พรรคชาติสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคชาติสังคม
หัวหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เลขาธิการประภาส จารุเสถียร
คำขวัญชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตย สังคม
ก่อตั้ง21 ธันวาคม พ.ศ. 2500
ยุบ20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (0 ปี 303 วัน)
ที่ทำการ580 ซอยสงวนสุข ถนนพระราม 5 สามเสนใน เขตดุสิต กรุงเทพ
สภาผู้แทนราษฎร
57 / 186
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคชาติสังคม ก่อตั้งขึ้นมาหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 เป็นพรรคการเมืองลำดับที่ 7/2500 จดทะเบียนวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2500[1] มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค ได้แก่ พลโทถนอม กิตติขจร, นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เลขาธิการพรรค คือ พลโทประภาส จารุเสถียร

ประวัติ[แก้]

หลังการรัฐประหารครั้งแรกของจอมพลสฤษดิ์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เขาจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ก่อนรัฐประหาร ผู้สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ได้ก่อตั้งพรรคสหภูมิ ซึ่งทางพรรคทำผลงานได้ค่อนข้างน่าผิดหวังโดยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 44 ที่นั่งจากทั้งหมด 160 ที่นั่ง ที่นั่งส่วนใหญ่ตกเป็นของผู้สมัครอิสระ รวมทั้งอดีตสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาหลายคนที่ละทิ้งพรรคแต่ไม่ได้เข้าร่วมกับพรรคสหภูมิ[2]

เพื่อให้ควบคุมรัฐสภาได้สะดวกยิ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์จึงได้ก่อตั้งพรรคชาติสังคม โดยรวมพรรคสหภูมิเข้ากับกลุ่มอดีต ส.ส. ของพรรคเสรีมนังคศิลา โดยจอมพลสฤษดิ์เป็นหัวหน้าพรรค พลโทถนอม กิตติขจร มือขวาของเขา และนายสุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นรองหัวหน้าพรรค และพลโทประภาส จารุเสถียร เป็นเลขาธิการพรรค[3] พรรคยึดคำขวัญ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตย สังคม

อดีตสมาชิกพรรคสหภูมิส่วนใหญ่ไม่พอใจการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เนื่องจากไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มของอดีต ส.ส. พรรคเสรีมนังคศิลา กลุ่มอดีตส.ส.พรรคสหภูมิ 36 คน ลงชื่อในจดหมายประท้วงจอมพลสฤษดิ์ แต่ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนต่อไป การที่นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรีรักษาการลาออก อาจเป็นเพราะไม่ต้องการเป็นหุ่นเชิดของคณะรัฐประหาร[3] พลโทถนอมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ตามคำร้องขอของจอมพลสฤษดิ์ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่บางแสนเพื่อรักษาโรคตับของเขา[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคชาติสังคม
  2. Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, pp. 87–88
  3. 3.0 3.1 Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, p. 88
  4. Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, p. 89

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]