ข้ามไปเนื้อหา

สากลวิทยาลัยภูมินท์นีติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สากลวิทยาลัยภูมินท์นีติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ
សាកលវិទ្យាល័យភូមិន្ទនីតិសាស្ត្រនិងវិទ្យាសាស្ត្រសេដ្ឋកិច្ច
ประเภทมหาวิทยาลัยแห่งชาติ [1]
สถาปนาค.ศ. 1949 [1]
อธิการบดีH.E. Luy Channa [2]
อาจารย์493 คน [1]
ผู้ศึกษา17,992 คน [1]
ปริญญาตรี16,239 คน [1]
บัณฑิตศึกษา1,753 คน [1]
ที่ตั้ง,
เว็บไซต์www.rule.edu.kh

สากลวิทยาลัยภูมินท์นีติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ (เขมร: សាកលវិទ្យាល័យភូមិន្ទនីតិសាស្ត្រនិងវិទ្យាសាស្ត្រសេដ្ឋកិច្ច สากลวิทฺยาลัยภูมินฺทนีติสาสฺตฺรนิงวิทฺยาสาสฺตฺรเสฎฺฐกิจฺจ; อักษรย่อ : ស.ភ.ន.វ.ស. (ส.ภ.น.ว.ส.), อังกฤษ: Royal University of Law and Economics: RULE) เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของกัมพูชา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 โดยใช้ชื่อว่า วิทยาสถานชาตินีติศาสตร์ นโยบาย และเศรษฐกิจ (เขมร: វិទ្យាស្ថានជាតិនីតិសាស្ត្រ នយោបាយ និង សេដ្ឋកិច្ច วิทฺยาสฺถานชาตินีติสาสฺตฺร นโยบาย นิง เสฎฺฐกิจฺจ) ในปี ค.ศ. 1957 ได้มีพระราชกฤษฎีกา[3] ประกาศให้วิทยาสถานมีฐานะกลายเป็นเป็นคณะ แต่ในภายหลังได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 2003 ภายใต้ชื่อปัจจุบัน[4] เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการเรียนการสอนที่ไปที่นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดี ภายหลังมหาวิทยาลัยก็ได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาอื่นด้วย โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยมี 4 คณะ 2 บัณฑิตวิทยาลัย และหนึ่งศูนย์สำหรับฝึกนักกฎหมาย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่มีชื่อเสียงด้าน นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ

บุคคลากรและการเรียนการสอน

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2011 ถึง ค.ศ. 2012 มีนักศึกษา 17,992 คน มีสัดส่วนนักศึกษาหญิง 42.8 % โดยแบ่งเป็นนักศึกษาปริญญาตรี 16,239 คน สัดส่วนนักศึกษาหญิง 44 % ส่วนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1,753 คน มีสัดส่วนนักศึกษาหญิง 25.7 % มีนักศึกษาต่างชาติ 29 คน ทั้งจาก ลาว เวียดนาม เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส [1]

นอกจากนี้ นับจากปี ค.ศ. 1993 มหาวิทยาลัยยังได้ส่งนักศึกษาที่มีความสามารถไปศึกษาต่อยังต่างประเทศรวมแล้วกว่า 1,015 คน โดนเฉพาะปี ค.ศ. 2011 ถึง ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัยได้ส่งไปแล้ว 57 คน โดยมีสัดส่วนนักศึกษาหญิง 24 คน และมหาวิทยาลัยยังได้ส่งเสริมนักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นด้านกฎหมายไปแข่งขันในระดับนานาชาติ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ ฮ่องกง ซึ่งก็ได้ผลการตอบรับมาเป็นอย่างดี [1]

ในปี ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัยมีอาจารย์เต็มเวลา 98 คน อาจารย์พิเศษ 395 คน อาจารย์ต่างชาติที่มาแลกเปลี่ยน 69 คน อาจารย์ต่างชาติประจำ 17 คน [5] และเจ้าหน้าที่ 195 คน (หญิง 50 คน) ซึ่งแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ 115 คน (หญิง 24) และเจ้าหน้าชั่วคราว 80 (หญิง 26) [1]

การเรียนการสอนเป็นระบบสองภาคการศึกษา กำหนดเวลา 4 ปี (8 ภาคการศึกษา) สำหรับระดับปริญญาตรี และ 2 ปี (6 ภาคการศึกษา) สำหรับปริญญาโท โดยมีเงื่อนไขการรับเข้าเรียนดังนี้

ระดับปริญญาตรี

[แก้]

ผู้สมัครต้องจบการศึกษามัธยมปลาย หลักสูตรในระดับปริญญาตรีได้แก่ [6][7]

  • คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
    • นิติศาสตร์ (ภาษาเขมร)
    • นิติศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ)
    • นิติศาสตร์ (3 ภาษา : ภาษาอังกฤษ ภาษาเขมร ภาษาฝรั่งเศส)
  • รัฐประศาสนศาสตร์ (Faculty of Public Administration)
    • รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (Bachelor in Public Administration)
  • เศรษฐศาสตร์และการบริหาร (Faculty of Economics and Management)
    • เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (Bachelor in Economics)
    • บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor in Business Administration)
    • บัชญีบัณฑิต (Bachelor in Accounting)
    • การเงิน-การธนาคารบัณฑิต (Bachelor in Finance and Banking)
  • เศรษฐศาสตร์ (Faculty of Information Economics)
    • เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (Bachelor in Information Economics)

ระดับบัณฑิตศึกษา

[แก้]

ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือผู้สมัครที่จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ปริญญาเอกสาขาใดก็ได้สามารถเข้าเรียนได้โดยตรง ระดับบัณฑิตศึกษามีหลักสูตรดังนี้คือ[6][8] [7]

ระดับปริญญาโท

[แก้]
  • คณะนิติศาสตร์
    • รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (Master in Public Administration ; MPA )
    • กฎหมายเอกชนมหาบัณฑิต (Master in Private Law ; MPL )
    • กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและการว่าความบริษัทมหาบัณฑิต (Master in International Business Law and Corporate Counsel ; MIB )
  • เศรษฐศาสตร์และการบริหาร
    • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration ; MBA )
    • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน) (Master of Business Administration in Finance ; MBA-Finance )
    • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) (Master of Business Administration in Marketing ; MBA-Marketing )
    • บริหารการท่องเที่ยวมหาบัณฑิต (Master in Tourism Management)
  • ศูนย์ฝึก
    • ศูนย์ฝึกนักกฎหมาย (Lawyer's Training Center)

ระดับปริญญาเอก

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยมีแผนที่จะเปิดหลักสูตรนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (LL.D) และ เศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (PhD) ในอนาคต

ความร่วมมือทางวิชาการ

[แก้]

มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างชาติ 19 แห่ง จาก ลาว ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย โดยมีการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฉลี่ยประมาณปีละ 30 ทุน สถาบันการศึกษาที่ให้ความร่วมมือและมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกสากลวิทยาลัยภูมินท์นีติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ ได้แก่ [1][5]

มหาวิทยาลัย ที่ตั้ง
บัณฑิตวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนะโงะยะ (Nagoya University Graduate School of Law) เมืองนะโงะยะ จังหวัดไอชิ  ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ชินจูกุ โตเกียว  ญี่ปุ่น
Transnational Law and Business University (TLBU) จังหวัดคย็องกี  เกาหลีใต้
มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์อาร์เบอร์  รัฐมิชิแกน  สหรัฐ
EMLYON Business School ลียง  ฝรั่งเศส
Saga University ซะงะ  ญี่ปุ่น
Centre Franco-Vietnamien de Gestion (CFVG)  เวียดนาม
ESCP-EAP European School of Management ปารีส  ฝรั่งเศส
CERAM Sophia Antipolis Business School  ฝรั่งเศส
Audencia Nantes School of Management น็องต์  ฝรั่งเศส
Université de Bretagne Occidentale (UBO) แคว้นเบรอตาญ  ฝรั่งเศส
Université Lumière Lyon 2 ลียง  ฝรั่งเศส
Université Jean Boulin Lyon 3 ลียง  ฝรั่งเศส
English Language Institute (ELI)  สหรัฐ
University of Pantheon-ASSAS Paris II ปารีส  ฝรั่งเศส
University of Paris, Sorbonne Paris IV ปารีส  ฝรั่งเศส
University of Pantheon, Sorbonne Paris I ปารีส  ฝรั่งเศส
Université Paris Dauphine (Paris 9) ปารีส  ฝรั่งเศส
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จังหวัดปทุมธานี  ไทย
มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ นครโฮจิมินห์  เวียดนาม
Eastern Illinois University ชาลส์ตัน  รัฐอิลลินอย  สหรัฐ
East West Management Institute (EWMI)  สหรัฐ
Handong International Law School  เกาหลีใต้
SEATRANET (South East Asia Trade Policy Training Networks)  ไทย
Organisation Nationales d’Études Politiques et Administration (ONPA)  ลาว
Japan-Jurist-League (JJL)  ญี่ปุ่น
เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) องค์กรกลุ่มมหาวิทยาลัย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 "BRIEF HISTORY". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
  2. "Organization Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
  3. "พระราชกฤษฎีกา ค.ศ. 1957". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
  4. "พระราชกฤษฎีกา ค.ศ. 2003". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-18. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
  5. 5.0 5.1 "International Partnership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
  6. 6.0 6.1 "หลักสูตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-03. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
  7. 7.0 7.1 "ACADEMIC DEGREE PROGRAMS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
  8. "Master Program". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-31. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.