สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประเภทรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2541
สถาบันหลักมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[1]
สังกัดวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คณบดีผศ.ดร. อุไร จเรประพาฬ
ที่ตั้ง
เว็บไซต์nurse.wu.ac.th

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: School of Nursing, Walailak University) เป็นหนึ่งในสำนักวิชา ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2] สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล โดยผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิสมัครสอบรับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล[3]

ซึ่งใน พ.ศ. 2563 ได้มีบัณฑิตจากสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สอบการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านเป็นอันดับ 6 จาก 95 สถาบันทั่วประเทศ[4]

ประวัติ[แก้]

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ได้เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยรับนักศึกษารุ่นแรกใน พ.ศ. 2541 เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทย[5]

ครั้นเมื่อมีการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการ มุ่งเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุก และวางกลยุทธ์พัฒนาสุขภาพแนวใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ซึ่งทีมสุขภาพได้คำนึงปัญหาทุกด้านของผู้ป่วยทั้งร่างกาย, จิตใจ, อารมณ์ และสังคม โดยให้บริการทั้งในระดับปฐมภูมิ, ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมถึงให้การดูแลสุขภาพที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างต่อเนื่อง[5]

ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรทางการพยาบาลได้อาศัยความรู้การพยาบาล มาใช้ร่วมกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ, สังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เพื่อเตรียมบุคลากรทางการพยาบาลให้มีความสามารถด้านบริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ[5]

และ พ.ศ. 2563 บัณฑิตจากสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่าน 95.71 เปอร์เซ็นต์[6] ซึ่งอยู่ในอันดับ 6 จาก 95 สถาบันทั่วประเทศ[4]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

ใน พ.ศ. 2564 เครือข่ายจากสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ลงพื้นที่ดูแลจิตใจเด็ก, เยาวชน, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ซึ่งมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยสามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายได้มากขึ้น[7][8]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]