึกซ้อมฟุตบอลเสร็จทั้งผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อายุ 26 ปี 1 คน และนักฟุตบอลเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย อายุระหว่าง 11–16 ปี 12 คนได้ชักชวนกันขี่จักรยานเดินทางไปสำรวจบริเวณถ้ำหลวง ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และขาดการติดต่อเป็นเวลานานจนผู้ปกครองแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ[20] จึงประสานกู้ภัยและนักดำน้ำดำเนินการค้นหา[21] และในเหตุการณ์นี้ยังมีนักฟุตบอลเยาวชนในทีมอีก 3 คน ที่ถูกชักชวนให้ไปสำรวจถ้ำด้วยกัน แต่ปฏิเสธที่จะเดินทางไปด้วยเนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัว จึงไม่ได้ประสบเหตุกับทีม[22]
ผู้สูญหายมีรายชื่อดังต่อไปนี้:[23][24]
ลำดับที่ | ชื่อ | ชื่อเล่น | ระดับการศึกษา | โรงเรียน | อาชีพ |
---|---|---|---|---|---|
1 | ด.ช.ประจักษ์ สุธรรม | โน้ต | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
2 | ด.ช.ณัฐวุฒิ ทาคำทรง | เติ้ล | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
3 | นายพิพัฒน์ โพธิ | นิค | มัธยมศึกษาปีที่ 3 | โรงเรียนบ้านสันทราย | นักเรียน/นักกีฬา |
4 | ด.ช.ภาณุมาศ แสงดี | มิกซ์ | มัธยมศึกษาปีที่ 1 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
5 | ด.ช.ดวงเพชร พรหมเทพ | ดอม | มัธยมศึกษาปีที่ 1 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
6 | ด.ช.ชนินท์ วิบูลย์รุ่งเรือง | ไตตั้น | ประถมศึกษาปีที่ 6 | โรงเรียนอนุบาลแม่สาย | นักเรียน/นักกีฬา |
7 | ด.ช.เอกรัฐ วงค์สุขจันทร์ | บิว | มัธยมศึกษาปีที่ 1 | โรงเรียนดรุณราษฎร์วิทยา | นักเรียน/นักกีฬา |
8 | ด.ช.สมพงศ์ ใจวงศ์ | พงศ์ | มัธยมศึกษาปีที่ 1 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
9 | นายพีรภัทร สมเพียงใจ | ไนท์ | มัธยมศึกษาปีที่ 3 | โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ | นักเรียน/นักกีฬา |
10 | นายพรชัย คำหลวง | ตี๋ | มัธยมศึกษาปีที่ 4 | โรงเรียนบ้านป่ายาง | นักเรียน/นักกีฬา |
11 | ด.ช.มงคล บุญเปี่ยม | มาร์ค | มัธยมศึกษาปีที่ 1 | โรงเรียนป่าเหมือด | นักเรียน/นักกีฬา |
12 | ด.ช.อดุลย์ สามอ่อน | ดุล | มัธยมศึกษาปีที่ 2 | โรงเรียนเวียงพาน | นักเรียน/นักกีฬา |
13 | นายเอกพล จันทะวงษ์ | เอก | - | - | ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน |
การปฏิบัติการค้นหา[แก้]
การค้นหาช่วงแรก[แก้]
เวลา 15.00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สังเกตเห็นรถจักรยานจอดอยู่ 11 คัน จนเวลา 22.00 น. ในวันเดียวกันทีมกู้ภัยของมูลนิธิสยามรวมใจแม่สาย และศูนย์วิทยุ 191 สภ. แม่สาย ได้รับแจ้งเหตุว่ามีเด็กหายตัวเข้าไปในถ้ำหลวง จึงได้ประสานงานส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในพื้นที่ เข้าไปตรวจสอบเวลา ตี 1 ของวันที่ 24 มิถุนายน เป็นการค้นหาภายในถ้ำเป็นครั้งแรก ออกจากถ้ำเวลาตี 3 รายงานว่าพบรองเท้าแตะและข้าวของจำนวนหนึ่งวางทิ้งไว้บนพื้นถ้ำ และระดับน้ำภายในถ้ำที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ พอรุ่งเช้า 7.30 น. ของวันที่ 24 มิถุนายน เริ่มกลับไปค้นหาต่อ พบว่าระดับน้ำภายในถ้ำสูงขึ้นกว่าเดิม สภาพอากาศข้างในมีความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท ตอนบ่ายโมงได้พยายามสูบน้ำออก แต่ก็เลิกไปเพราะน้ำขุ่นและมีทรายไหล จนเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม ได้ส่งทีมประดาน้ำชุดแรกเข้าไป พบรอยนิ้วมือคนเกาะตามถ้ำ[25]
วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน ตั้งแต่เที่ยงคืน เริ่มมีการค้นหาจากหลายหน่วยงานทั้งของทหารและตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) จนเวลา 2.30 น. หน่วยซีลซึ่งมีนาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ เป็นหัวหน้างาน มาถึงบริเวณถ้ำหลวง เพื่อร่วมวางแผนค้นหา โดยแบ่งเป็น 4 ทีมเพื่อค้นหา จนเวลา 17.30 น. หน่วยซีล รายงานว่าพบรอยเท้าและสายผูกเปล จนเวลา 19.30 น. หน่วยซีลถอนกำลังออกจากถ้ำเนื่องจากปริมาณน้ำสูงขึ้นจนถึงระดับอันตราย
ตั้งแต่เช้าวันอังคารที่ 26 มิถุนายน เริ่มค้นหาอีกครั้ง โดยมีเครื่องสูบน้ำเข้ามา ขณะเดียวกันก็สำรวจภายนอกถ้ำ วันพุธที่ 27 มิถุนายน ฝนยังคงตกต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่ปักหลักอยู่ข้างในจึงต้องถอยมาอยู่ที่โถง 2 ยังมีการสำรวจโพรง 3 แห่ง แต่ไม่สามารถโรยตัวเข้าไปได้ จนเวลา 20.00 น. ทีมกู้ภัยจำนวน 3 คน จากองค์กร British Cave Rescue Council -BCRC มาถึงบริเวณถ้ำหลวง หลังจากนี้ยังคงสำรวจโพรงถ้ำและระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง มีการซ้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 1 กรกฎาคม มีคำสั่งให้ระดมถังออกซิเจนเข้าถ้ำ[26]
ค้นพบ[แก้]
![]() | |
---|---|
![]() |
คลิปวิดีโอการพบตัวเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนรวม 13 คน โดยนักดำน้ำจากประเทศอังกฤษ 2 คนที่เจอ จากเพจเฟซบุก "Thai NavySEAL" |
2 กรกฎาคม 2561 เวลา 21.38 น. นักประดาน้ำชาวอังกฤษ 2 คนได้ค้นพบผู้รอดชีวิตทั้ง 13 คน เวลา 22:15 น. ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ เชียงราย ออกแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ พบ 13 ชีวิตทีมหมูป่าแล้ว[27] พบ 13 ชีวิตบริเวณบนเนินนมสาว เลยจากหาดพัทยาไป 400 เมตร โดยอยู่ห่างจากปากถ้ำ 4 กม. ผู้พบคือริชาร์ด สแตนตัน และจอห์น โวลันเธน ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นชุดปฏิบัติการแนวหน้าเพื่อวางเส้นนำทางในถ้ำสำหรับทีมซีล และทีมกู้ภัยนานาชาติคนอื่น ๆ แต่เมื่อโวลันเทนวางเส้นนำทางจนสุดปลายเชือกแล้ว จึงโผล่เหนือน้ำก็พบทั้ง 13 ชีวิตรอคอยอยู่บนเนินนมสาว[28]
วิดีโอการพบผู้รอดชีวิต ที่ถ่ายโดยนักประดาน้ำชาวอังกฤษ ได้โพสต์ลงบนเฟซบุ๊กของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ[29] ในวิดีโอแสดงให้เห็นว่า เด็ก ๆ ไม่รู้ว่าตัวเองติดอยู่ในถ้ำนานแล้วเท่าใด จากที่เด็กคนหนึ่งถามว่า วันนี้คือวันอะไร[30]
3 กรกฎาคม ทีมดำน้ำ 7 คน รวมถึงแพทย์และพยาบาล เข้าร่วมกับ 13 ชีวิตภายในถ้ำ ยังมีคลิปที่ 2 ออกมา หลายคนได้ห่มฟอยล์เพื่อเพิ่มความอบอุ่น มีการปฐมพยาบาลรอยถลอก แพทย์ประเมินว่า สภาพร่างกายสมบูรณ์ โดยดูจากกิจกรรม หากเดินได้ 15 ก้าว ถือว่าปกติดี[31]
วางแผนและเตรียมการ[แก้]
ปฏิบัติการครั้งนี้ต้องเผชิญกับระดับน้ำที่สูงขึ้น แผนคือ การฝึกใช้อุปกรณ์ดำน้ำ หรือรออีกหลายเดือนจนกว่าระดับน้ำจะลดลง[32][33] โดยปกติแล้ว ถ้ำจะมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน คือท่วมตั้งแต่กันยายนถึงตุลาคม[34] แต่น้ำก็ยังอาจสูงท่วมได้มากกว่านี้เพราะเพิ่งเข้าฤดูฝน และจะตกหนักสุดในเดือนสิงหาคม การให้เด็ก ๆ รอคอย 4 เดือน อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและเสี่ยงต่อการป่วยและเป็นโรค[35]
จากการสำรวจทางน้ำไหลภายในถ้ำ จุดที่เด็ก ๆ อยู่นั้นอยู่ห่างจากปากถ้ำ 3.75 กิโลเมตร (2.33 ไมล์) และอยู่ต่ำกว่ายอดเขา 800–1,000 เมตร (2,600–3,300 ฟุต)[36] โถงที่อยู่มีความกว้างราว 8 ม. ความสูงราว 3 ม.[35] เส้นทางที่จะเข้าถึงมีน้ำท่วมขังหลายจุดและบางช่วงก็แคบมาก[37] และบางช่วงกระแสน้ำไหลเชี่ยวและทัศนวิสัยเท่ากับ 0[38] การเดินทางเข้าไปในถ้ำใช้เวลาหลายชั่วโมงแม้จะเป็นนักประดาน้ำที่มีประสบการณ์[33] จากข้อมูลของหน่วยซีลรายงานว่าการเข้า-ออกถ้ำใช้เวลาถึง 11 ชม. เป็นขาเข้า 6 ชม. และขาออก 5 ชม.[39] ทีมจึงได้ค้นหาทางออกอื่นที่อาจเป็นเส้นทางที่ง่ายกว่า[40] การเจาะถ้ำก็ใช้เป็นการช่วยระบายน้ำออกจากถ้ำได้ และพิจารณาการเปิดช่องทางสำหรับการออกจากถ้ำด้วย อย่างไรก็ดียังไม่พบจุดเจาะถ้ำที่เหมาะสม[37][36] บริเวณโถงพัทยาบีช หากขุดเจาะจากด้านบน คาดว่ามีระยะ 1.2 กิโลเมตร (0.75 ไมล์) แต่การขุดเจาะอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเต็มไปด้วยชั้นหินปูนและอาจใช้เวลานานหลายอาทิตย์[35]
มีการติดตั้งระบบปั๊มน้ำออกจากถ้ำและได้ทำการเปลี่ยนทางน้ำไหล จากการวัดระดับน้ำในวันที่ 5 กรกฎาคม สามารถลดระดับน้ำได้ 1.5 ซม. (0.59 นิ้ว) ต่อชั่วโมง ส่งผลทำให้ทีมผู้ช่วยเหลือสามารถเดินเข้าไปได้ในถ้ำ 1.5 กิโลเมตร (0.93 ไมล์) อย่างไรก็ดี คาดว่าฝนจะตกหนักในวันที่ 8 กรกฎาคม อาจจะต้องหยุดดำเนินการหรือเปลี่ยนวิธี เพราะอาจทำให้น้ำท่วมไปถึงผู้ติดอยู่ภายใน[41][34][36]
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ อดีตหน่วยซีลที่รับภารกิจให้ลำเลียงขวดอากาศจากโถงสามภายในถ้ำหลวง ไปยังจุดต่าง ๆ บริเวณสามแยก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม โดยเริ่มดำน้ำตั้งแต่เวลา 20.37 น. เมื่อเสร็จภารกิจขณะดำน้ำกลับได้หมดสติในน้ำ คู่ดำน้ำได้ทำการปฐมพยาบาล (CPR) แต่ไม่ได้สติ จึงนำกลับมายังโถงสามเพื่อปฐมพยาบาลอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้สติและเสียชีวิตลงเวลาประมาณ 01.00 น เจ้าหน้าที่จึงได้นำพาร่างออกมาถึงหน้าถ้ำหลวง และส่งไปยัง ร.พ.ค่ายพญาเม็งรายมหาราช ภายหลังทราบชื่อคือ จ่าเอกสมาน กุนัน[42][43] โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งจัดงานศพและพระราชทานน้ำหลวงอาบศพแด่จ่าเอกสมาน กุนัน[44]
การช่วยเหลือ[แก้]
ช่วยเหลือออกจากถ้ำ[แก้]
![]() | |
---|---|
![]() |
คลิปวิดีโอการช่วยเหลือเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนออกจากถ้ำ จากเพจเฟซบุก "Thai NavySEAL" |
วันที่ 8 กรกฎาคม เริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือออกจากถ้ำ เนื่องจากความพร้อมในหลาย ๆ ด้านทั้งระดับน้ำ ร่างกายของน้อง ๆ และทีมงาน เริ่มปฏิบัติการลำเลียงในเวลา 10.00 น. โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญดำน้ำจากต่างประเทศ 13 คนและหน่วยซีล 5 คน มีเจ้าหน้าที่ดำน้ำเข้าร่วมปฏิบัติการทั้งหมด 90 คน ในจำนวนนี้เป็นนักดำน้ำจากต่างชาติ 50 คน โดยสามารถนำคนแรกออกจากถ้ำได้เวลา 17.40 น. ซึ่งถือว่าเร็วกว่าประมาณการเดิมถึง 3 ชม. ส่วนคนที่ 2 ออกมาในอีก 10-20 นาทีต่อมา ส่วนคนที่ 3 และ 4 ออกมาเวลา 19.40 น. และ 19.50 น. ทั้งหมดถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสนามซึ่งตั้งขึ้นบริเวณหน้าปากถ้ำ เพื่อประเมินอาการและปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนเคลื่อนย้ายไปที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งห่างจากถ้ำหลวงไปราว 58 กม.[45] ปฏิบัติการของวันแรก ต้องหยุดลง เนื่องจากต้องวางขวดอากาศและเชือกใหม่ เพราะขวดอากาศหมด อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องทำใหม่ โดยใช้เวลา 10 ถึง 20 ชั่วโมง[46][47] ปฏิบัติการช่วยเหลือในวันถัดมา 9 กรกฎาคม สภาพแวดล้อมพร้อม เช่นเดียวกับเมื่อวาน จึงเริ่มปฏิบัติการ เวลา 11.00 น.[48] โดยทีมนักประดาน้ำทีมเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย[49] ภารกิจในวันนี้ช่วยเหลือออกมาได้อีก 4 คน[50] จนวันที่ 10 กรกฎาคม มีรายงานข่าวว่า สามารถช่วยนักฟุตบอลและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ได้ครบทั้ง 13 คน[19]
ในการลำเลียงทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำ ภารกิจไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากระดับน้ำที่ยังสูงอยู่ จนวันที่ 7-8 กรกฎาคม ระดับน้ำจึงลดลง มีภาครัฐ และเอกชน เข้ามาช่วยสูบน้ำ ให้ลดลงวันละ 1-2 เซนติเมตร แต่บริเวณโถง 3 น้ำยังคงท่วมขังอยุ่ โดยได้เตรียมขวดอากาศ 200 ขวด ไปใต้น้ำตลอดทางไปจนถึงบริเวณที่เด็ก ๆ อยู่[51] จากนั้นลำเลียงผู้ประสบภัย โดยให้สวมเวทสูท ขนาด 5 มิลลิเมตร และสวมเครื่องชุดหายใจแบบเต็มหน้าพิเศษที่มีท่อหน้ากากเต็มหน้าต่อกับขวดออกซิเจน เมื่อดำน้ำลงไปพร้อมขวดอากาศที่มีการปรับความกดอากาศ ทำให้ไม่ลอยขึ้นมา และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย โดย 1 คน จะมีนักดำน้ำลำเลียงไป ผู้ประสบภัยเพียงนอนอยู่นิ่ง ๆ ใช้ทีมงานเคลื่อนย้ายกว่า 100 คน ระหว่างทางจะมีการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะ[52]
การฟื้นฟูร่างกาย[แก้]
เมื่อถึงห้องผู้ป่วย แพทย์ได้รับการประเมินระดับความรู้สึก สัญญาณชีพ และสภาพความอบอุ่นของร่างกาย มีการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจวัดคลื่นหัวใจ และให้น้ำเกลือ ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า และมีการให้วิตามินบี 1 และยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำตามแผนการรักษา ผู้ป่วยชุดแรก 4 คน มีภาวะร่างกายอุณหภูมิต่ำ นำเครื่องให้ความอบอุ่น มี 2 คนมีความผิดปกติที่ปอด สงสัยว่าปอดอักเสบ และ 1 ราย มีแผลถลอกที่ข้อเท้าขวา ผู้ป่วยชุด 2 เมื่อแรกรับ ทุกคนอุณหภูมิร่างกายต่ำ และมี 1 คนอุณหภูมิร่างกายต่ำมากและมีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์ให้ยาจนมีอาการปกติ เช้ารุ่งขึ้นทุกคนสดชื่นดี ตอบโต้ได้ ไม่มีไข้[53] และกลุ่มที่ 3 อีก 5 คน มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย[54]
