อำเภอเวียงชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเวียงชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Chai
คำขวัญ: 
หนองหลวงแหล่งปลา ดอนศิลาผาใหญ่
พระเจ้ากือนาลือไกล เวียงชัยข้าวดี
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงชัย
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเวียงชัย
พิกัด: 19°52′59″N 99°55′59″E / 19.88306°N 99.93306°E / 19.88306; 99.93306
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด258.8 ตร.กม. (99.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด45,726 คน
 • ความหนาแน่น176.69 คน/ตร.กม. (457.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57210
รหัสภูมิศาสตร์5702
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงชัย ถนน กรป. กลาง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย 57210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
บทความนี้เกี่ยวกับอำเภอในจังหวัดเชียงราย สำหรับเมืองที่มีชื่อเดียวกันในประเทศลาว ดูที่ แขวงหัวพัน

เวียงชัย (คำเมือง: Lanna-Wiang Chai.png) เป็นอำเภอหนึ่งในตอนกลางของจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญโดยมีน้ำแม่ลาวไหลผ่านทางทิศตะวันตก และน้ำแม่กกไหลผ่านทางทิศเหนือ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเวียงชัยตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

พงศาวดารหลายฉบับกล่าวว่า เมื่อราวปี พ.ศ. 1460 พระเจ้าไชยนารายณ์ ได้ทรงสร้างเมืองขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลเมืองชุม เรียกชื่อว่า "เวียงชัยนารายณ์" ต่อมาเมืองได้ร้างไปเนื่องจากภัยสงครามจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปรากฏเรื่องราวในประวัติศาสตร์อีกว่าเมืองร้างแห่งนั้นเรียกว่า ปงเวียงชัย อยู่ห่างจากเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ได้มีผู้คนเริ่มทยอยเข้าไปทำมาหากินตั้งบ้านเรือนอยู่จนกลายเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเวียงชัย ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้าอยู่ในพื้นที่นั้นมากขึ้นจนกระทั่งทางการได้ตั้งเป็นตำบลเรียกว่า ตำบลเวียงชัย

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 อำเภอเมืองเชียงรายได้ดำเนินการขอแยกตำบลเวียงชัย ตำบลทุ่งก่อ และตำบลผางาม ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ให้แบ่งท้องที่ 3 ตำบลดังกล่าวออกจากอำเภอเมืองเชียงรายตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอเวียงชัย ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้ยกฐานะเป็น อำเภอเวียงชัย มื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 จากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศแยกตำบลทุ่งก่อ ตำบลดงมหาวัน ตำบลป่าซางออกจากอำเภอเวียงชัยจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงรุ้ง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้งในเวลาต่อมา ปัจจุบันอำเภอเวียงชัยแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเวียงชัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. เวียงชัย LN-Tambon-Wiang Chai.png Wiang Chai 20 4,426 11,187
2. ผางาม LN-Tambon-Pha Ngam.png Pha Ngam 15 3,026 9,085
3. เวียงเหนือ LN-Tambon-Wiang Nuea.png Wiang Nuea 12 2,111 6,633
4. ดอนศิลา LN-Tambon-Don Sila.png Don Sila 17 3,116 9,841
5. เมืองชุม LN-Tambon-Mueang Chum.png Mueang Chum 11 2,388 7,290

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเวียงชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงชัยและบางส่วนของตำบลเมืองชุม
  • เทศบาลตำบลเวียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงเหนือทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสิริเวียงชัย ครอบคลุมของพื้นที่ตำบลเวียงชัย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงชัย)
  • เทศบาลตำบลดอนศิลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนศิลาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองชุม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผางาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผางามทั้งตำบล

โรงเรียน[แก้]

  • โรงเรียนเวียงชัยวิทยาคม
  • โรงเรียนดอนศิลาผางามวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านทุ่งยั้งหัวฝายวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเวียงเดิม
  • โรงเรียนบ้านจอเจริญ
  • โรงเรียนอนุบาลเวียงชัย
  • โรงเรียนดงมะตื๋นเนินสยามวิทยา
  • โรงเรียนบ้านค่ายเจริญ
  • โรงเรียนบ้านเวียงเดิม
  • โรงเรียนบ้านเมืองชุม
  • โรงเรียนเวียงแก้ววิทยา
  • โรงเรียนบ้านศรีเวียง

โรงพยาบาล[แก้]

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร ตั้งอยู่ที่บ้านศรีเวียง ตำบลเวียงชัย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร

โบสถ์คริสต์[แก้]

  • คริสตจักรไทยพระกิตติคุณสมบูรณ์ บ้านหลิ่งกุญชร ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรโทกทองสามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรเพนเตคลอส (หรือ บ้านสวน) ตั้งอยู่ที่บ้านหลิ่งกุญชร ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรไชยธรรม ตั้งอยู่ที่บ้านดอน ตำบลดอนศิลา
  • คริสตจักรเวียงแก้ว ตั้งอยู่ตำบลเมืองชุม

การคมนาคม[แก้]

เส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองเชียงรายกับอำเภอเวียงชัย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1233 จากถนนพหลโยธินแยกศรีทรายมูลถึงแยกบ้านด้ายระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1173 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232 จากถนนพหลโยธินที่ห้าแยกพ่อขุนฯ ผ่านสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงรายและตำบลเวียงเหนือ เข้าสู่อำเภอเวียงชัยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร

ทั้งนี้ มีทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญที่เชื่อมต่อเข้ากับอำเภออื่น ๆ อีก ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย