อำเภอเชียงแสน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเชียงแสน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Saen
จุดบรรจบของแม่น้ำรวกและแม่น้ำโขง มุมมองจากวัดพระธาตุดอยปูเข้าในบ้านสบรวก
คำขวัญ: 
ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน
แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงแสน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงแสน
พิกัด: 20°16′30″N 100°5′18″E / 20.27500°N 100.08833°E / 20.27500; 100.08833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด554.0 ตร.กม. (213.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,677 คน
 • ความหนาแน่น100.50 คน/ตร.กม. (260.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57150
รหัสภูมิศาสตร์5708
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงแสน เลขที่ 1
หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงแสน (คำเมือง: Lanna-Chiang Saen.png) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า และเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน กำลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: เวียงเชียงแสน
ป้ายประวัติเมืองเชียงแสน

ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป

ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่คนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ พระโอรสในพระเจ้าลำพูนไชย เป็นพระยาราชเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสน และให้พระเจ้าลำพูนไชยทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมืองประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ตำบลกาสา เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสน ส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง[1] ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2482 (โดยอำเภอเชียงแสนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกาสานั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแม่จันแทน[2]) จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา[3] ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุสังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย ที่อำเภอเชียงแสน โดยทางตำรวจไทยได้ฟ้องร้องทหารไทยต่ออัยการว่ามีส่วนร่วมในการสังหารลูกเรือชาวจีน ต่อมาได้มีการสืบสวนพบว่า สังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย เป็นฝีมือของ "หน่อคำ" นักค้ายาเสพติดรายใหญ่ เป็นหัวหน้าในการปล้นและฆ่าคนในลุ่มแม่น้ำโขงเกี่ยวกับขบวนเรือต่าง ๆ ที่ผ่านเส้นทางดังกล่าวอยู่เสมอ และเป็นอดีตทหารไทยใหญ่ กองทัพเมืองไต ลูกน้องขุนส่า มีประวัติไม่มีที่อยู่ที่ชัดเจน เขาใช้ชีวิตหลบหนีไปมาระหว่างเมืองสามพลู เขตรอยต่อของประเทศพม่าและจีน โดยศาลตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษ (วันที่ 1 มี.ค. 2556) [4]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเชียงแสนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 70 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[5]
1. เวียง LN-Tambon-Wiang.png Wiang 9 6,024 11,334
2. ป่าสัก LN-Tambon-Pa Sak.png Pa Sak 13 3,093 7,807
3. บ้านแซว LN-Tambon-Ban Saeo.png Ban Saeo 15 4,217 10,461
4. ศรีดอนมูล LN-Tambon-Si Don Mun.png Si Don Mun 13 3,170 7,765
5. แม่เงิน LN-Tambon-Mae Ngoen.png Mae Ngoen 12 2,723 8,286
6. โยนก LN-Tambon-Yonok.png Yonok 8 1,851 4,670

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเชียงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
  • เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน)
  • เทศบาลตำบลโยนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโยนกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านแซว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแซวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่เงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เงินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนมูลทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 กรกฎาคม 2470, เล่ม 44, หน้า 1232
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 เมษายน 2482, เล่ม 56, หน้า 354
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเชียงแสน พ.ศ. ๒๕๐๐ เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 9 เมษายน 2500, เล่ม 74, ตอนที่ 36, หน้า 565-567
  4. https://www.msn.com/th-th/news/national/5-%E0%B8%95%E0%B8%84-2554-%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88-13-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/ar-BBNXR5T
  5. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย