ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ชื่อย่อ(แต่ละแห่งใช้ต่างกัน) / RU
ประเภทมหาวิทยาลัยของรัฐ
สถาปนาโรงเรียนฝึกหัด
12 ตุลาคม พ.ศ. 2435
– 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (67 ปี)
วิทยาลัยครู
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503
– 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (31 ปี)
สถาบันราชภัฏ
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
– 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (12 ปี)
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (20 ปีก่อน) (2547-06-15)

มหาวิทยาลัยราชภัฏ (อังกฤษ: Rajabhat University; อักษรย่อ: RU) เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเทศ

ประวัติ

[แก้]

ยุคโรงเรียนฝึกหัด

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพัฒนามาจาก "โรงเรียนฝึกหัด" เช่น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์, โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑล โดยก่อเกิดดังนี้

หลักจากมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว ทำให้โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑล เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัด" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู (ต่อท้ายด้วยจังหวัดที่ตั้ง)" พร้อมขยายการก่อตั้งโรงเรียนออกไปยังภูมิภาคมากขึ้น

ยุควิทยาลัยครู

[แก้]

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะ โรงเรียนฝึกหัดครู เป็น "วิทยาลัยครู"  พร้อมกับเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตรปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู โดยกำหนดในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักศึกษาถึงระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์ หลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู

— พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

โดยมีวิทยาลัยครู จำนวน 17 แห่ง ได้แก่[5]

ยุคนามพระราชทาน "สถาบันราชภัฏ"

[แก้]

ในเวลาต่อมา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[6] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครู เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏตั้งแต่บัดนั้น ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นล้นพ้นด้วยทรงพระเมตตา ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็น "สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ" นับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลจักได้ภาคภูมิใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณให้เต็มความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู[7] และทำให้สถาบันราชภัฏ เปิดทำการสอนในาขาวิชาอื่นๆ นอกจากสาขาการศึกษาตั้งแต่นั้นมา

ยุคปฏิรูปการศึกษา

[แก้]

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้อนุมัติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่งตามโครงการ 1 ใน 5 โครงการสถาบันราชภัฏเพิ่มในระยะแรก โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชากรในระดับภูมิภาค ได้แก่

  1. สถาบันราชภัฏชัยภูมิ
  2. สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ
  3. สถาบันราชภัฏนครพนม 
  4. สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ 
  5. สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด

ยุคมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

[แก้]

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547[8] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และมีภารกิจและปณิธานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[9]

มาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

วันราชภัฏ

[แก้]

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันราชภัฏ" สืบเนื่องจาก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัย และถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยเช่นกัน

คำว่า "ราชภัฏ" ให้ความหมายที่กินใจความว่า "คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน" หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ "การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ" ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน"

เนื่องในวันราชภัฏ ในทุก ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่าง ๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ "ชาวราชภัฏ" หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฏจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น "ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง" และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุก ๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม " ราชภัฏ " และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม " ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา "

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ

  1. เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน
  2. เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
  3. สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้
  • ██ สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
  • ██ สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • ██ สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • ██ สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ██ สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ

[แก้]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งหมด 38 แห่งโดยแบ่งตามการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของกลุ่ม ดังนี้[10]


องค์กรเกี่ยวกับนักศึกษา

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

เป็นองค์กรของนักศึกษาที่ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โดยสมาพันธ์ฯ มีหน้าที่มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง และพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มนักศึกษาเป็นสำคัญ โดยสมาพันธ์ฯ ประกอบไปด้วย ประธานสภานักศึกและนายกองค์การนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  5. พระราชกฤษฎีกายกฐานะสถาบันฝึกหัดครูเป็นวิทยาลัยครู ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/004/1.PDF
  7. พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00141755.PDF
  9. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
  10. กุมารี วัชชวงษ์ ,อักษรย่อมหาลัยราชภัฏ ชื่อที่ตั้งไว้แต่ไม่มีคนรู้จัก, หนังสือพิมพ์ข่าวสด, วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  11. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548
  12. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ๒๕๕๘, ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2558
  13. [1] ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558