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็ก ๆ มีน้ำหนักลดเฉลี่ย 2 กิโลกรัม[55] ยังอยู่ในอาการ Refeeding syndrome ยังไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้ทันที[56] แต่สามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้อย่างเช่น โจ๊ก สำหรับอาหารปกติน่าจะรับประทานได้ใน 10 วัน[57]
ความช่วยเหลือและกำลังใจ[แก้]
ในประเทศ[แก้]
พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงติดตามการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเด็กและโค้ชฟุตบอล จำนวน 13 ราย ที่ยังติดอยู่ในภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมทั้งทรงห่วงใยกลุ่มผู้ประสบภัยทุกคน และทรงให้กำลังใจไปยังครอบครัวผู้ประสบภัยทุกคน[58] รวมถึงทรงพระราชทานสิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการกู้ภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ตามที่มีการร้องขอการสนับสนุนเช่นอุปกรณ์ดำน้ำ ชุดดำน้ำ หลอดไฟให้ความสว่างในถ้ำชนิดมีแบตเตอรี่ในตัว หลอดและถังเก็บอากาศสำหรับนักดำน้ำไว้สับเปลี่ยนระหว่างการดำน้ำในถ้ำ ทั้งยังทรงพระราชทานกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการติดตามค้นหาขอให้ประสบความสำเร็จ[59] และได้ทรงพระกรุณาฯ พระราชทานจัดตั้งโรงครัวพระราชทานซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเลี้ยงเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนในภารกิจค้นหาทีมนักฟุตบอลเยาวชน 13 คนที่พลัดหลงไปในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบรรดาจิตอาสาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาช่วยกันประกอบอาหารเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ วันที่ 24 มิ.ย. ทหาร มทบ.37 ได้ใช้รถเคลื่อนที่ตั้ง "ครัวพระราชทาน" แห่งแรก ด้านทิศใต้ของวนอุทยานฯ เลี้ยงประชาชนวันละ 1,000 คน[60] และหลังจากที่ทรงทราบว่า จ.อ.สมาน กุนัน ได้เสียชีวิต จึงมีรับสั่งให้จัดงานศพอย่างสมเกียรติและทรงมีรับสั่งให้ดูแลครอบครัวและบุตรหลานอย่างดีที่สุด[61]
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงห่วงใยทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี และโค้ช รวม 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานเงิน จำนวน 500,000 บาท ให้แก่ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ เชียงราย เพื่อนำไปจัดซื้ออาหาร ยา สิ่งของจำเป็นต่างๆ ในการปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และพระราชทานกำลังใจ และมีพระดำรัส "ให้ทุกคนปลอดภัย และประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือเด็ก 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ ทั้งเจ้าหน้าที่และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ขอให้พระคุ้มครองทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย"[62]
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ข้อความทางอินสตาแกรม ประทานกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ระบุว่า “ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ ขอให้พระคุ้มครองทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย”[63] และได้ทรงโพสต์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แสดงความดีพระทัย หลังทรงทราบข่าวพบ 13 ชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ในถ้ำหลวงแล้ว โดยมีข้อความบรรยายภาพว่า "พบหมูป่าแล้ว ดีใจจัง ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือน้องๆ ทั้ง 13 คน"[64]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี 2561 ที่สนามกีฬาแห่งชาติ โดยก่อนเสด็จกลับ ทรงมีพระปฏิสันถารกับพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี โดยทรงห่วงใยเด็กๆ และโค้ช 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ มีพระดำรัสว่า “ไม่ทราบตอนนี้ เด็กๆ ยังหาไม่เจอหรอคะ ที่เชียงราย …ก็ติดตามข่าว เป็นห่วง ก็ขอฝากให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เพราะว่าพระองค์หญิงก็ทราบว่าคงลำบาก เพราะว่าน้ำสูงและก็ถ้ำมันมืดมาก ก็ขอภาวนาให้หาได้โดยเร็ว เพราะว่าเป็นห่วงเด็ก ๆ”[65]
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงติดตามข่าว นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมี ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ด้วยความห่วงใย การนี้ ได้ประทานโปสการ์ดเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน เป็นภาพโปสการ์ดภาพก้อนหินที่มีสีและขนาดแตกต่างกันจัดเรียงซ้อนกัน ในแต่ละก้อนมีข้อความภาษาเยอรมัน ที่สื่อถึงการประทานกำลังใจ ได้แก่ คำว่า Mut (กล้าหาญ), Glück (มีโชคดี), Gelassenheit (มีความสุข), Erfolg (ประสบความสำเร็จ), Freude (มีความยินดี), Gesundheit (ให้มีสุขภาพดี) ด้านในของภาพโปสการ์ด พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้มีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ที่ทรงแสดงถึงความห่วงใยต่อนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนเป็นภาษาเยอรมัน โดยมีข้อความที่แปลเป็นภาษาไทยว่า
“เด็ก ๆ ที่รัก
พวกเธอคงกลัวกันมากอย่างแน่นอน แต่ฉันก็นึกถึงพวกเธออยู่เสมอ ฉันมีความยินดีมากที่ทุกคนปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง ฉันขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนในการช่วยเหลือในครั้งนี้และขอให้ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี
(ลงพระนาม) ทีปังกรรัศมีโชติ”[66]
รัฐบาล[แก้]
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางสู่พื้นที่ เพื่อให้กำลังใจครอบครัวผู้ประสบภัย[67][68]
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ[69][70][แก้]
- กระทรวงมหาดไทย โดยนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร[71]ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (จนถึง 29 มิถุนายน 2561),ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา (ตั้งแต่ 29 มิถุนายน 2561) และผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย (ศอร.)[72]
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- มณฑลทหารบกที่ 37
- กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดเชียงราย
- หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 3 กองกำลังผาเมือง
- หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่เร็ว 35
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร
- หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ[73][74]
- ร.17 พัน 4 ค่ายขุนจอมธรรม จังหวัดพะเยา
- กรมแพทย์ทหารบก
- กรมแพทย์ทหารเรือ
- โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช
- โรงพยาบาลพญาเม็งราย
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย
- โรงพยาบาลศูนย์เชียงราย
- โรงพยาบาลแม่จัน
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย)
- สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย
- ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ ๓ ศุนย์ยุทธการทางอากาศ กองทัพอากาศ
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
- เทศบาลนครเชียงราย
- คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- กสท โทรคมนาคม
- ทีโอที
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ - จัดทำแผนที่ 3 มิติ จากการนำข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค - ส่งไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ในการค้นหา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ - ส่งหุ่นยนต์ดำน้ำ Remotely operated underwater vehicle (ROV) และโดรนช่วยเหลือ[75]
- ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม - ส่งโดรนที่มีความละเอียดสูง ในการสืบหาจุดที่เยาวชนทีมหมูป่า อะคาเดมี
- กรุงเทพมหานคร - จัดการระบบสูบน้ำออกจากภายในถ้ำหลวง
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- กรมทรัพยากรธรณี
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- มูลนิธิชัยพัฒนา[76]
- การบินไทย[77] - สนับสนุนการเดินทางกลับของทีมดำน้ำจากอังกฤษและทีมปีนเขาเก็บรังนกนางแอ่น เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
- กรมชลประทาน - สนับสนุนเจ้าหน้าที่และเครื่องมืออุปกรณ์ โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำและเครื่องมือด้านสำรวจและธรณีวิทยา
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ตำรวจภูธรภาค 5
- ตำรวจภธรจังหวัดชียงราย
- สถานีตำรวจภูธรแม่สาย (เจ้าของพื้นที่รับผิดชอบ)
เอกชนและพลเรือน[69][แก้]
- AIS
- DTAC
- True
- SCG Chemical - สนับสนุนท่อ HDPE ประมาณ 1000เมตรและอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับสูบน้ำออกจากถ้ำ
- บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด - สนับสนุนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- นรินทร ณ บางช้าง - ได้ส่งทีมนักดำน้ำชาวไทยที่ไปอบรมที่อิตาลี โดยใช้อุปกรณ์จากสวีเดนและอิตาลี[78]
- สมาคมน้ำบาดาลไทย[79]
- สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และแฟนบอล - ยินดีทำตามความฝันผู้ฝึกสอน ตลอดจนเสนอเข้าชมการแข่ง ซึ่งจะออกค่าเดินทาง ที่พัก อาหารให้ทั้งหมด[80][81][82][83]
- สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด - ได้จัดทำชุดกีฬาฟุตบอล ซึ่งมีหมายเลข 13 พร้อมสกรีนชื่อทีม "MOOPA FC" ติดที่หลังเสื้อเพื่อให้กำลังใจ และยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนฟุตบอลอาชีพ ตามความต้องการของแต่ละคน รวมถึงศรายุทธ ชัยคำดี ซึ่งพร้อมที่จะเป็นโค้ชส่วนตัวให้แก่เด็กทั้ง 12 คน[84]
- มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง - สนับสนุนทีมนักดำน้ำ
- กลุ่มเก็บรังนกนางแอ่น เกาะลิบง จังหวัดตรัง - สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการปีนถ้ำ[85]
- ทีมชลอยกกระบัตร จ.สมุทรสาคร - สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและเครื่องปั่นไฟ[86]
- ทีมเครื่องสูบน้ำซิ่งพญานาค จาก อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ[87]
- เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตำบลโป่งผา ตำบลโป่งงาม ตำบลศรีเมืองชุม และตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำที่ระบายออกจากถ้ำหลวง[88]
ต่างประเทศ[แก้]
อิตาลี มีนักประดาน้ำที่มาร่วมกับทีมของนรินทร ณ บางช้าง[89]
สหราชอาณาจักร นักสำรวจ เวิร์น อันสเวิร์ธ[91] และผู้ชำนาญการดำน้ำในถ้ำจาก British Cave Rescue Council (BCRC) รอเบิร์ต ชาร์ลี ฮาร์เปอร์, ริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน และจอห์น โวลันเธน[92] พร้อมด้วย คริส จีเวลล์, เจสัน มัลลินสัน จากสมาคมดำน้ำในถ้ำ Cave Diving Group (CDG) และทิม แอคตัน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ได้เดินทางมาช่วยเหลือนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนพร้อมผู้ฝึก จำนวน 13 คน ที่ติดค้างอยู่ในถ้ำ[91] 10 กรกฎาคม เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรี ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า “ยินดีที่ภารกิจการช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในถ้ำในประเทศไทยสำเร็จลุล่วง โลกได้ติดตามและจะยกย่องความกล้าหาญของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน”[93]
สหรัฐอเมริกา 27 มิถุนายน พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เปิดเผยว่าได้รับแจ้งจากหน่วยบัญชาการอินโดแปซิฟิกสหรัฐ (USPACOM) ของสหรัฐอเมริกา ได้ประสานส่งเจ้าหน้าที่ ทหารและพลเรือนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบรรเทาสาธารณภัยมาช่วยเหลือ[94][95] และยังมีความช่วยเหลือจากนายอีลอน มัสก์ ผู้บริหารของบริษัทสเปซเอ็กซ์ โดยได้นำเรือดำน้ำจิ๋ว "หมูป่า" มาช่วยในการปฏิบัติการในครั้งนี้และมอบให้รัฐบาลไทยในการใช้ในกรณีฉุกเฉินครั้งต่อไป[96] 8 กรกฎาคม ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า กำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะช่วยเด็กออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย ด้วยคนที่มีความกล้าหาญ และความเชี่ยวชาญ[97] และวันที่ 10 กรกฎาคม ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า “ในนามของสหรัฐอเมริกา ขอแสดงความยินดีกับหน่วยซีลของประเทศไทย และแสดงความยินดีที่ภารกิจช่วยเหลือเด็ก ๆ 12 ชีวิต และโค้ช จากถ้ำในประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่สวยงาม ทั้งหมดออกมาแล้ว เยี่ยมมาก!”[98]
