สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
มหาวิทยาลัยมหิดล
Research Institute for Languages and Cultures of Asia,
Mahidol University
สถาปนา29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. มรกต ไมยเออร์
ที่อยู่
วารสารวารสารภาษาและวัฒนธรรม (Journal of Language and Culture)
สี  สีเขียวตองอ่อน
เว็บไซต์lc.mahidol.ac.th

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต รวมจำนวน 7 หลักสูตร และจัดการวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงและพัฒนาด้านภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์

ประวัติ[แก้]

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2517 มีฐานะเป็น "โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์" ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นความจำเป็นของการผลิตนักวิชาการที่มีความรู้และความเข้าใจวิธีการทางภาษาศาสตร์ ในอันที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร การทำความเข้าใจกับผู้คนที่มีเชื้อสาย เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและการพูดแตกต่างจากคนไทยโดยทั่วไป ไม่ว่าภาษาเหล่านี้จะเป็นภาษากลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศ หรือภาษาของผู้คนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์แห่งนี้มี ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล เป็นผู้ก่อตั้งและเป็น ผู้อำนวยการคนแรก มีที่ทำการอยู่ที่อาคารอำนวยการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท" โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล [1] และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

โดยในระยะแรกมีที่ทำการสถาบันฯ ณ อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อาคารเรียนรวมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จนเมื่อการก่อสร้างอาคารของสถาบันฯ แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2542 จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งนอกจาก อาคารดังกล่าวแล้วสถาบันฯ ยังมีอาคารเรือนไทย (ระเบียบ คุณะเกษม) ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดมา [2]

ทำเนียบผู้อำนวยการ[แก้]

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล พ.ศ. 2524พ.ศ. 2531
2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล พ.ศ. 2531พ.ศ. 2536
3. ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล พ.ศ. 2536พ.ศ. 2544
4. ศาสตราจารย์ ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ พ.ศ. 2544พ.ศ. 2548
5. รองศาสตราจารย์ ดร. โสภนา ศรีจำปา พ.ศ. 2548พ.ศ. 2552
6. ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา พ.ศ. 2552พ.ศ. 2553
7. รองศาสตราจารย์ดวงพร คำนูณวัฒน์ พ.ศ. 255330 กันยายน พ.ศ. 2555
8. รองศาสตราจารย์ ดร. โสภนา ศรีจำปา 1 ตุลาคม พ.ศ. 255530 กันยายน พ.ศ. 2559 [3]
9. รองศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563 [4]
10. รองศาสตราจารย์ ดร. มรกต ไมยเออร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ปรัชญา[แก้]

ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ระดับปริญญาเอก[แก้]

เปิดสอนจำนวน 3 หลักสูตร คือ

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

ระดับปริญญาโท[แก้]

เปิดสอนจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา

การวิจัยและพัฒนาภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์[แก้]

ข้อมูลที่ https://lc.mahidol.ac.th

การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[แก้]

สถาบันฯ จัดให้มีการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ อันเกี่ยวของกับภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น

  • สวนศิลาจารึก
  • แผนที่ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
  • พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
  • ศูนย์การแปลและบริการด้านภาษา
  • ศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต
  • ศูนย์ภารตะศึกษา
  • ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมดนตรีไทยและเอเชียอาคเนย์
  • ศูนย์บริการวิชาการภาษาและวัฒนธรรมเอเชียเพื่อพัฒนา ณ อาคารเรือนไทย (ระเบียบ คุณะเกษม)
  • สำนักงานบริการข้อมูลภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์
  • ห้องสมุดสถาบันฯ

เกี่ยวกับสถาบันฯ[แก้]

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอนชั้นนำ ในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและภาควิชาในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2524,5 สิงหาคม พ.ศ. 2524
  2. "เกี่ยวกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2016-12-01.
  3. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 38/2555,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[ลิงก์เสีย], 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  4. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 29/2559,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[ลิงก์เสีย], 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

  • พันแสงรุ้ง สารคดีโทรทัศน์ที่ผลิตโดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่นจำกัด และ ทีวีไทย