วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
ชื่อย่อ | วพบ.ทบ. / RTANC |
---|---|
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี) |
สังกัดการศึกษา | กรมแพทย์ทหารบก |
ผู้อำนวยการ | พล.ต.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง |
ที่ตั้ง | |
สถาบันสมทบของ | มหาวิทยาลัยมหิดล |
เว็บไซต์ | www |
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าฯ กรมแพทย์ทหารบก และเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล[1]
ประวัติ
[แก้]ช่วงหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพบกและประเทศชาติ ขาดบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้บริการสุขภาพแก่ทหาร และประชาชน จึงได้ก่อตั้ง "โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก" เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2506 เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพกองทัพบก โดยให้เป็นหน่วยงานในสังกัดของโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก และได้เปิดรับนักเรียนพยาบาลเป็นรุ่นแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตร เมื่อปี พ.ศ. 2507 จำนวน 37 นาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองนักเรียนพยาบาล" ในกรมนักเรียน รร.เสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก และ พ.ศ. 2527 ได้รับการยกวิทยาฐานะเป็น "วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก" ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าฯ กรมแพทย์ทหารบก ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จะได้การแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่ร้อยตรีหญิง" และปี พ.ศ. 2528 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาเปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล อีกหนึ่งหลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะกาล ผู้สำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "สิบตรีหญิง"
หลักสูตร
[แก้]- หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย เทียบเท่าอนุปริญญา(3 ปี 6 เดือน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 บรรจุและได้รับการประดับยศเป็นว่าที่ร้อยตรีหญิง
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (4 ปี) โดยเป็นสถาบันสมทบกับ มหาวิทยาลัยมหิดล และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถมีสิทธิขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และว่าที่ร้อยตรีหญิง
- หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (1 ปี)
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (4 ปี) โดยเป็นสถาบันสมทบกับ มหาวิทยาลัยมหิดล และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถมีสิทธิขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และว่าที่ร้อยตรีหญิง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ การรับวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล:http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/109/30.PDF