อำเภอแม่สรวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแม่สรวย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Suai
ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
คำขวัญ: 
ดอยช้างสูงเด่น ร่มเย็นพระธาตุจอมแจ้ง
แหล่งชาวาวี ประเพณีสูงค่า งามสง่าศาลสมเด็จฯ
ขิงเผ็ดรสดี สตรีงามน้ำใจ ประชาธิปไตยมั่นคง
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่สรวย
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่สรวย
พิกัด: 19°39′24″N 99°32′30″E / 19.65667°N 99.54167°E / 19.65667; 99.54167
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,428.61 ตร.กม. (551.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด84,270 คน
 • ความหนาแน่น58.99 คน/ตร.กม. (152.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57180
รหัสภูมิศาสตร์5710
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่สรวย ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่สรวย [แม่-สวย] (คำเมือง: Lanna-Mae Suai.png (ᨾᩯ᩵ᩈᩕ᩠ᩅ᩠ᨿ)) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
ทุ่งนาข้าวในเขตตำบลแม่พริก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแม่สรวยมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

อ่างเก็บน้ำแม่สรวย (เขื่อนแม่สรวย) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยทางสำนักงานชลประทานแม่สรวย ได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่สรวยขึ้นที่ช่องเขาด้านทิศเหนือของยอดเขาแห่งนี้ เป็นอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่สวยงาม มีภูเขาล้อมรอบ กักเก็บน้ำจากน้ำแม่สรวย ผันน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมและอยู่ในเขตดูแลรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานแม่สรวย

ประวัติ[แก้]

อำเภอแม่สรวยจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมาตั้งแต่ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 244) มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพายัพเหนือ และอยู่ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ตำนานกล่าวว่า ชื่อของอำเภอมาจากชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งของอำเภอ เดิมที่เรียกว่า “แม่ซ่วย” ซึ่ง “ซ่วย” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ล้าง” ต่อมาเรียกชื่อเป็น “แม่สรวย” เดิมที่ว่าการอำเภอแม่สรวย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้งในเขตตำบลแม่สรวย ซึ่งมีแม่น้ำแม่สรวยไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บริเวณหน้าวัดแม่พริก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ได้มีหลวงดำรงฯ นายแขวงในขณะนั้นเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม และไม่สะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการ ประกอบกับในฤดูแล้งลำน้ำห้วยแม่พริกแห้งขอดไม่พอใช้สอยในการเกษตร และการบริโภคจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลแม่พริก มาอยู่ที่บ้านแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวาในปี 2453[1] ได้มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดเชียงราย

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอแม่สรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 126 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[14]
1. แม่สรวย LN-Tambon-Mae Suai.png Mae Suai 16 3,566 8,942
2. ป่าแดด LN-Tambon-Pa Daet.png Pa Daet 22 3,854 11,046
3. แม่พริก LN-Tambon-Mae Phrik.png Mae Phrik 13 2,133 5,798
4. ศรีถ้อย LN-Tambon-Si Thoi.png Si Thoi 12 2,105 6,232
5. ท่าก๊อ LN-Tambon-Tha Ko.png Tha Ko 27 5,796 17,813
6. วาวี LN-Tambon-Wawi.png Wawi 25 7,301 22,884
7. เจดีย์หลวง LN-Tambon-Chedi Luang.png Chedi Luang 11 2,733 7,223

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่สรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่สรวย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่สรวย
  • เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเจดีย์หลวง
  • เทศบาลตำบลเวียงสรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สรวย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สรวย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแดดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่พริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีถ้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าก๊อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาวีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์หลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (39): 950–951. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-08-27. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2448
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกกิ่งแขวงเวียงเป้าขึ้นเป็นแขวงเวียงป่าเป้า อยู่ในความบังคับบัญชาของบริเวณพายัพเหนือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (7): 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 40-41. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพาน อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (174 ง): 3509–3516. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2522
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (166 ง): 5502–5503. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-44. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลศรีถ้อย เป็นเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (68 ก): 15–16. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
  11. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงสรวย". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  12. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เวียงสรวย เป็น เทศบาลตำบลเวียงสรวย". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  13. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 132–152. วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  14. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]