ลาว ทางการลาวยังได้ส่งทีมหน่วยกู้ภัยเวียงจันทน์ มายังบริเวณหน้างานถ้ำหลวง เพื่อช่วยร่วมภารกิจค้นหาเด็กติดถ้ำ[99][100][101]
พม่า 28 มิถุนายน ทำเนียบประธานาธิบดีพม่าได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พม่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อปฏิบัติการค้นหาเยาวชนนักฟุตบอลทีมหมูป่าและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน ที่ได้หายเข้าไปในถ้ำ[102] และได้มีการส่งเจ้าหน้าที่สำรวจถ้ำหลวงด้านที่ติดกับฝั่งประเทศพม่า[103]
ออสเตรเลีย พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียพร้อมสนับสนุนที่จะส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัย ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ที่ทันสมัยร่วมปฏิบัติภารกิจค้นหานักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช[104] รวมทั้ง ดร.ริชาร์ด แฮร์ริส พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ จากออสเตรเลีย[105]
ญี่ปุ่น ส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำซึ่งได้รับมอบหมายจากโครงการความร่วมมือของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อช่วยเหลือเรื่องการระบายน้ำออกจากถ้ำ[106]
จีน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยแถลงว่าหน่วยงานของรัฐบาลจีนกำลังเตรียมส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยและการค้นหาผู้ประสบภัยในถ้ำจำนวน 6 คน โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากจีนได้นำอุปกรณ์ช่วยชีวิตมาด้วย เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำ อุปกรณ์ดำน้ำ สเปกโทรมิเตอร์สามมิติ[107]
เบลเยียม มีการช่วยเหลือจาก Ben Reymenants ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการดำน้ำในถ้ำ[108] และจิม วาร์นีย์ พร้อมทีมงานดำน้ำท่านอื่นๆ[109]
ฝรั่งเศส นักดำน้ำเพื่อนร่วมทีม Ben Reymenants[110] และทางรัฐบาลฝรั่งเศสเองยังเสนอส่งทีมผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ แต่เจ้าหน้าที่ของไทยเชื่อว่ามีเพียงพออยู่ในสถานที่แล้ว[111]
นครรัฐวาติกัน วันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. พระสันตะปาปาฟรานซิสประกอบพิธีสวดมนต์ประจำวัน ที่ จัตุรัส เซนต์ ปีเตอร์ ในนครรัฐวาติกัน โดยหลังจากเสร็จพิธี พระองค์สวดภาวนาเพื่อขอให้เกิดความสงบสุขแก่พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังประสบปัญหา และยังส่งกำลังใจถึงเหล่านักฟุตบอลเยาวชนทีม ‘หมูป่าอะคาเดมี’ 12 คนและโค้ชอีก 1 คน ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในอ.แม่สาย จ.เชียงราย มานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว โดยพระองค์ตรัสว่า พระองค์กำลังสวดอธิษฐานให้กับพวกเขา[112]
อิสราเอล ทีมนักดำน้ำประเทศอิสราเอลจากบริษัทอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉิน เดินทางมาช่วยทันทีที่ทราบข่าว นับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน โดยสายการบินแอล อัล ได้ระดมทุนค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่พวกเขา เพื่อมาช่วยเหลือเด็ก ๆ[114][115][116]
รัสเซีย ส่งอาสาสมัคร รวมถึงประสานงานสำหรับการส่งเจ้าหน้าที่กู้ชีพจากกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าช่วยเหลือ[117][118]
ฟินแลนด์ Mikko Paasi ซึ่งเป็นนักดำน้ำชาวฟินแลนด์ ให้การช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่กู้ชีพชาวไทย[119]
เนเธอร์แลนด์[124] มาร์ก รึตเตอ นายกรัฐมนตรีแห่งเนเธอร์แลนด์ และ บริษัท ฟันแฮ็ค (Van Heck) สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและเครื่องสูบน้ำปั๊มน้ำ[125][126]
สวิตเซอร์แลนด์ นายจันนี อินฟันตีโน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ได้ส่งหนังสือถึงพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในเนื้อหาได้ให้กำลังใจและได้เชิญทีมหมูป่าทั้ง 13 คนเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบชิงชนะเลิศที่มอสโก รัสเซีย[127]
ผลสืบเนื่อง[แก้]
- เพลง วอนเจ้าแม่ดอยนางนอน ขับร้องโดย เปี๊ยก ปัญญา สุวรรณทิพย์ เผยแพร่ 27 มิถุนายน 2561
- เพลง ถ้ำหลวงนางนอน ขับร้องโดย เสก โลโซ เผยแพร่ 1 กรกฎาคม 2561
- เพลง วอนนางนอน ขับร้องโดย จินตหรา พูนลาภ เผยแพร่ 2 กรกฎาคม 2561
- เพลง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว เผยแพร่ 4 กรกฎาคม 2561
- เพลง วีรบุรุษจ่าแซม ขับร้องโดย แบ๊ว แซมบ้า เผยแพร่ 16 กรกฎาคม 2561
- เพลง น้ำตาไหลอาลัยจ่าแซม ขับร้องโดย เย็นจิตร พรเทวี เผยแพร่ 28 กรกฎาคม 2561
- วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้สั่งการให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติบันทึกเหตุการณ์ และภาพประวัติศาสตร์ของการช่วย 13 ชีวิต เนื่องด้วยเป็นเหตุการณ์สำคัญที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ[133]
- มีการมอบสัญชาติไทย ให้เอกพล จันทะวงษ์, พรชัย คำหลวง, ด.ช.มงคล บุญเปี่ยม และ ด.ช.อดุลย์ สามอ่อน[134]
- นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย ได้จัดทำนิตยสารฉบับที่ 206 ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 โดยในฉบับจะเป็นการถอดบทเรียนปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ณ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[135]
- จากเดิมถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีนักท่องเที่ยวปีละประมาณ 4 หมื่นคน แต่หลังเหตุการณ์ จำนวนนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงมิถุนายน มีมากกว่า 1 ล้าน 3 แสนคน[136]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Seit Samstag ist eine Jugend-Fußballmannschaft in einer Höhle in der nordthailändischen Provinz Chiang Rai eingeschlossen. - ad hoc news (เยอรมัน)
- ↑ Порятунок знайдених у печері Таїланду школярів затягується - DW (ยูเครน)
- ↑ "ย้อนรอย 221 ชั่วโมง ก่อน 'ไชโย' ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงสำเร็จ". ไทยรัฐออนไลน์. 3 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "จบภารกิจกู้ชีพ 13 ชีวิตหมูป่า 'หมอภาคย์-ซีล3นาย' ถึงปากถ้ำปลอดภัย". ไทยรัฐออนไลน์. 10 กรกฎาคม 2561.
