ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
สถาบันหลักมหาวิทยาลัยมหิดล
สถาปนา2 ตุลาคม พ.ศ. 2540; 27 ปีก่อน (2540-10-02)
ผู้อำนวยการอดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ที่อยู่999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เว็บไซต์cf.mahidol.ac.th

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น “สถาบันแห่งชาติ” ด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวหนึ่งเดียวของประเทศ เน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งในกระบวนการวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย

ประวัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2533 สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(World Summit for Children) และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2534 รัฐบาลไทยได้ลงนามรับรองปฏิญญาระดับโลกว่าด้วยความอยู่รอดของเด็กและการปกป้องและพัฒนาเด็ก [1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กของประเทศไทยซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติ สำหรับพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการสนองนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ในแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเสนอเป็นแกนจัดตั้ง "สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว" สำหรับพัฒนาวิชาการเรื่องเด็กและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมเพื่อเพิ่มพลังแก่ครอบครัว โดยจัดการศึกษาวิจัยพัฒนาและผลิตบุคลากรระดับต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กและครอบครัวตลอดจนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมวัฒนธรรมและสภาวะโลก

โครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้รับอนุมัติในหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ให้เป็นโครงการใหม่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการในระดับชาติในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ดำเนินการศึกษาวิจัยและผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างผสมผสาน โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษา อบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น ปีพ.ศ. 2538-2539 และตอบสนองแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็ก ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กของประเทศไทยในรอบ 10 ปี(พ.ศ. 2535 - 2544) ซึ่งระบุว่าเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 7 จะมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาเด็กเป็นเป้าหมายสนับสนุนข้อที่ 16 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนฯ 8 และต่อไป

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่คณะกรรมการนโยบายระดับชาติ

ต่อมา วันที่ 2 ตุลาคมพ.ศ. 2540 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งเป็น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ทำหน้าที่วิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย [2]


ทำเนียบผู้อำนวยการ

[แก้]
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี 9 เมษายน พ.ศ. 2541 - 8 เมษายน พ.ศ. 2545 (วาระที่ 1)

9 เมษายน พ.ศ. 2545 - 8 เมษายน พ.ศ. 2549 (วาระที่ 2)

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร 9 เมษายน พ.ศ. 2549 - 8 เมษายน พ.ศ. 2553
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี 9 เมษายน พ.ศ. 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2557 (วาระที่ 1)

9 เมษายน พ.ศ. 2557 - 3 เมษายน พ.ศ. 2561 (วาระที่ 2) [3]

4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ 8 เมษายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน [4]

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ระดับปริญญามหาบัณฑิต

[แก้]

เปิดสอนจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (โครงการร่วมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)



อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
  2. ราชกิจจานุเบกษา ,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540
  3. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 5/2557,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[ลิงก์เสีย], 3 มีนาคม พ.ศ. 2557
  4. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 16/2561,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เก็บถาวร 2018-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 มีนาคม พ.ศ. 255761


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]