มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
ມະຫາວິທະຍາໄລແຫ່ງຊາດ | |
![]() | |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ |
---|---|
สถาปนา | ตุลาคม พ.ศ. 2539 |
ประธาน | ศ.สมสี ยอพันไซ (Somsy Gnophanxay) [1] |
อาจารย์ | 1,155 คน |
เจ้าหน้าที่ | 437 คน |
ผู้ศึกษา | 26,673 คน (พฤษภาคม พ.ศ. 2548) |
ที่ตั้ง | ตู้ ปณ. 7322 ดงโดก เวียงจันทน์ , 18°02′11″N 102°38′12″E / 18.0365°N 102.6366°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 18°02′11″N 102°38′12″E / 18.0365°N 102.6366°E |
วิทยาเขต | 8 วิทยาเขต (ทั้งในเขตเมืองและชนบท) แต่ปัจจุบันมีเพียง 5 วิทยาเขต |
ฉายา | NUOL, ມ.ຊ. |
เครือข่าย | เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, เครือข่ายการพัฒนาเพื่อการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (AUN/SEED-NET), Agence universitaire de la Francophonie (AUF) |
เว็บไซต์ | nuol.edu.la |
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (ลาว: ມະຫາວິທະຍາໄລແຫ່ງຊາດ หรือ ມ.ຊ.; อังกฤษ: National University of Laos หรือ NUOL) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศลาว ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สถาปนาจากรวมคณะต่าง ๆ ของวิทยาลัยที่มีมาก่อนแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวถือเป็นมหาวิทยาลัยหนื่งในสี่แห่งของประเทศ
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น สำหรับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยนานาชาติ จากประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังเข้าร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network: AUN) เครือข่ายการศึกษาและการวิจัยแห่งลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Academic and Research Network : GMSARN) เครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งอาเซียน/เครือข่ายการพัฒนาเพื่อการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN University Network/Southeast Asia Engineering Education Development Network : AUN/SEED-NET) และ Agence universitaire de la Francophonie : AUF)
วิทยาเขต[แก้]
- วิทยาเขตดงโดก
- วิทยาเขตโสกป่าหลวง
- วิทยาเขตนาบง
- วิทยาเขตดอนนกขุ้ม
- วิทยาเขตเพียวัด
- วิทยาเขตตาดทอง
- วิทยาเขตหลักห้า
- วิทยาเขตดอนกอย (โรงพยาบาลเสดถาทิลาด)
แต่ในปัจจุบันมีเพียง 5 วิทยาเขตเท่านั้น
- วิทยาเขตดงโดก
- วิทยาเขตโสกป่าหลวง
- วิทยาเขตดอนนกขุ้ม
- วิทยาเขตนาบง
- วิทยาเขตตาดทอง
คณะที่เปิดสอน[แก้]
- คณะวนศาสตร์ (Faculty of Forestry)
- คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education)
- คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)
- คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Sciences)
- คณะอักษรศาสตร์ (Faculty of Letters)
- คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ (Faculty of Economics and Business Management)
- คณะเกษตรศาสตร์ (Faculty of Agriculture)
- คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (Faculty of Laws and Political Sciences)
- คณะเภสัชศาสตร์ (Faculty of Medical Sciences)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Faculty of Architecture)
- คณะสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Faculty of Environment and Development Studies)
- โรงเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (School of Foundation Studies)
ความร่วมมือกับประเทศไทย[แก้]
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในไทยอยู่สองโครงการดังต่อไปนี้[2]
- โครงการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโท สาขาการศึกษาทางด้านการพัฒนาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโท การสอนภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) ด้านการศึกษาทางด้านการพัฒนานานาชาติ (International Development Studies)
- โครงการยกระดับพนักงานของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวให้เป็นระดับปริญญาตรี ได้รับความร่วมมือจาก มูลนิธิมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยประชาคมนานาชาติอุดรธานี – หนองคาย เพื่อส่งเสริมให้บุคคลากรจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวที่วุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรีจำนวน 114 คน ให้จบระดับปริญญาตรีศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยแบ่งเป็นสาขาเอกสังคมศาสตร์ 57 คน และวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 57 คน โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง พ.ศ. 2551–2553
ดูเพิ่ม[แก้]
- Agence universitaire de la Francophonie (AUF)
- เครือข่ายการศึกษาและการวิจัยแห่งลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Academic and Research Network : GMSARN)
- เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการสัมมนาวิชาการและงานเทศกาลหนังสือร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์. 12 กรกฎาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
- ↑ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (11 มีนาคม 2010). "ความร่วมมือทางวิชาการไทย – ลาว". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- National University of Laos.
- Laos Cultural Profile. Ministry of Information and Culture/Visiting Arts.
- complete cultural information. Laoconnection.com.
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |