คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Engineering, Mahidol University | |
คติพจน์ | นายช่างของแผ่นดิน |
---|---|
สถาปนา | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณบดี | ธนภัทร์ วานิชานนท์ |
ที่อยู่ | |
สี | สีเลือดหมู |
เว็บไซต์ | www |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมและส่งเสริมงานวิจัยค้นคว้าทางวิศวกรรม ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลต้องการขยายการศึกษาให้กว้างขวางมากขึ้น โดยมีผลงานเด่น คือ หุ่นยนต์สำรวจขั้วโลกใต้[1]
ประวัติ
[แก้]คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งสืบเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่มีโครงสร้าง ปัจจัยพื้นฐาน ศักยภาพขีดความสามารถ และความพร้อม เปิดสอนในสาขาวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรให้เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น จึงพิจารณาว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีความพร้อม ที่จะเปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี จึงได้เริ่มดำเนินการเป็นลำดับดังนี้ พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 สภามหาวิทยาลัยดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี จัดทำโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
18 มกราคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยจัดทำรายละเอียด "โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์" และร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 สาขา คือ วิศวกรรมเครื่องกล , วิศวกรรมเคมี , วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอุตสาหการ เสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยมี ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นประธาน
18 ธันวาคม พ.ศ. 2532 สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติเห็นชอบ การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และการแบ่งส่วนราชการ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และการแบ่งส่วนราชการ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อในสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 [2]
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคณบดีท่านแรก คือ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ผู้มีวุฒิปริญญาตรีและโททางวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาเอกทางวิศวกรรมโยธา (แหล่งน้ำ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2533 โดยรับนักศึกษารุ่นแรกในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมอุตสาหการ จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยในช่วงแรกได้อาศัยอาคารโรงประลองของ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี 2536 กลุ่มอาคารอำนวยการ (อาคาร 1) อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (อาคาร 2) ก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถใช้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ
ต่อมายังได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาโดยมีอาคารเรียนและปฏิบัติการหลังใหม่ (อาคาร 3) ในปี2542 นอกเหนือจากความพร้อมด้านอาคารสถานที่แล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมอีกนับเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท นับจากอดีตซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพียง 4 หลักสูตร และมีนักศึกษารุ่นแรกเพียง 40 คน [3] จนในปัจจุบันแต่ละปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก
ทำเนียบคณบดี
[แก้]ตั้งแต่เปิดทำการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณบดีดำรงตำแหน่งตามลำดับต่อไปนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (รักษาการ) | 6 กันยายนพ.ศ. 2533 - 27 มีนาคมพ.ศ. 2534 | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน | 28 มีนาคมพ.ศ. 2534 - 27 มีนาคมพ.ศ. 2538 | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เธียรไชย จิตต์แจ้ง , รองศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร (รักษาการ) |
28 มีนาคมพ.ศ. 2538 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2538 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2538 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2542 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2542 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2546 | |
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2546 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2550 | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2550 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2554 | |
8. อาจารย์ วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2554 - 26 กรกฎาคมพ.ศ. 2558[4] | |
9. รองศาตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2558 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 [5] | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
การเรียนการสอน
[แก้]ปริญญาตรี
[แก้]- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ( Bachelor of Engineering Program, B.Eng.)
|
|
ปริญญาโท
[แก้]- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Engineering Program, M.Eng.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องรับรู้
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (หลักสูตรภาคพิเศษ)
- สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
- สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มวิชาโลจิสติกส์การดูแลสุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science Program, M.Sc.)
- สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
ปริญญาเอก
[แก้]- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy Program, Ph.D.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตร
[แก้]หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก | |
---|---|---|---|---|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
||
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
หลักสูตวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
||
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
||
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
กลุ่มสาขาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ เก็บถาวร 2016-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
| ||
กลุ่มสาขาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|||
หลักสูตรอื่นๆ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""ไทยเอ็กซ์โพล"..หุ่นยนต์ดำน้ำตะลุยขั้วโลกใต้". สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา , พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 18/2554,แต่งตั้งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย] , 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 27/2558,แต่งตั้งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย] , 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2019-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สำนักงานเครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์(Bart lab)
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) มหาวิทยาลัยมหิดล