- ↑ อ้างอิงตามนาฬิกาจับเวลาบนหน้าจอไทยรัฐทีวี วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
- ↑ อ้างอิงตามนาฬิกาจับเวลาบนหน้าจอไทยรัฐทีวี วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
- ↑ 洞穴探險遇暴雨泰國足球隊13人失聯- 世界新聞網 - World Journal (จีน)
- ↑ "Diver dies in Thailand cave rescue attempt". BBC News (in อังกฤษ). 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
- ↑ Thailand cave rescue: fresh flooding halts search for missing boys (อังกฤษ)
- ↑ Знайдена в печері Таїланду футбольна команда може залишитись там на місяці (ยูเครน)
- ↑ "เปิดคลิป เด็ก 12 ชีวิตทีม 'หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย' ซ้อมบอลก่อนหายตัวในถ้ำ". ไทยรัฐออนไลน์. 24 มิถุนายน 2561.
- ↑ 동굴서 사라진 아이들… - 부산일보 (เกาหลี)
- ↑ "กู้ภัยเร่งค้นหา นักบอลรุ่นเยาว์ 11 คนบวกโค้ช หายตัวในถ้ำหลวงแม่สาย". ไทยรัฐออนไลน์. 24 มิถุนายน 2561.
- ↑ Enfants bloqués dans une grotte en Thaïlande : Américains et Britanniques en renfort - Paris Match (ฝรั่งเศส)
- ↑ "แรงใจโซเชียล"ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงปลอดภัย". ไทยพีบีเอส. 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ "สื่อทั่วโลก!! เกาะติดปฏิบัติการช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย". สปริงนิวส์. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ "สื่อนอกเกาะติดปฏิบัติการค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง". โพสทูเดย์. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ ด่วน! เจอทั้ง 13 ชีวิตในถ้ำหลวงแล้ว ทุกคนปลอดภัย-เร่งนำตัวออกมา
- ↑ 19.0 19.1 Paddock, Richard C. (10 July 2018). "How Rescuers Pulled Off the Impossible in a Treacherous Thai Cave". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
- ↑ "11นร.-โค้ชบอล'หายในถ้ำ ค้นหาไร้วี่แวว-เจอแต่รองเท้า". เดลินิวส์. 24 มิถุนายน 2561.
- ↑ Новости: В Таиланде футбольная команда потерялась в пещере (รัสเซีย)
- ↑ [1]
- ↑ เผยรายชื่อทีมหมูป่าผู้แข็งแกร่งทั้ง 13 ชีวิต เจอตัวแล้วในถ้ำหลวง,ไทยรัฐออนไลน์, 3 กรกฎาคม 2561
- ↑ เปิด13รายชื่อ ‘ทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย’ หลังติดถ้ำหลวงนาน10วัน, มติชนออนไลน์, 3 กรกฎาคม 2561
- ↑ ภารกิจถ้ำหลวง: เกิดอะไรขึ้นบ้างหลังจากทีมฟุตบอลหมูป่าติดอยู่ในถ้ำ
- ↑ ย้อนรอย 221 ชั่วโมง ก่อน 'ไชโย' ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงสำเร็จ
- ↑ ผวจ.เชียงราย ยืนยัน พบ 13 ชีวิตทีมหมูป่าแล้ว - One31
- ↑ นักดำน้ำอังกฤษเผยพบเด็ก ๆ ทีมหมูป่าฯ ในถ้ำหลวง หลังวางเส้นนำทางจนเชือกหมดพอดี
- ↑ "Thai NavySEAL". www.facebook.com (in อังกฤษ). Archived from the original on 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ Olarn, Kocha; Said-Moorhouse, Lauren (3 July 2018). "Thai cave rescue: Soccer team found alive one kilometer underground". edition.cnn.com. CNN. Archived from the original on 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ ถ้ำหลวง: ยังไม่พา 13 ชีวิตทีมหมูป่าออกจากถ้ำวันนี้ ใครพร้อม ออกก่อน
- ↑ "Thai boys 'could be in cave for months'". BBC News (in อังกฤษ). 3 July 2018. Archived from the original on 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ 33.0 33.1 "Thai cave rescue: 12 boys and coach to get 4 months' food, diving training". The Straits Times. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ 34.0 34.1 "Thai cave rescuers in 'race against the rain'". BBC News (in อังกฤษ). 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 "Thai cave rescue: boys laugh and joke in new video". The Times (in อังกฤษ). 2018-07-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-07.
