ชัจจ์ กุลดิลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัจจ์ กุลดิลก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าฐานิสร์ เทียนทอง
ชูชาติ หาญสวัสดิ์
ถัดไปวิสาร เตชะธีราวัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
สุชาติ โชคชัยวัฒนากร
ถัดไปพล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต
ประเสริฐ จันทรรวงทอง
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2553 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสวิมลรัตน์ กุลดิลก (หย่า)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)
กองอาสารักษาดินแดน
ยศ พลตำรวจโท[1]
นายกองเอก[2]

พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) และที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486[3] เป็นบุตรของนายใช้ กับนางเซี้ยม กุลดิลก จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (รป.บ.)

พล.ต.ท.ชัจจ์ หย่ากับคู่สมรสแล้ว โดยมีบุตรรวม 7 คน บุตรคนโต คือ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก[4][5]

การทำงาน[แก้]

ชัจจ์ กุลดิลก เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดในราชการตำรวจคือผู้บัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) ต่อมาปลดเกษียณ ได้เข้ามาทำงานการเมืองร่วมกับพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11[6] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[7] ต่อจากนั้นในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อลำดับถัดได้เลื่อนลำดับขึ้นมาแทน[8] ต่อมาได้ปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[9] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[10]

คดีความฐานหมิ่นประมาท[แก้]

ชัจจ์ กุลดิลก ถูกศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้จำคุก เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549 ในกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นโจทย์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 80 ล้านบาท ฐานหมิ่นประมาท โดยการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุก 3 เดือน ปรับ 200,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/B/020/20.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
  3. พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก ปาร์ตี้ลิสต์หมายเลข 11 ของเพื่อไทย
  4. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.thairath.co.th/people/view/pol/7850 ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  8. พล.ต.ท.ชัจจ์ ลาออก ส.ส.บัญชีรายชื่อคนแรก เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากครอบครัวข่าว
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  11. "ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก "พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก" ฐานหมิ่นประมาท "จุรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
  12. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  13. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.