ปิยวัฒน์ นาควานิช
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
แม่ทัพภาคที่ 4[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ |
ถัดไป | พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 18 (ตท.18) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 29 (จปร.29) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ชื่อเล่น | อาร์ต |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ประจำการ | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2561 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 4 |
พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช ตุลาการศาลทหารสูงสุด[2]อดีตตุลาการศาลทหารกลาง[3][4]อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[5]อดีตราชองครักษ์เวร[6]
ประวัติ[แก้]
พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของพลตรี ธวัชชัย นาควานิช (ถึงแก่อนิจกรรม วันที่ 30 พฤษภาคม 2557) กับหม่อมราชวงศ์พิศวาส (ดิศกุล) นาควานิช[7] มีพี่น้อง 4 คนคือ
- พลตรีหญิง มนัสสวาสดิ์ อานุภาพ ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก
- พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช
- พลเอก วุฒิชัย นาควานิช ราชองครักษ์[8] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1 และผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
การศึกษา[แก้]
สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับพลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 รุ่นเดียวกับพลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี สมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรองเสนาธิการทหารบกและผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
การรับราชการ[แก้]
- 1 ต.ค. 2557 - ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก[9]
- 1 เม.ย. 2559 - ที่ปรึกษากองทัพบก[10]
- 1 ต.ค. 2559 - แม่ทัพภาคที่ 4
ยศ[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2544 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2535 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/204_1/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/187/3.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/209/9.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/088/19.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/195/1.PDF
- ↑ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ธวัชชัย นาควานิช บิดาแม่ทัพภาคที่ 1 ณ เมรุหลวงพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[ลิงก์เสีย]
- ↑ โปรดเกล้าฯนายทหารตำรวจราชองครักษ์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/176/1.PDF
- ↑ https://news.thaipbs.or.th/document/download?1=5&2=251127&3=1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรตืยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๑, ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๗, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