หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ | |
---|---|
หม่อมเจ้าชั้น 4 | |
![]() | |
หม่อม | หม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์ |
พระบุตร | 7 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ |
พระมารดา | หม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์ |
ประสูติ | 14 เมษายน พ.ศ. 2430 |
สิ้นชีพตักษัย | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (33 ปี) |
นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ (14 เมษายน พ.ศ. 2430 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม สุริยกุล)
ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และเสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมันจนถึง พ.ศ. 2452 จึงเสด็จกลับมารับราชการทหารที่สยาม ทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยกองทัพที่ 1 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกกรุงเทพฯ ผู้ช่วยจเรการช่างทหารบก
หม่อมเจ้าพันธุประวัติเสกสมรสกับหม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม ดารากร) มีโอรสธิดา 7 คน หม่อมเจ้าพันธุประวัติสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ สิริชันษา 34 ปี [1] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระโกศราชวงศ์ ชั้นแว่นฟ้ารอง 2 ชั้น ตั้งฉัตรเครื่อง 4 คัน กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไตร 10 ไตร ผ้าขาวพับ 20 สดับปกรณ์ และให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป เพล 4 รูป กับเครื่องประโคมประจำศพ กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 สังข์ 1 มีกำหนด 3 วัน
พลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบก |
ชั้นยศ | ![]() |
พระเกียรติคุณ[แก้]
นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ทรงรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 1 เป็นผู้มีความรู้หลักแหลม สามารถอำนวยการฝึกหัดสั่งสอนพลทหาร และฝึกฝนนายทหารให้มีความสามารถรุ่งเรืองในแบบแผนวิชาทหาร นับว่าเป็นหลักสำคัญในราชการทหารบกผู้หนึ่ง อนึ่งในการประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรีย และประเทศฮังการี ทรงเป็นผู้อำนวยการในเรื่องทหารบก ช่วยเจ้าหน้าที่พระนครบาลรักษาความสงบเรียบร้อยในพระนคร เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมคนในชาติศัตรูตลอดตั้งแต่เวลาเริ่มต้นจนถึงเวลาเนรเทศออกนอกพระราชอาณาจักร ทรงเป็นที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จึงทำให้หม่อมเจ้าพันธุประวัติได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461[2]
พระยศทางทหาร[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2462 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2461 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[5]
- พ.ศ. 2460 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2459 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2455 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. 2455 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[7]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[8]
- พ.ศ. 2457 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข่าวสิ้นชีพิตักษัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานถานันดรเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี วันที่ 2 ธันวาคม 2461
- ↑ พระราชทานยศทหารบก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/158_1.PDF
- ↑ พระราชทานยศทหารบกhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/158_1.PDF
- ↑ รายพระนามและรายนามผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ พระราชทานตราจุลจอมเกล้า http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/3173.PDF
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29 หน้า 2420 วันที่ 22 มกราคม 2455
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน