ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนอม กิตติขจร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 112: บรรทัด 112:
จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี [[พ.ศ. 2501]] สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย
จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี [[พ.ศ. 2501]] สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย


<br />
===ผลงานสมัยเป็นรัฐบาล===
ในช่วงที่จอมพลถนอม กิตติขจร บริหารประเทศ ได้มีผลงานที่สำคัญดังนี้

1. ด้านการทหาร ตลอดระยะเวลา 15 ปี นับแต่จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2500 และเลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนถึงดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ นายกรัฐมนตรี ได้เสริมสร้างกองทัพทั้งสามเหล่าทัพอย่างทัดเทียม ได้มีการวางนโยบายปรับปรุงแก้ไขพัฒนากิจการงานสาขาต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ให้มีความเจริญก้าวหน้า มีการสนับสนุนกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพด้วยการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เสริมเหล่าทัพให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับประเทศตะวันตก รวมถึงงานด้านยุทธบริการ เช่น ริเริ่มปรับปรุงงานส่งกำลังบำรุง ได้แก่ จัดทำแคตตาล็อกสำหรับสิ่งอุปกรณ์ ยุทธภัณฑ์ เพื่อให้ทุกเหล่าทัพสามารถใช้ร่วมกันได้ กำหนดแบบอาการมาตรฐานของกระทรวงกลาโหมเพื่อให้เป็นแบบเดียวกันซึ่งจะอำนวยให้ลดงบประมาณค่าก่อสร้างและค่าซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ยังได้พัฒนางานในด้านการศึกษาให้เจริญเติบโต ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียน เสนาธิการทหาร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นต้น

2. ด้านการเศรษฐกิจและสังคม จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยึดหลักการพัฒนาตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำการพัฒนาประเทศ ดำเนินการตามโครงการสนับสนุนการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้

- การพัฒนาส่วนภูมิภาค แยกออกเป็น 5 ภาค โดยมีคณะกรรมการพัฒนาภาครับผิดชอบในเรื่องนโยบายและจัดสรรเงินงบประมาณให้กับโครงการที่เห็นสมควร

- การพัฒนาส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาลของแต่ละจังหวัด โดยอาศัยรายได้ของส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก

- การเร่งรัดพัฒนาชนบท ในเขตเร่งรัดพัฒนาชนบท อันได้แก่ จังหวัดชายแดนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอาจขยายวงกว้างได้ขึ้นภายหลังตามความจำเป็น

- การพัฒนาเขตทุรกันดารห่างไกล เป็นโครงการพิเศษเฉพาะบางอำเภอและบางตำบลที่อยู่บริเวณชายแดนซึ่งติดต่อได้ยาก เพราะขาดเส้นทางคมนาคม โดยจะเน้นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชายแดนภาคตะวันออกและบริเวณชายแดนภาคใต้

- การพัฒนาเฉพาะท้องที่ เป็นโครงการที่จะดำเนินการเฉพาะท้องที่บางแห่ง โดยได้ดำเนินการในเขตลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณสัตหีบ บริเวณเขตชะอำกับปราณบุรี

ทั้งนี้ นับได้ว่าเป็นการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างยิ่ง ดังเห็นได้จากการเน้นหนักด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อันเป็นรากฐานของพลังทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อมา อาจจะกล่าวได้ว่า แนวทางการพัฒนาในช่วงนี้ของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นก้าวสำคัญที่สุดที่ปูพื้นฐานความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจส่วนร่วมของประเทศไทยในปัจจุบันนี้<ref>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1_%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%A3_(%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5)#cite_ref-10</ref>


== ยศ ==
== ยศ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:18, 15 ตุลาคม 2562

ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
(0 ปี 292 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพจน์ สารสิน
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(7 ปี 343 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(0 ปี 301 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปสัญญา ธรรมศักดิ์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (0 ปี 294 วัน)
ก่อนหน้าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปจอมพล ประภาส จารุเสถียร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2503 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (3 ปี 344 วัน)
ก่อนหน้าหลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์)
ถัดไปพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 (9 ปี 294 วัน)
ก่อนหน้าจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถัดไปพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
นายกสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
ก่อนหน้าว่าง
ถัดไปสุกิจ นิมมานเหมินท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2454
บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
เสียชีวิต16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (92 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองพรรคชาติสังคม (พ.ศ. 2500)
พรรคสหประชาไทย (พ.ศ. 2511)
คู่สมรสท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร (พ.ศ. 2458-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
กองบัญชาการทหารสูงสุด
ยศ จอมพล
จอมพลเรือ
จอมพลอากาศ
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 245416 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไทย และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง]

จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี

ประวัติ

จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณลักษณ์ (ลิ้นจี่) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ได้แก่

  • นาง รำพึง พันธุมเสน (ถึงแก่กรรม)
  • เด็กหญิง ลำพูน กิตติขจร (ถึงแก่กรรม)
  • จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร
  • นาง สุรภี ชูพินิจ (ถึงแก่กรรม)
  • นาย สนิท กิตติขจร (ถึงแก่กรรม)
  • นาง สายสนม กิตติขจร อดีตนายกสมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย (ถึงแก่กรรม)
  • พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ถึงแก่อนิจกรรม)
  • นาง ปราณีต สุคันธวณิช อดีตนายกสมาคมส่งเสริมการศึกษาในถิ่นกันดาร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ถึงแก่กรรม)

จอมพล ถนอม กิตติขจร มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: 符; พินอิน: fú)เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตากหลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ

จอมพล ถนอมได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2504[1] จอมพล ถนอมดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2509

บุตรธิดา

ไฟล์:Thanom and Jongkol.jpg
จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีไทย และท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ภรรยา

จอมพลถนอม กิตติขจรสมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ บุตรีของ พันเอกหลวงจบกระบวนยุทธ์ (แช่ม ถนัดรบ) และ คุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ์) มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

  • นาง นงนาถ เพ็ญชาติ (พ.ศ. 2474-ปัจจุบัน)
  • พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (พ.ศ. 2476-ปัจจุบัน) สมรสกับคุณสุภาพร (จารุเสถียร) กิตติขจร มีบุตรเป็นทหาร 2 คน พลเอก เกริกเกียรติ กิตติขจร กับ พลตรี กิจก้อง กิตติขจร
  • คุณหญิง นงนุช จิรพงศ์ สมรสกับ พล.อ.เอื้อม จิรพงศ์ มีบุตรชื่อ อนุสร จิรพงศ์ เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • พลอากาศเอก ยุทธพงศ์ กิตติขจร
  • คุณหญิง ทรงสุดา ยอดมณี (พ.ศ. 2487-ปัจจุบัน) สมรสกับ ร้อยโท ดร.สุวิทย์ ยอดมณี มีบุตรชายคือ ดร. ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย
  • คุณหญิง ทรงสมร คชเสนี (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน) สมรสกับ พลเรือเอก สุภา คชเสนี

นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดูดุจลูกแท้ๆ ของท่านเอง คือ

  • พลตำรวจตรี นเรศ คุณวัฒน์
  • นาย นรา คุณวัฒน์

การรับราชการ

รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็นพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองแม่ทัพภาคที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับจนกระทั่งวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พลเอกถนอมได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [2] สืบต่อจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ถึงแก่อสัญกรรม

ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พลเอกถนอมได้รับพระราชทานยศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ [3]

และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมได้สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรักษาราชการรองผู้บัญชาการทหารบกโดยเหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว [4]

จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่บริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย จอมพลถนอมได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านในสังคมระยะหนึ่ง ถึงกับมีการอภิปรายในสภาและกังวลกันว่าอาจเป็นชนวนเหตุให้เกิดเหตุร้ายซ้ำอีก[5] ต่อมาเมื่อ 24 มีนาคม จอมพลถนอมจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเพราะแรงกดดันจากสาธารณชน[6]

