สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
![]() | |||||
ภาพรวม | |||||
เขตอำนาจ | ประเทศสยาม | ||||
ที่ประชุม | พระที่นั่งอนันตสมาคม | ||||
วาระ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480 | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 2 (2476-2477) คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 3 (2477-2480) คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 4 (2480) | ||||
สภาผู้แทนราษฎร | |||||
![]() | |||||
สมาชิก | 156 | ||||
ประธาน | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระยาศรยุทธเสนี ตั้งแต่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ตั้งแต่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 พระยามานวราชเสวี ตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 | ||||
รองประธานคนที่ 1 | พระยาศรยุทธเสนี ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระเรี่ยมวิรัชชพากย์ ตั้งแต่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2477 พระยามานวราชเสวี ตั้งแต่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2478 พระประจนปัจจนึก ตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2479 | ||||
รองประธานคนที่ 2 | พระยาเทพหัสดิน ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 และตั้งแต่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 พระประจนปัจจนึก ตั้งแต่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2477 | ||||
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1 (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480) เป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของไทย ได้มาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งโดยอ้อม สภาชุดแรกนี้อยู่ทำหน้าที่จนครบวาระ สภาพผู้แทนราษฎรไทยชุดถัดไปที่อยู่จนครบวาระโดยไม่ถูกยุบสภาหรือรัฐประหารคือ สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 7 และ 21
ที่มา[แก้]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎร 2 ประเภท คือ[1]
- สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 78 คน
- สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากผู้ที่คณะราษฎรโดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารใช้อำนาจแทนแต่งตั้งขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 78 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ได้กระทำระหว่าง 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476[2] เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยเลือกตั้งผู้แทนตำบลก่อน แล้วผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต โดยให้แต่ละจังหวัดเลือกตั้งผู้แทนราษฎรหนึ่งคน แต่ถ้ามีพลเมืองมากกว่าหนึ่งแสนให้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเพิ่มอีกหนึ่งคนทุก ๆ หนึ่งแสน[1] ถ้ามีเศษตั้งแต่ห้าหมื่นคนให้นับเป็นหนึ่งแสน การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ได้ผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 78 คน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 ชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2480 เพราะถึงคราวออกตามวาระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ประเภทที่ 1[แก้]
![]() ![]() |
มีรายนามดังนี้
พระนคร[แก้]
จังหวัด | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
พระนคร | พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | ![]() |
|
ไต๋ ปาณิกบุตร | ![]() |
||
ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) | ![]() |
ธนบุรี[แก้]
จังหวัด | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
ธนบุรี | ทองอยู่ พุฒพัฒน์ | ![]() |
ภาคกลาง[แก้]
ภาคเหนือ[แก้]
ภาคอีสาน[แก้]
ภาคใต้[แก้]
ภาคตะวันออก[แก้]
ภาคตะวันตก[แก้]
จังหวัด | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กาญจนบุรี | นายดาบยู่เกียง ทองลงยา | ![]() |
|
ตาก | พระประนาทกรณี (ถม อินทรสูต) | ![]() |
|
ประจวบคีรีขันธ์ | มิ่ง เลาห์เรณู | ![]() |
|
เพชรบุรี | แข ยูนิพันธ์ | ![]() |
|
ราชบุรี | กิมเส็ง (โกศล) สินธุเสก | ![]() |
ประเภทที่ 2[แก้]
![]() ![]() |
ผู้ดำรงตำแหน่ง[แก้]
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (ลาออก พ.ศ. 2477) พลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี ดำรงตำแหน่งแทน (ลาออก พ.ศ. 2477) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ดำรงตำแหน่งแทน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง พลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี (ออกจากตำแหน่ง พ.ศ. 2477) พลโทพระยาเทพหัสดิน ดำรงตำแหน่งแทน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง พลโทพระยาเทพหัสดิน (ออกจาตำแหน่ง พ.ศ. 2477)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475ราชกิจานุเบกษา เล่ม 49 วันที่ 21 ธันวาคม 2475 หน้า 554
- ↑ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 พุทธศักราช 2476ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 วันที่ 14 มิถุนายน 2476 เล่ม 355
- ↑ ประกาศการแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ 4.0 4.1 ประกาศการแต่งตั้ง 27 ธันวาคม 2477