แม่น้ำโขง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
แม่น้ำโขง | |
---|---|
![]() | |
ระบบอุทกวิทยา | |
แอ่งสมุทร | มหาสมุทรแปซิฟิก |
ระบบแม่น้ำ | ระบบแม่น้ำโขง |
ลุ่มน้ำประธาน | ลุ่มแม่น้ำโขง |
ชื่อแหล่งน้ำ | แม่น้ำโขง |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | แม่น้ำ |
ไหลผ่าน | ![]() ![]() |
ความยาว | 4,909 กม. |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 759,000 ตร.กม. [1] |
ระดับความสูงของต้นน้ำ | 5224 |
ปริมาณน้ำเฉลี่ย | 2,506.6 ล้าน ลบ.ม. |
ปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่ | 73.99 ลิตร/วินาที/ตร.กม. [2] |
แผนที่ | |
![]() |
แม่น้ำโขง (พม่า: မဲခေါင်မြစ်; ลาว: ແມ່ນ້ຳຂອງ; เขมร: ទន្លេមេគង្គ; เวียดนาม: Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการละลายของหิมะและน้ำแข็งบริเวณที่ราบสูงทิเบต ในบริเวณตอนเหนือของทิเบต ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว เริ่มไหลผ่านดินแดนประเทศไทยที่บริเวณสบรวก สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอเชียงของ ก่อนไหลเข้าประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย [3] จึงนับเป็นจุดสุดท้ายของแม่น้ำโขงที่ผ่านดินแดนภาคเหนือของไทย รวมความยาวช่วงที่ไหลผ่านพรมแดนกั้นไทย-ลาว ที่จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร ก่อนที่จะไหลวกกลับเข้ามายังดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่งที่บ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย-ลาว ผ่านดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมความยาวช่วงที่ไหลผ่านพรมแดนกั้นไทย-ลาว เป็นระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่ประเทศกัมพูชา ที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงแตรง จังหวัดกระแจะ จังหวัดกำปงจาม กรุงพนมเปญ และไหลเข้าเขตประเทศเวียดนามที่หมู่บ้านวินฮือ ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ มีความยาวทั้งหมด 4,909 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร
ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านมีชื่อเรียกเป็นภาษาของไทลื้อ ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงอย่างหนาแน่นในดินแดนสิบสองปันนาว่า แม่น้ำของ คนจีนทั่วไปเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江; จีนตัวเต็ม: 瀾滄江; พินอิน: Láncāngjiāng) จากชื่อของอาณาจักรลาวล้านช้าง เมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และ ประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาเรียก น้ำของ และภาษาว้าเรียก กรอง (Grong หรือ Groung) เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตสิบสองปันนา ประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก
นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง
สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก
แม่น้ำโขงกับความเชื่อพื้นบ้าน[แก้]
คนไทยใหญ่ และคนลาวมีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค หรืองูขนาดใหญ่ที่มีฤทธิ์มาก ว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ตำนานพญานาคที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงก็เช่น ตำนานวังนาคินทร์คำชะโนด
นอกจากนี้ ทุกวันออกพรรษาจะมีประชาชนจำนวนมากไปเยือนริมฝั่งแม่น้ำของในประเทศไทย แถบอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เพื่อดูปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก จังหวัดที่มีปรากฏการณ์บั่งไฟพญานาคที่มีประชาชนนิยมไปเฝ้าดูมากที่สุด คือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีกลุ่มนักวิจัยจากหลายสถาบันได้ออกมาชี้ชัด หรือหาหลักฐานอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่าเกิดจากกลุ่มก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในแม่น้ำโขง อาทิเช่น ก๊าซมีเทน เป็นต้น แต่ก็ยังมิได้มีหลักฐานชี้ชัดเป็นที่แน่นอน ว่าเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดจากการกระทำของพญานาค หรือ เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับการชมภูมิทัศน์ของลำน้ำโขงที่มีชื่อเสียงได้แก่ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ตอนบนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และพม่า
ลำน้ำสาขา[แก้]
ลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามระบบลุ่มน้ำประธาน ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง[แก้]
ลุ่มน้ำกก[แก้]ลุ่มน้ำชี[แก้] |
ลุ่มน้ำมูล[แก้]ลุ่มน้ำโตนเลสาบ[แก้]
|
สะพานข้ามแม่น้ำโขง[แก้]
ภายในประเทศจีน[แก้]
- สะพาน Lan Cang และ Lushi
- สะพาน S323
ภายในประเทศจีน-ลาว[แก้]
- สะพานมิตรภาพลาว-จีน (โครงการ)
พรมแดนประเทศพม่า-ลาว[แก้]
พรมแดนประเทศไทย-ลาว[แก้]
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) (โครงการ)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง) (โครงการ)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 7 (เลย–แขวงเวียงจันทน์) (โครงการ)
- สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 8 (อุบลราชธานี–จำปาศักดิ์) (โครงการ)
ภายในประเทศลาว[แก้]
- สะพานไชยบุรี-หลวงพระบาง
- สะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น (สะพานปากเซ)
- สะพานเมืองของ
