โรงพยาบาลลำพูน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงพยาบาลลำพูน | |
---|---|
Lamphun Hospital | |
![]() | |
ประเภท | รัฐ |
ที่ตั้ง | 177 หมู่ 1 ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ความร่วมมือ | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ผู้อำนวยการ | แพทย์หญิงภาวิณี เอี่ยมจันทน์ |
จำนวนเตียง | 411 เตียง [1] |
แพทย์ | 82 คน [2] |
บุคลากร | 1,300 คน [3] |
เว็บไซต์ | https://www.lpnh.go.th |
โรงพยาบาลลำพูน เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัดลำพูน ขนาด 411 เตียง[4] สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไปจะทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประวัติ[แก้]
โรงพยาบาลลำพูน เริ่มมีแนวความคิดในการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2495 ตามนโยบายของรัฐบาลให้มีการสร้างโรงพยาบาลเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทุกจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงได้มีการก่อสร้างอาคารหลังแรกของโรงพยาบาล ประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด และห้องพักผู้ป่วยขนาด 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 2 คน บนเนื้อที่ 35-2-72 ไร่ เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497
ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย ขนาด 60 เตียง และในปี พ.ศ. 2536 ได้ก่อสร้างอาคาร 40 ปี รองรับผู้ป่วยจำนวน 120 เตียง
ปัจจุบันโรงพยาบาลลำพูน มีจำนวนเตียง 433 เตียง[5] แพทย์ 82 คน ทันตแพทย์ 17 คน เภสัชกร 31 คน พยาบาลวิชาชีพ 434 คน และบุคลากรอื่นๆกว่า 1,300 คน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน[6] จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ใน 1 หลักสูตร คือ
ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "จำนวนเตียงโรงพยาบาลลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
- ↑ "จำนวนแพทย์โรงพยาบาลลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
- ↑ "จำนวนบุคลากรโรงพยาบาลลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
- ↑ "ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ [1]