โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ | |
---|---|
Siriraj Piyamaharajkarun Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย |
ที่ตั้ง | 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 |
วันเปิดทำการ | 26 เมษายน พ.ศ. 2555 |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้อำนวยการ | ศ.คลินิก นพ.ชาญ ศรีรัตนสถาวร |
จำนวนเตียง | 345[1] |
เว็บไซต์ | SiPH hospital |
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 มติที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14/2546 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 และมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 ให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้สิทธิเหนือพื้นดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่เชื่อมคลองบางกอกน้อย รวมเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา หรือ 53,976 ตารางเมตร[2]
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) เขตบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 และพระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ [3]
ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ชื่อย่อ “SiPH” และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสถาบันการแพทย์ และลานพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่เนื่องจากมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 59 ทำให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
ข้อมูลโรงพยาบาล
[แก้]ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ประกอบด้วยอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ เป็นอาคารสูง 14 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับบริการตรวจรักษาประมาณ 165,270 ตารางเมตร และสถาบันการแพทย์ชื่อว่า สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ในโรงพยาบาลฯ ประกอบไปด้วย[4]
- ห้องบริการผู้ป่วยนอก 177 ห้อง (4 ประเภทห้อง)
- ห้องผ่าตัด 17 ห้อง
- ห้องผู้ป่วย 284 ห้อง
- หอผู้ป่วยวิกฤติ 61 ห้อง
- พื้นที่จอดรถมากกว่า 1,000 คัน
- ลานจอดเฮลิคอปเตอร์รับส่งทางการแพทย์
- เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง
- ศูนย์รักษาโรคครบวงจร
ใช้งบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท
บริการทางการแพทย์
[แก้]
|
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://gishealth.moph.go.th/healthmap/gmap.php#result
- ↑ http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=520[ลิงก์เสีย] ศิริราชและการรถไฟฯ ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช 29/01/2553
- ↑ http://www.siphhospital.com/th/about-us/history.php เก็บถาวร 2015-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความเป็นมาของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- ↑ บริการสำหรับผู้ป่วย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์