- สะพานอุดมไซ
ภายในประเทศกัมพูชา[แก้]
- สะพาน Prek Tamak
- สะพานคิซุนะ
- สะพาน Takhmao
- สะพาน Prek Kdam
- สพานสึบาสา
ภายในประเทศกัมพูชา-ลาว[แก้]
- สะพานมิตรภาพลาว-กัมพูชา (โครงการ)
ภายในประเทศเวียดนาม[แก้]
- สะพานเกิ่นเทอ (ข้ามแม่น้ำบาสัก - แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง)
- สะพาน Mỹ Thuận
- สะพาน Rạch Miễu
ภายในประเทศเวียดนาม-ลาว[แก้]
- สะพานมิตรภาพลาว-เวียดนาม (ข้ามแม่น้ำกา)
- สะพานมิตรภาพลาว-เวียดนาม 2 (ข้ามแม่น้ำโขง) (โครงการ)
เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง[แก้]
ภายในประเทศจีน[แก้]
- เขื่อนม่านวาน
- เขื่อนดาเชาชาน
- เขื่อนเซียววาน
- เขื่อนจิงฮอง
- เขื่อนอู่น่งหลง
- เขื่อนนัวซาดู
- เขื่อนกองกัวเคียว
- เขื่อนลิตี้ (กำลังก่อสร้าง)
- เขื่อนเหมียวอวี (กำลังก่อสร้าง)
- เขื่อนหวงเติ้ง (กำลังก่อสร้าง)
- เขื่อนต้าฮัวเคียว (กำลังก่อสร้าง)
พรมแดนประเทศไทย-ลาว[แก้]
- เขื่อนปากชม (โครงการ)
- เขื่อนบ้านกุ่ม (โครงการ)
ภายในประเทศลาว[แก้]
- เขื่อนไซยะบุรี
- เขื่อนดอนสะโฮง (กำลังก่อสร้าง)
ภายในประเทศกัมพูชา[แก้]
- เขื่อนสตึงเตรง (โครงการ)
- เขื่อนสมโบร์ (โครงการ)
ความสัมพันธ์ทางสื่อสารมวลชนกับชีวิตชาวแม่น้ำโขง[แก้]
Mekong Community TV (MCTV)[แก้]
เป็นการเสนอข่าวสารและข้อมูลต่างๆของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ออกอากาศในข่าวภาคค่ำทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2551 โดยได้ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์แต่ละประเทศบนลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ตัวแทนประเทศละ 1 สถานี มีดังต่อไปนี้ (ไม่มีตัวแทนจากประเทศพม่า)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม (วีทีวี) - ประเทศเวียดนาม
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (ซีซีทีวี) - ประเทศจีน
- สถานีโทรภาพแห่งชาติลาว (สทล.- แอลเอ็นทีวี) - ประเทศลาว
- สถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมรภูมินทร์ (ช่อง 5) - ประเทศกัมพูชา
- สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี - ประเทศไทย
รายการแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต[แก้]
รายการแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต ถือว่าเป็นรายการประเภทสารคดีที่เล่าถึงชีวิตของคนบนผืนแผ่นดินลุ่มน้ำโขง ทั้ง ประเทศ ซึ่งร่วมมือสร้างสารคดี เป็นเวลายาวนานถึง 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2551 จำนวนการออกอากาศมีทั้งสิ้น 20 ตอน โดยในประเทศไทย ออกอากาศในปี พ.ศ. 2551 รายการนี้ ถือว่าเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สถานีโทรทัศน์แต่ละประเทศบนลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ตัวแทนประเทศละ 1 สถานี มีดังต่อไปนี้
- สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี (บมจ.อสมท) - ประเทศไทย
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา (MRTV) - ประเทศพม่า
- สถานีโทรภาพแห่งชาติลาว (สทล.- LNTV) - ประเทศลาว
- สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศกัมพูชา (ททก.-TVK) - ประเทศกัมพูชา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม (วีทีวี) - ประเทศเวียดนาม
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (ซีซีทีวี) - ประเทศจีน
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แม่น้ำโขงกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม[แก้]
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต[แก้]
ดูที่บทความ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง
องค์กรแม่น้ำโขง[แก้]
- คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC)
- ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation : MLC)
- หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership : MUSP)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "River System of the World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-19. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
- ↑ ข้อมูล 25 ลุ่มน้ำประธาน เก็บถาวร 2007-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ข้อมูลกรมชลประทาน
- ↑ ท่องเที่ยวน้ำโขง สัมผัสบรรยากาศหลากหลายที่ “แก่งผาได”
- ↑ ข้อมูลแหล่งน้ำ เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ปฏิบัติการณ์จังหวัดสระแก้ว
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แม่น้ำโขง |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ แม่น้ำโขง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 33°42′30″N 94°41′42″E / 33.708333°N 94.695°E
- แม่น้ำโขง
- แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย
- แม่น้ำกั้นพรมแดน
- แม่น้ำในประเทศจีน
- แม่น้ำในประเทศพม่า
- แม่น้ำในประเทศลาว
- แม่น้ำในประเทศกัมพูชา
- แม่น้ำในประเทศเวียดนาม
- แม่น้ำในจังหวัดเชียงราย
- แม่น้ำในจังหวัดเลย
- แหล่งน้ำในจังหวัดหนองคาย
- แม่น้ำในจังหวัดบึงกาฬ
- แม่น้ำในจังหวัดนครพนม
- แหล่งน้ำในจังหวัดมุกดาหาร
- แม่น้ำในจังหวัดอำนาจเจริญ
- แม่น้ำในจังหวัดอุบลราชธานี
- อำเภอโพนพิสัย
- ภูมิศาสตร์ทิเบต
- ภูมิศาสตร์ลาว
- ภูมิศาสตร์กัมพูชา
- พรมแดนธรรมชาติลาว–ไทย
- แม่น้ำในภาคอีสาน