พิเชษฐ์ วิสัยจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเชษฐ์ วิสัยจร
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้า พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไป พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้า พลโท วิโรจน์ บัวจรูญ
ถัดไป พลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (72 ปี)
อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
คู่สมรส ผศ.ดร.ภัทรียา วิสัยจร
ศาสนา พุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการ พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2554
ยศ RTA OF-9 (General).svg พลเอก

พลเอก พิเชษฐ์ วิสัยจร (ชื่อเล่น: แป๊ะ) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

การศึกษา[แก้]

พล.อ.พิเชษฐ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 (ตท.11-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์, พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน, พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 22 (จปร.22-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล), โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำ ชุดที่ 61, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 44, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 47 (วปรอ.47) และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

การทำงาน[แก้]

พล.อ.พิเชษฐ์ เป็นทหารราบ เริ่มรับราชการจากการเป็นผู้หมวดปืนเล็กกองร้อยอาวุธเบาที่ 23 กองพันทหารราบที่ 3 (ร.23 พัน3) ในพื้นที่ภาคอีสาน จากนั้นได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ได้รับเลื่อนตำแหน่งและเลื่อนยศขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ในปี พ.ศ. 2548, รองแม่ทัพภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 นอกจากนั้นยังเคยเป็นผู้บังคับบัญชา 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ติมอร์ตามมติของสหประชาชาติอีกด้วย [2]

ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารพัฒนา โดยเฉพาะด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชน[3] เคยเป็นหัวหน้าพัฒนาโครงการเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับรางวัลจากการทำงานด้านนี้จากหลายหน่วยงาน

ผลงานด้านการทหารที่สำคัญ[แก้]

เมื่อปี 2530 ขณะนั้นเป็นรองผู้บังคับกองพันได้นำกำลังเข้าโจมตีทหารเวียดนามบริเวณเนิน 382 ซึ่งรุกล้ำอธิปไตยเข้ามาในประเทศไทยบริเวณพื้นที่ช่องบกอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนเวียดนาม สูญเสียจำนวนมากและถอนตัวออกไป ฝ่ายเราบาดเจ็บสูญเสียเช่นกันและที่สำคัญ พ.ต.พิเชษฐ์ วิสัยจร ยศในขณะนั้นถูกสะเก็ดลูกกระสุนปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังของเวียดนามได้รับบาดเจ็บสาหัส

หลังจากที่ภัยคอมมิวนิสต์และเวียดนามยุติลง พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร ได้เห็นว่าภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นใหม่และความไม่มั่นคงตามแนวชายแดน คือภัยคุกคามจาก ความยากจนความไม่มีจะกิน ภัยจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และยุทธศาสตร์ของทหารคือยุทธศาสตร์การต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ จึงได้ริเริ่มฝึกจัดตั้งราษฎรให้ช่วยกันรักษาป่าตามแนวชายแดนอีสานใต้ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารเรียกว่า ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า โดยเน้นเรื่อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การรักษาป่า การปลูกต้นไม้เป็นสมบัติของโลก เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังเคยเป็นผู้บังคับบัญชา 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ติมอร์ตามมติของสหประชาชาติอีกด้วย [4]

ปี พ.ศ. 2547 เมื่อครั้งมาดำรง ตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ใน ได้ดำเนินการต่างๆ ไว้มากมาย อาทิโครงการเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ,โครงการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, โครงการตาสับปะรด,โครงการคอมพิวเตอร์สู่ตาดีกา,โครงการแตงโมสมานฉันท์

ปี พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็น แม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้โครงการต่าง ๆที่ดำเนินการไว้ โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ บ.บอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่เป็นพื้นที่นำร่องและเห็นเป็นรูปธรรม จะได้ขยายสู่ทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกันนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้านดังนี้ 1. การเมืองนำการทหาร 2. การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี 3. ยึดหลักกฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมบนหลักสิทธิมนุษยชน 4. การพัฒนาสมดุลยั่งยืนดังนั้นภายใต้อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปี พ.ศ. 2553 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[5] ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การรับราชการ[แก้]

  • ผู้หมวดปืนเล็ก ร.23 พัน 3
  • ผู้บังคับกองร้อย ปืนเล็ก ร.6 พัน 3
  • ผู้พัน ร.6 พัน 2
  • ผู้พัน ร.6 พัน 3
  • ผู้บัญชาการศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มทบ.ที่ 22
  • หัวหน้าพัฒนาโครงการเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันนื่องมาจากพระรราชดำริ
  • ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6
  • ผู้บัญชาการ 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ "ติมอร์" ตามมติของยูเอ็น
  • รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 กองทัพภาคที่ 2
  • 1 เมษายน 2547 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
  • 10 มิถุนายน 2548 รองแม่ทัพภาคที่ 4
  • 1 ตุลาคม 2549 รองแม่ทัพภาคที่ 2
  • 1 ตุลาคม 2551 แม่ทัพภาคที่ 4
  • 1 ตุลาคม 2553 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

รางวัล[แก้]

  • ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาสังคมชนบท จากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากคุณมีชัย วีระไวทยะ ในการแก้ไขปัญหาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [6]
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร พ.ศ. 2553[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สหประชาชาติ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - UNAMET Medal bar.gif เหรียญคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  2. ประวัติจากไทยรัฐ
  3. พันเอก (พิเศษ) พิเชษฐ์ วิสัยจร นายทหารนักพัฒนา
  4. ประวัติจากไทยรัฐ
  5. "โปรดเกล้าฯ โยกย้ายทหารแล้วประยุทธ์ขึ้น ผบ.ทบ. ดาวพงษ์นั่งเสธ.ทบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  6. มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำความดี สาขาพัฒนาสังคมชนบท
  7. งานเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2553[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๑๘ ธํนวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๙ มกราคม ๒๕๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  13. https://www.facebook.com/KODETAHARN/photos/a.2028208777469148/2186382551651769/

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]