สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล
สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล | |
---|---|
สมชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (1 ปี 262 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (2 ปี 222 วัน) | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 (0 ปี 364 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | จุรีภรณ์ นิลบรรเจิดกุล |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
พลเอก สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล (22 ตุลาคม พ.ศ. 2499-) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ราชองครักษ์พิเศษ[1]ราชองครักษ์เวร[2] รองประธานกรรมการคณะกรรมการการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[3] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ,สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 3 อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[5] และอดีตผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพะเยา
ประวัติ
[แก้]พลเอก สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล เกิดวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายนิยม และ นางเข็มทราย นิลบรรเจิดกุล มีพี่น้อง 5 คนเป็นบุตรชายคนโต
ได้สมรสกับ คุณจุรีภรณ์ นิลบรรเจิดกุล[6]ได้รับ พระราชทานยศ พลเอก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
การศึกษา
[แก้]พลเอกสมศักดิ์จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (ตท.16) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 (จปร.27) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 67/31
รับราชการ
[แก้]เริ่มรับราชการครั้งแรก ตำแหน่งผู้บังคับหมวดเครื่องยิงลูกระเบิด กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิด กรมทหารม้าที่ 3 ต่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารม้าที่ 1 ต่อมาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 13 เป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพะเยา เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 คนที่ 38 และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พลเอก สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ รองประธานกรรมการคณะกรรมการการสร้างความรู้
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 230 ง หน้า 1-2 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- ↑ อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
- ↑ พิธีรับ-ส่งมอบหน้าที่แม่ทัพภาคที่ 3 phitsanulokhotnews.com วันศุกร์ 2 ตุลาคม 2015
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 230 ง, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1-2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔, ๑๙ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๗, ๓ เมษายน ๒๕๓๕