โรงพยาบาลกลาง
โรงพยาบาลกลาง | |
---|---|
Klang Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูง |
ที่ตั้ง | ถนนหลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 (126 ปี 194 วัน) |
สังกัด | สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
โรงเรียนแพทย์ | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ความร่วมมือ | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
รับรอง | สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล |
ผู้อำนวยการ | นายแพทย์อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี[1] |
จำนวนเตียง | 483 เตียง[2] |
แพทย์ | 132 คน |
เว็บไซต์ | โรงพยาบาลกลาง |
โรงพยาบาลกลาง (อังกฤษ: Klang Hospital) เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงขนาด 500 เตียง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนหลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร และเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประวัติ
[แก้]เริ่มการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2441 สำหรับสร้างเป็นโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีกับประชาชน แต่เมื่อสร้างโรงพยาบาลเสร็จ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลไม่มีงบประมาณ ในการดำเนินการต่อ โรงพยาบาลกรมพลตระเวนหรือโรงพยาบาลตำรวจในขณะนั้น ได้ขอเช่าเรือนโรงพยาบาลใช้รักษาหญิงโสเภณีของกรมสุขาภิบาล ซึ่งยังตอนนั้นยังไม่ได้เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลกรมพลตระเวน เปิดให้บริการแก่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่าง ๆ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 แต่เมื่อเปิดก็มีพลเรือนมารับการรักษาอีกด้วย ปัจจุบัน โรงพยาบาลกลางมีอายุครบ 121 ปี เป็นสถานที่ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย สร้างเสริมสุขภาพอนามัย และป้องกันโรค ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ และปฏิบัติงานร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาการบริการให้ทันสมัย โดยเน้นบริการที่ดีเลิศ (Best Service) ตลอดจนปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และบรรยากาศทั้งภายในอาคาร และรอบโรงพยาบาลให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้รับบริการ ตลอดจนตอบสนองนโยบายของรัฐ ในการให้บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพโดยการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 20 ชั้น เพื่อทดแทนอาคารเก่าด้วยเงินงบประมาณ 780 ล้านบาท โดยได้รับพระราชชื่ออาคารแห่งนี้ว่า "อาคารอนุสรณ์ 100 ปี"[3]
ศูนย์และศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
[แก้]- ศูนย์จักษุวิทยา [4]
- ศูนย์ผ่าตัดกระดูกและข้อ
- ศูนย์ส่องกล้องและผ่าตัดผ่านกล้องระบบทางเดินอาหาร
- ศูนย์คลินิกโรคอ้วน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
[แก้]ตามที่สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และได้กำหนดให้โรงพยาบาลกลาง เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิกเครือข่ายความร่วมมือกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[5]
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง[6] จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
[แก้]ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงพยาบาลกลาง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์