ข้ามไปเนื้อหา

เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม 2484 – 1 สิงหาคม 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม 2494 – 30 มีนาคม 2500
ก่อนหน้าหลวงวิจิตรวาทการ
ถัดไปนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ 2478 – 19 สิงหาคม 2484
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
ถัดไปพลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)
ถัดไปพลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน 2436
กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม
เสียชีวิต3 เมษายน พ.ศ. 2513 (76 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงมากะริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ[1] (มากะริต ดว๊อต)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2464–2494
ยศ พลเอก

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 3 เมษายน พ.ศ. 2513) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ประวัติ

[แก้]

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ[3] เดิมชื่อเภา เพียรเลิศ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ที่บ้านหน้าวัดอมรินทราราม ในคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีในครั้งนั้น เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเพ็ชร์และนางส้มจีน เพียรเลิศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 11 คน จบการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์จากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสวนกุหลาบ แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2449 และเมื่อ พ.ศ. 2452 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมัน แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต้องย้ายไปศึกษาและปฏิบัติงานในราชการกองทัพบก ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ โดยขณะนั้นมียศร้อยตรี (ร.ต.) ได้เป็นหนึ่งใน 19 นายทหารระดับสูงที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เรียกว่า "กองทูตศึกสัมพันธมิตร" ที่นำโดย พลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ (ต่อมาคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน [4]) จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2472[5] และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2477 ขณะมียศเป็นพันเอก[6]

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ เมื่อ พ.ศ. 2484[7]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้เป็น พลตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2484 และรับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษในวันถัดมา[8][9]

เข้าสู่วงการเมือง

[แก้]

ใน พ.ศ. 2478 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งและคืนสู่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์[10] ฯลฯ รวมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบการเงินหรือการค้าของชาติเป็นระยะ ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และได้รับพระราชทานยศทางทหารสูงขึ้นเป็นลำดับจนถึงชั้นพลเอก ใน พ.ศ. 2494

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เกิดรัฐประหาร ยุบคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐประหารประกาศแต่งตั้งคณะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการในคณะบริหารดังกล่าว[11] พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ จึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยตำแหน่งในช่วงเวลานั้น ได้ขอจดทะเบียนนามสกุลใหม่ตามบรรดาศักดิ์ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ ในปี พ.ศ. 2484

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 2 สมัย[12]

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2500[13]

ชีวิตส่วนตัวและวาระสุดท้าย

[แก้]

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ สมรสกับคุณหญิงมาเกอริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ (นางสาวมาเกอริต ดว๊อต) มีบุตรและบุตรบุญธรรม คือ เรืออากาศเอก กระจัง บริภัณฑ์ยุทธกิจ (ถึงแก่กรรม) นายอังกูร บริภัณฑ์ยุทธกิจ และนางวลัยวรรณ ติตติรานนท์ (บุตรบุญธรรม) พลเอก เภาเพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 สิริอายุ 76 ปี 4 เดือน 24 วัน[ต้องการอ้างอิง] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  3. "ประวัติจากฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-11.
  4. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 740 หน้า. หน้า 20.
  5. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๖๔)
  6. ประกาศ ตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม และพลาธิการทหารบก
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  11. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานถานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๑, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๖, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๖๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๐, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๖๙๖, ๑๔ เมษายน ๒๔๙๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๑, ๘ ธันวาคม ๒๔๖๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๗๔, ๙ กันยายน ๒๔๘๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๔๓๔, ๓ มีนาคม ๒๔๘๕
ก่อนหน้า เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ถัดไป
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(สมัยแรก: 17 ธันวาคม พ.ศ. 2484 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
สมัยทื่ 2: 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
สมัยทื่ 3: 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2500)
พันตรี ควง อภัยวงศ์
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
พระยาศรยุทธเสนี
(กระแส ประวาหะนาวิน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2484 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485)
พระยามไหสวรรย์
(กวย สมบัติศิริ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
ศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(21 มีนาคม - 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
สุกิจ นิมมานเหมินท์