กิตติ รัตนฉายา
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พลเอก กิตติ รัตนฉายา อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1]
ประวัติ[แก้]
พลเอก กิตติ รัตนฉายา เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ที่บ้านกะแดะ ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของนายเตงและนางถวิล รัตนฉายา สมรสกับ คุณหญิงสุภาภรณ์ รัตนฉายา มีบุตร 3 คน คือ นายหงสเวส รัตนฉายา พลตรีคมกฤช รัตนฉายา ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 46 และนายพชร รัตนฉายา
การศึกษา[แก้]
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา (ศรีธรรมราชศึกษาในปัจจุบัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 8 (จปร.8-(พ.ศ. 2499–2504), ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
วุฒิการศึกษาเมื่อรับราชการแล้ว[แก้]
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 18 พ.ศ. 2512
- วิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 28 พ.ศ. 2536
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 32 พ.ศ. 2532
การศึกษาต่างประเทศ[แก้]
- หลักสูตรผู้บังคับหมวด รร.ร. ทบ.ฟอร์ดเบนนิง สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2505
- หลักสูตรรบในป่า ณ โจโฮร์บะฮ์รู มาเลเซีย
- หลักสูตรการเคลื่อนย้ายทางอากาศ ประเทศสิงคโปร์
ชีวิตราชการ[แก้]
รับราชการทหารเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2504
- ผบ.มว.ปล.ผส 5 ร.พัน 3 สงขลา พ.ศ. 2504
- ผช.หน.ยก. พล.อสส (เวียดนาม) พ.ศ. 2513
- ผบ.ร.พัน 2 (นครศรีธรรมราช) พ.ศ. 2514
- ผบ.ร.5พัน 2 /รอง ผบ.จทบ.สข. (ส่วนแยกปัตตานี) (อัตราพันเอก) พ.ศ. 2520
- ผบ.ร.15 ( นครศรีธรรมราช ) พ.ศ. 2522
- ผบ.พล. ร.5 (นครศรีธรรมราช) พ.ศ. 2528
- มทภ.4 (นครศรีธรรมราช) พ.ศ. 2534
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2537
ราชการพิเศษ[แก้]
- ผบ.ศปศ. 51 (ปัตตานี) พ.ศ. 2508, 2511–2512
- ผบ.ฉก.421 พ.ศ. 2522–2523
- รอง ผบ.พตท.42 (ส.ฏ.) พ.ศ. 2523–2524
- รอง.ผบ.พตท.43 พ.ศ. 2524–2525
- รอง.ผบ.กกล.ผสม. ฉก. ไทย (สงขลา) พ.ศ. 2525–2528
- ผบ.กกล.ผสม. ฉก. ไทย (สงขลา) พ.ศ. 2528–2531
- รอง ผอ. ปค.ภาค 4 (นครศรีธรรมราช) พ.ศ. 2531–2534
- ผอ. ปค.ภาค 4 (นครศรีธรรมราช) พ.ศ. 2534–2537
- รับราชการและปฏิบัติงานใน 14 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี 2504–2537 ได้รับการพิจารณาบำเหน็จสองขั้น 17 ครั้ง
ตำแหน่งราชการทางการเมืองและตำแหน่งอื่น ๆ[แก้]
- สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2529
- ประธานเขตภาคใต้ตอนบน พรรคความหวังใหม่ พ.ศ. 2542
- ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง 6 มกราคม 2547
เกียรติประวัติที่สำคัญทางราชการทหาร[แก้]
- ปี พ.ศ. 2506 ปฏิบัติหน้าที่นายทหารการข่าวประจำกองอำนวยการฝึกและปราบปราม จคม.ร่วมกับตำรวจสนามมาเลเซีย บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย จ. สงขลา จ.ยะลา และจ.นราธิวาส
- ปี 2514–2520 เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 5 รับผิดชอบในการปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ผกค. ใน จ.นครศรีธรรมราช และจ. สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งชุดต่อต้าน ผกค. ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (บ้านบางระจัน 1) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น ทสป และทสปช.
- ปี 2522–2524 เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 15 ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการพลเรือนตำรวจทหาร ที่ 42 รับผิดชอบความมั่นคงภายใน จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และพังงา
- ปี 2528 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 และผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจไทย-มาเลเซีย รับผิดชอบปราบปราม จคม.ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียมีผลงานด้านยุทธการหลายครั้ง
- เป็นผู้ริเริ่มใช้นโยบายยุติสงครามตามแนวชายแดนไทยมาเลเซีย กับ จคม.โดยการเจรจา ไทย-มาเลเซีย ทางลับ ตั้งแต่ปี 2528 จนประสบความสำเร็จร่วมกันระดับชาติ เมื่อ 2 ธ.ค. 2532
- เป็นประธานคณะทำงานแก้ปัญหามุสลิม (โครงการไทย-มุสลิมแก้ปัญหามุสลิม) อย่างไม่เป็นทางการได้ผลเป็นที่ยอมรับของชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างกว้างขวาง
เกียรติประวัติระดับนานาประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกจาก CEORGETOWN UNIVERSITY และ ASIA FOUNDATION ร่วมใน “GEORGETOWN LEADERSHIP SEMINAR” กับผู้นำนักบริหาร นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับสูง ซึ่งได้รับคัดเลือก จำนวน 27 คน ในจำนวน 24 ประเทศ ที่วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานสายสะพายจากพระราชาธิบดีมาเลเซีย มีบรรดาศักดิ์เป็น DATO
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคความหวังใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- แม่ทัพภาคที่ 4