คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Faculty of Medical Technology, Mahidol University | |
สถาปนา | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2500 |
---|---|
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณบดี | โชติรส พลับพลึง |
ที่อยู่ | คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณโรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
สี | สีแดงเลือดนก |
เว็บไซต์ | mt |
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะเทคนิคการแพทย์คณะแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดสอนในหลักสูตรเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการเทคนิคการแพทย์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีการศึกษา 2544 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคนิคการแพทย์) แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและ ในปีการศึกษา 2545 ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคนิคการแพทย์) แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังความปลาบปลื้มมาสู่คณาจารย์ และนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์อย่างมาก
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2487 คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในด้านการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ แต่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2โครงการดังกล่าวจึงต้องระงับไป
- พ.ศ. 2497 มหาวิทยาลัยได้เริ่มร่างหลักสูตร โดยใช้แบบอย่างหลักสูตรที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้มีการดำเนินการและเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่เริ่มแรก
- พ.ศ. 2499 ได้เริ่มการก่อสร้าง "โรงเรียนเทคนิคการแพทย์" ขึ้น โดยใช้พื้นที่ภายในโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต่อมาจึงมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง “โรงเรียนเทคนิคการแพทย์” สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ เพื่อการเรียนการสอนสำหรับการผลิตนักเทคนิคการแพทย์ และเพื่อบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [1]
- พ.ศ. 2500 เมื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มีการอนุมัติหลักสูตรเทคนิคการแพทย์แล้วเสร็จ จึงมีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง “คณะเทคนิคการแพทย์” ขึ้นอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งมีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยในระยะแรกนั้นคณะเทคนิคการแพทย์จัดการเรียนการสอนเพียงระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เท่านั้น [2]
- พ.ศ. 2508 จัดตั้ง "โรงเรียนรังสีเทคนิค" ขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรด้านรังสีวิทยา โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนรังสีเทคนิคแห่งแรกในประเทศไทย ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิคนี้ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ได้แต่งตั้งให้นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้
- พ.ศ. 2511 คณะเทคนิคการแพทย์จัดหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรของโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคตามความต้องการของประเทศ
- พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระราชทานนามเป็น“มหาวิทยาลัยมหิดล” สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย คณะเทคนิคการแพทย์ จึงเป็นคณะหนึ่งที่สังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดลนี้ด้วย
- พ.ศ. 2514 โรงเรียนรังสีเทคนิคได้เปิดหลักสูตร 2 ปี สำหรับพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประเทศ
- พ.ศ. 2526 คณะฯ เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์
- พ.ศ. 2538 คณะฯ เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ขึ้น นับได้ว่า เป็นการศึกษาระดับสูงสุดในวิชาการเทคนิคการแพทย์ และเป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค
- พ.ศ. 2541 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกให้เป็นหลักสูตรนานาชาติ โดยคณะฯ มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการและ มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งต่างประเทศและในประเทศ อาทิ Lund University ประเทศสวีเดน, Muenster University ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, University of Kentucty ประเทศสหรัฐอเมริกา, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น [3]
หน่วยงานและหลักสูตร
[แก้]หน่วยงาน
[แก้]
|
|
หลักสูตร
[แก้]หน่วยงาน[4] | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|---|
ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกและเทคโนโลยีประยุกต์ ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชน |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชารังสีเทคนิค |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
- |
อื่นๆ |
โครงการพิสิฐวิธาน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรฝึกอบรม หลังปริญญาเอก หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นระดับชาติและนานาชาติ |
ที่ตั้ง
[แก้]คณะเทคนิคการแพทย์ มีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง ได้แก่
- คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล เลขที่ 2 ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
- อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ ม.มหิดล ศาลายา ถ.พุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม 73170
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, ตอน ๔๐ ก, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๖๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๐, เล่ม๗๔, ตอน ๖๐ ก, ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐, หน้า ๑๑๔๓
- ↑ ประวัติคณะ
- ↑ หลักสูตรในคณะเทคนิคการแพทย์