การเมือง

ไฟล์:Thanom speak.JPG
จอมพลถนอม ปราศรัยออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจได้แก่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพลถนอมนั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพล ถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติรัฐประหารของฝ่ายทหารทวีความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จอมพลถนอมในวัย 65 ปี ได้กลับประเทศไทยอีกครั้งโดยบวชเป็นสามเณร ทำให้นักศึกษาประชาชนได้ออกมาประท้วงขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดรายนี้ เป็นเหตุให้กลุ่มการเมืองอีกฝ่ายที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ฉวยโอกาสก่อรัฐประหารและทำการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก นำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุติการปกครองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา และทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้เผด็จการทหารต่อมาเป็นเวลาปีเศษ

จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี พ.ศ. 2501 สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย


ยศ

  • ร้อยตรี [7]
  • ร้อยโท [8]
  • ร้อยเอก
  • พันตรี
  • พันโท
  • พันเอก
  • พลตรี
  • พลโท
  • พลเอก
  • จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ [9] นายกองใหญ่ [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. http://www.eng.chula.ac.th/index.php?q=th/node/2736
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอน 119 ง พิเศษ หน้า 1 12 ธันวาคม พ.ศ. 2506
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 3 ง หน้า 1 11 มกราคม พ.ศ. 2507
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 87 ง พิเศษ หน้า 2 11 กันยายน พ.ศ. 2507
  5. การเสนอแต่งตั้ง จอมพล ถนอม กิตติขจร และ พลตรี มนูกฤต รูปขจร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ชิงชัย มงคลธรรม; จาตุรนต์ ฉายแสง; อดิศร เพียงเกษ; เปรมศักดิ์ เพียยุระ; ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง; สุรพร ดนัยตั้งตระกูล; นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ; ถาวร เสนเนียม; ไพจิต ศรีวรขาน; สนั่น ขจรประศาสน์; ชวน หลีกภัย; กุศล หมีเทศ; ขจิตร ชัยนิคม http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/52565
  6. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=phonlawat&date=15-12-2007&group=18&gblog=4
  7. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  8. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 3 ง พิเศษ หน้า 1 11 มกราคม พ.ศ. 2507
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/041/4.PDF
  11. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๗๙ เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  12. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี หน้า ๑๔๔๕ เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๔๑ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘
  13. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๑๒๕ เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๕๙ ๓๑ กรกฎาคมคม ๒๔๙๙
  14. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๓๐๔๒ เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ๑๓ ธันวาคมคม ๒๔๙๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๔ ราย), หน้า ๑๐๕, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ หน้า ๒๕ เล่ม ๘๙ ตอน ๙๒ ฉบับพิเศษ, ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑ เล่ม ๗๙ ตอน ๘๓ ฉบับพิเศษ, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑ เล่ม ๘๙ ตอน ๙๙ ฉบับพิเศษ, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/087/3029.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน], เล่ม ๘๖, ตอน ๘๗, ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๒, หน้า ๓๐๒๙
  20. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หน้า ๒๐๘๙ เล่ม ๕๑ ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  21. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน ฉบับพิเศษ หน้า ๙ เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  22. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๑๘๕๓ เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  23. รายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี
  24. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ หน้า ๓๐๔๐ เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๓๙ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  25. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๓๑๔๗ เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๒๒ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๗
  • กองทัพไทย. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล ถนอม กิตติขจร. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547. 435 หน้า. หน้า 39.

http://www.tv5.co.th/web-2018/command/command3.pdf ประกาศแต่งตั้งนายทหารรับราชการกลางปี2562 พลเอก เกริกเกียรติ กิตติขจร หลานจอมพลถนอม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ถนอม กิตติขจร ถัดไป
พจน์ สารสิน ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(1 มกราคม พ.ศ. 250120 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(9 ธันวาคม พ.ศ. 250614 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
สัญญา ธรรมศักดิ์
ศาสตราจารย์ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(8 มกราคม พ.ศ. 2503 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 1
(พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503)
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 2
(พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2512)
สมัยที่ 3
สมัยที่ 2 นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 3
(พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514)
พลเอกบุญเรือน บัวจรูญ
(สมัยที่ 1)