- ↑ 36.0 36.1 36.2 Safi, Michael (2018-07-05). "Thai cave rescue: army drains site in bid to free boys before monsoon". the Guardian (in อังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ 37.0 37.1 "How might the trapped Thai boys be rescued?". BBC News (in อังกฤษ). 2018-07-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ Reymenants, Ben (3 July 2018). "Thailand cave rescue: medics reach boys". The Guardian (live updates). Archived from the original on 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ ถ้ำหลวง: ปรับแผนนำ 13 ทีมหมูป่าออกจากถ้ำ ไม่ต้องรอพร้อม 100%
- ↑ "Thai rescuers search for other entrances to flooded cave" (in อังกฤษ). The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ Staff (5 July 2018). "Thailand cave: Rescuers in race against weather as rains close in". BBC News. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ อดีตหน่วยซีลเสียชีวิต 1 คน ขณะดำน้ำออกจากถ้ำหลวงฯ
- ↑ อดีตซีลเสียชีวิตในถ้ำหลวง
- ↑ ในหลวง’ ทรงรับสั่ง จัดงานศพ “อาสาซีล” เสียชีวิตในถ้ำหลวง อย่างสมเกียรติ
- ↑ "ถ้ำหลวง: ภารกิจถ้ำหลวงคืบหน้าอีกขั้น พาหมูป่า 4 ชีวิตออกจากถ้ำแล้ว". BBC Thai. 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
- ↑ "Thailand Cave Rescue Live Updates: Four Boys Are Out, 9 to Go". The New York Times. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Thailand cave rescue: navy Seals confirm four boys have been rescued – live". 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018 – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ ช่วยหมูป่า ลอต 2 ยัน เริ่ม 11 โมง ลุ้นข่าวดี ไม่เกินคืนนี้
- ↑ ออกมาแล้ว! ซีลพาหมูป่าคนที่ 5 ออกจากถ้ำหลวง เตรียมส่งขึ้นฮ.ไปร.พ.
- ↑ หน่วยซีลโพสต์! หลังเสร็จภารกิจวันที่ 2 ช่วยอีก 4 หมูป่าออกจากถ้ำ
- ↑ "Exclusive: เปิดใจ พล.ร.ต. อาภากร อยู่คงแก้ว ผบ. หน่วยซีล ใน ภารกิจถ้ำหลวง". BBC Thai. 2018-07-11. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ "คำต่อคำ : ขั้นตอนลำเลียง "หมูป่า" แค่นอนนิ่งๆ เหมือนไข่ในหิน!". Spring News. 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ 13 หมูป่าพ้นถ้ำหลวง ปิดฉาก ‘17 วันใต้โลกมืด’
- ↑ ภาพชัดๆ หมูป่าสุดสตรอง หมอ ยันสุขภาพกาย-ใจ ไม่น่าห่วง
- ↑ "Thai cave rescue: Boys lost two kilograms during weeks in cave". CNN. 11 July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
- ↑ เข้าใจภาวะ Refeeding syndrome อดอาหารมานาน แต่ยังรีบกินไม่ได้ !
- ↑ "Cave divers ready to rescue last five". BBC News. 9 July 2018. Archived from the original on 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
- ↑ Thailandia, fiato sospeso per 12 giovani calciatori intrappolati in una grotta (อิตาลี)
- ↑ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1260497
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1319766
- ↑ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1306885
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1319154
- ↑ https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1261902
- ↑ https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=10157071717457439&id=146406732438
- ↑ https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1290101
- ↑ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1309371
- ↑ นายกฯ นำคณะ มุ่งหน้าถ้ำหลวง ตรวจพื้นที่ ให้กำลังใจครอบครัว 13 ชีวิต - ไทยรัฐ
- ↑ Enfants disparus dans une grotte inondée en Thaïlande: 6e jour de recherche (ฝรั่งเศส)
- ↑ 69.0 69.1 "รวมตัวฮีโร่! เปิดรายชื่อหน่วยงาน ระดมพลังช่วยเด็กติดถ้ำหลวง". ไทยรัฐออนไลน์. 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ "ประสาน3หน่วยงานร่วมช่วยค้นหา13ชีวิตติดถ้ำหลวง". Siamsport. 28 มิถุนายน 2561.
- ↑ https://www.posttoday.com/politic/news/556505
- ↑ https://www.posttoday.com/social/general/556873
- ↑ ซีลเริ่มแล้ว ค้นถ้ำหลวงวัน 2 ต้องหาให้เจอ'13 หมูป่าอะคาเดมี' - ไทยรัฐ
- ↑ 'ซีล'เพิ่มกำลัง'ถ้ำหลวง' ขนนักทำลายใต้น้ำช่วย 13 ชีวิต - เดลินิวส์
- ↑ ต้องรอด! ส่งหุ่นยนต์ดำน้ำ-โดรน หา 13 ชีวิต ติดในถ้ำหลวง - ไทยรัฐ
- ↑ ขนท่อสูบน้ำจากมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการพระราชดำริ จ.ลพบุรี ติดตั้งในถ้ำหลวง แล้ว 3 ตัว - ไทยรัฐ
- ↑ การบินไทย – ไทยสมายล์ พร้อมพาฮีโร่ ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงกลับบ้าน
- ↑ https://www.facebook.com/newsthaich8/videos/1769144643133786/
- ↑ อีกกำลังสำคัญ! ส.น้ำบาดาลไทย เผย เจาะบ่อมากยิ่งสูบน้ำช่วย 13 ชีวิตได้ไว
- ↑ เมืองทองยูไนเต็ด รอต้อนรับ'ทีมหมูป่า' ส่งกำลังใจ 13 ชีวิต ทำตามฝันโค้ช
- ↑ คนวงการบอลแห่ส่งกำลังใจทีมหมูป่าฯ-เมืองทองให้คำมั่นสานฝันให้เป็นจริง
- ↑ "ป๋อง เมืองทอง" ประกาศพา13เด็กติดถ้ำมาดูบอลที่เอสซีจีสเตเดี้ยม - siamsport
- ↑ นักเตะเมืองทองฯ ล้อมวงส่งกำลังใจให้เยาวชน "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย" - โพสต์ทูเดย์
- ↑ ทั่วโลกติดตามให้กำลังใจภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง : PPTVHD36
- ↑ ทีมเก็บรังนก จ.ตรัง บินไปเชียงราย ขอช่วยปีนหาทางเข้าถ้ำหลวง ลั่นไม่เจอไม่กลับ พีพีทีวี 30 มิถุนายนย 2561
- ↑ เปิดใจ ทีมพญานาค เบื้องหลังเครื่องสูบน้ำ ช่วย 13 หมูป่าจากถ้ำหลวง พีพีทีวี 30 มิถุนายนย 2561
- ↑ "ทีมสูบน้ำซิ่งพญานาค" เก็บของกลับนครปฐม หายเหนื่อย 13 ชีวิตปลอดภัย
- ↑ ชาวนาน้ำท่วมพอใจรับเยียวยา-เผยแม้เสียหายแต่อย่างน้อยก็ได้ช่วยเด็ก
- ↑ "นักดำน้ำอิตาลีออกจากถ้ำ กลับที่พักชั่วคราว". เฟชบุ๊ก. Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์. 29 มิถุนายน 2561.
- ↑ "ปฏิบัติการวันที่ 5! ค้นหา 13 ชีวิตในถ้ำหลวง". The Bangkok Insight. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ 91.0 91.1 รู้จัก7หัวหอกชาวอังกฤษ ผู้นำทางพา'หมูป่า'ออกจากถ้ำ
- ↑ "3 นักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษถึงไทยแล้ว". ไทยพีบีเอส. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ ผู้นำโลกยินดีช่วย 13 หมูป่า สำเร็จ! “ทรัมป์-เมย์” ทวีตยกย่องจนท.และซีลไทยกล้าหาญ
- ↑ "'USPACOM' ส่ง จนท. ร่วมค้นหา 13 ชีวิต ติดในถ้ำหลวง". กรุงเทพธุรกิจ. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ กองทัพสหรัฐฯถึงแล้ว ระดมพลิกถ้ำหลวง ช่วยค้นหา 13 ชีวิต - ข่าวสด
- ↑ "เจอกันแล้ว! 'ประยุทธ์' และ 'อีลอน มัสก์' พบกันที่สนามบินกลางดึก!". ข่าวสดออนไลน์. 10 กรกฎาคม 2561.
- ↑ ทรัมป์ ทวีต สหรัฐฯ ร่วมมือรัฐบาลไทย ช่วยเด็กออกจากถ้ำอย่างปลอดภัย
- ↑ ผู้นำโลกยินดีช่วย 13 หมูป่า สำเร็จ! “ทรัมป์-เมย์” ทวีตยกย่องจนท.และซีลไทยกล้าหาญ
- ↑ "ซาบซึ้งน้ำใจ ลาวส่งทีมกู้ภัยช่วยเด็กติดถ้ำ ในถ้ำหลวงเชียงราย". ไทยรัฐออนไลน์. 27 มิถุนายน 2561.
- ↑ ภารกิจถ้ำหลวง: รู้จักทีมกู้ภัยนานาชาติที่มาช่วยค้นหาทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี
- ↑ บ้านเมือง - สถานทูตสหรัฐแถลงการณ์ห่วง 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
- ↑ "ประกาศจากสำนักประธานาธิบดีพม่า". เฟซบุ๊ก. Myanmar President Office. 28 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.
- ↑ "รัฐบาลเมียนมา สั่งด่วน!!สำรวจถ้ำหลวงฯ ฝั่งท่าขี้เหล็ก ช่วยค้นหา 13 ชีวิต". news.ch3thailand. 29 มิถุนายน 2561.
- ↑ ""ออสเตรเลีย" เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ร่วมค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำ". sanook.com. 28 มิถุนายน 2561.
- ↑ เปิดประวัติ “หมอริชาร์ด แฮร์ริส” นักดำน้ำผู้ฟันธงทีมหมูป่าพร้อมออกจากถ้ำ
- ↑ "ญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมระบายน้ำถ้ำหลวง". mcot.net. 29 มิถุนายน 2561.
- ↑ "รัฐบาลจีนห่วง 13 ชีวิต! เร่งส่งผู้เชี่ยวชาญ-หุ่นยนต์ใต้น้ำ ลุยช่วยหาผู้สูญหายถ้ำหลวง". ข่าวสด. 29 มิถุนายน 2561.
- ↑ นำผู้เชี่ยวชาญการดำน้ำในถ้ำ ชาวเบลเยียม มือ 1 ของไทย ช่วยทีมหมูป่า
- ↑ เปิดโฉมหน้า 13 นักดำน้ำต่างชาติ ผู้ร่วมภารกิจพาหมูป่ากลับบ้าน
- ↑ 110.0 110.1 “มาเงียบๆ…กลับเงียบๆ” นักดำน้ำต่างชาติ ทยอยเดินทางกลับ - Workpoint News
- ↑ "French team ready to join cave rescue – if Thailand asks". khaosodenglish.com. 7 July 2018. Archived from the original on 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ [www.thairath.co.th/content/1324606‘โป๊ปฟรานซิส’ สวดอธิษฐาน ส่งกำลังใจถึง 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง]
- ↑ "ผู้ว่าฯ สั่งเดินหน้าพร่องน้ำถ้ำหลวงคืนนี้ นักประดาน้ำทีมสวีเดนถึงเชียงรายแล้ว" (in Thai). 25 June 2018. Archived from the original on 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "น้ำตาซึม!! เปิดใจ ‘นักดำน้ำอิสราเอล’ หลังบินมาช่วย 13 ชีวิต ถ้ำหลวง – สิ่งที่เจอภายในถ้ำ อาจถึงแก่ชีวิตได้ !??" (in Thai). Archived from the original on 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Israelis join week-long operation to rescue 12 boys trapped in Thailand cave". Archived from the original on 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ How radios are helping Thailand cave rescue - CNN Video, สืบค้นเมื่อ 2018-07-05
- ↑ "Вода продолжает прибывать в пещеру, где застряли дети". vesti.ru. Archived from the original on 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "МЧС готово помочь в спасении заблокированных в пещере в Таиланде школьников". RT на русском (in รัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
- ↑ "Finnish diver helping Thai rescuers says possible crack in cave may save boys". YLE. 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ Kft., Webra International (4 July 2018). "The Visegrad Group: the Czech Republic, Hungary, Poland and Slovakia - Babis offers help in rescuing Thai boys from flooded cave". www.visegradgroup.eu. Archived from the original on 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
- ↑ "Thai cave rescue could happen 'today or tomorrow', diver says". Sky News. 6 July 2018. Archived from the original on 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Throng of volunteers gather to rescue Thai boys trapped in cave". Reuters. 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ นักดำน้ำเดนมาร์ก ทึ่งเด็กๆทีมหมูป่า แกร่งเหลือเชื่อ
- ↑ "Next 24 hours will be crucial in Thai cave rescue drama". news.com.au. 5 July 2018. Archived from the original on 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ นายกดัตช์ ตอบจม.หนูน้อยลูกครึ่งไทย
- ↑ บ.สูบน้ำดัตช์ส่งคน-อุปกรณ์ถึงไทย รองรับ‘แผน2’ หากทีมหมูป่าออกถ้ำไม่หมด
- ↑ "'ส.บอลไทย' ขอบคุณ 'ฟีฟ่า' เชิญทีมหมูป่าดูนัดชิงบอลโลก". ไทยรัฐออนไลน์. 10 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "Cave rescue: The divers who got the Thai boys out". BBC. 10 July 2018. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
- ↑ ชาวสุราษฎร์ เตรียมต้อนรับครูฝรั่งนักดำน้ำเกาะเต่าที่ช่วยทีมหมูป่า
- ↑ "Rescue from Thai cave: Indian firm experts pitch in with tech support". 11 July 2018.
- ↑ "Filipino teacher part of Thai cave rescue".
- ↑ Yusof, Zaihan (12 July 2018). "Thai cave rescue: Singaporean diver who took part in risky operation says it was 'touch and go'". The Straits Times (in อังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
- ↑ วธ.ให้บันทึกเหตุการณ์ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง เข้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ - ไทยรัฐ
- ↑ https://www.bbc.com/thai/thailand-44959751
- ↑ เผยโฉม “เนชั่นแนล จีโอกราฟิก” ปก “วีรบุรุษถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน”- mgronline
- ↑ ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน นักท่องเที่ยวเพิ่มต่อเนื่อง สทท.เชียงใหม่
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง |
พิกัดภูมิศาสตร์: 20°22′54″N 99°52′06″E / 20.3817°N 99.8683°E