คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
![]() | |
คำขวัญ | ทันตแพทยศาสตร์มหิดลเพื่อประชาชน |
---|---|
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Dentistry, Mahidol University |
ที่อยู่ | 6 ถนนโยธี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 |
วันก่อตั้ง | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 |
คณบดี | รศ. ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ |
วารสาร | วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล |
สีประจำคณะ | สีม่วง |
เว็บไซต์ | dt.mahidol.ac.th |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดิมมีชื่อว่า คณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2511 เพื่อเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในขณะนั้น โดยขยายมาจากคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่ถนนอังรีดูนังต์
ในวันที่ 2 มีนาคม 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยมหิดลแทน ทำให้ชื่อของคณะเปลี่ยนเป็น คณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งใน พ.ศ. 2516 ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ อนุมัติให้ตัดคำว่า "พญาไท" ท้ายคำของคณะออก จึงได้ใช้ชื่อว่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะได้มีคณบดีบริหารมาแล้ว 8 ท่าน ท่านแรก คือ ศ.ทพ.อิศระ ยุกตะนันทน์ ส่วนท่านปัจจุบัน คือ รศ. ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ
ประวัติ[แก้]
- 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ในสังกัดกระทรวงการสาธารณสุข
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท ขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในขณะนั้น [1]
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระราชทานนาม "มหิดล" เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยตามพระนามาภิไธยในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โอนคณะทันตแพทยศาสตร์ในเขตปทุมวัน ไปขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาจนถึงปัจจุบัน[2]
ทำเนียบคณบดี[แก้]
ตั้งแต่เปิดทำการสอน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณบดีดำรงตำแหน่งในสังกัดต่างๆของคณะ ตามลำดับต่อไปนี้[3]
คณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทพ. อิสระ ยุกตะนันทน์ | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2524 | |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
2. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทพ. พิสุทธิ์ สังขะเวส | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529 | |
3. รองศาสตราจารย์ ทพญ. นิสา เจียรพงศ์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2529 - 17 มกราคม พ.ศ. 2533 (วาระที่ 1) | |
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทพ. สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2537 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ทพ. สุขุม ธีรดิลก | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 | |
6. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทพญ. จุไร นาคะปักษิณ | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547 | |
7. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ดร. ทพญ. ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร | พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551 (วาระที่ 1) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 (วาระที่ 2) | |
8. ศาสตราจารย์คลินิก ทพ. พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
9. ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.วรานันท์ บัวจีบ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน |
ภาควิชา[แก้]
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 15 ภาควิชา และ 2 โรงเรียน ดังนี้
- ภาควิชา
|
|
- โรงเรียน
- โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม
- โรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์
- โรงเรียนทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ
หลักสูตร[แก้]
คณะทันตแพทยศาสตร์ได้ดำเนินงานตามภารกิจในการผลิตบุคลากรด้านทันตกรรมให้แก่สังคมไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวที่ผลิตบุคลากรทางทันตกรรมทุกระดับ โดยจำแนกเป็นหลักสูตรตามระดับการศึกษาได้ ดังนี้
ประกาศนียบัตร
- หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ใช้เวลาเรียน 1 ปี[5]
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม ใช้เวลาเรียน 2 ปี[6]
ปริญญาตรี
- หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ ใช้เวลาศึกษา 6 ปี
- หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาเรียน 6 ปี โดยรับนักศึกษาทันตแพทย์ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 120 คนต่อปี[7]
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทันตกรรม (ต่อเนื่อง 2 ปี)[8]
ปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก
- สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน
- สาขาวิชาทันตกรรมรากเทียม
- สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ (9 วิชาเอก)
- การประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร
- ทันตกรรมชุมชน
- ทันตกรรมสำหรับเด็ก
- เวชศาสตร์ช่องปาก
- ทันตกรรมทั่วไป
- ศัลยศาสตร์ช่องปากฯ
- รังสีวิทยาช่องปากฯ
- วิทยาเอ็นโดดอนต์
- ทันตกรรมประดิษฐ์
ปริญญาโท หลักสูตรปกติ
- สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
- สาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป
- สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ
ปริญญาเอก หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก
- สาขาวิชาทันตชีววัสดุศาสตร์
ประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาวิชาการประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง หลักสูตรนานาชาติ
- สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ทันตกรรมรากเทียม
ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง หลักสูตรปกติ
- สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มี 9 วิชาเอก
- ทันตกรรมหัตถการ
- วิทยาเอ็นโดดอนต์
- ทันตกรรมสำหรับเด็ก
- ปริทันตวิทยา
- เวชศาสตร์ช่องปาก
- ทันตกรรมทั่วไป
- ศัลยศาสตร์ช่องปากฯ
- รังสีวิทยาช่องปากฯ
- วิทยาระบบบดเคี้ยว
โรงพยาบาล[แก้]
การวิจัย[แก้]
สำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน (ISO/IEC 17025: 2005) จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัย (สมป.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข)[9]
รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025: 2005 วัสดุทางทันตกรรม (1)
- ประเมินความเป็นพิษของวัสดุทางทันตกรรมโดยวิธี Agar overlay : ISO 7405: 2008(E)
วัสดุทางทันตกรรม (1)
- ประเมินความเป็นพิษของวัสดุทางทันตกรรมโดยวิธี MTT : ISO 10993-5: 2009(E),ISO 10993-12: 2007(E)
หมายเหตุ (1) ซีเมนต์ ซีเมนต์อุดคลองรากฟัน วัสดุจัดฟัน วัสดุอุดฟัน วัสดุบูรณะฟัน วัสดุอุดย้อนปลายราก สารสกัดสมุนไพรทางทันตกรรม และผลิตภัณฑ์สุขภาพช่องปาก
ปัจจุบันสำนักงานการวิจัย มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับงบประมาณจัดสรรสำหรับบริการนักวิจัย ดังนี้
- Micro CT Scan เป็นเครื่องถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan) ขนาดเล็ก โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ที่รวดเร็วและได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากกว่าการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ด้วยฟิล์ม เนื่องจากการถ่ายแบบ CT-Scan จะสามารถจำลองข้อมูลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ อีกทั้งยังสามารถดูภาพเอ็กซ์เรย์ในหน้าตัดอื่นๆได้แม้จะทำการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพียงครั้งเดียว ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
- Laser Micro dissection เป็นเครื่องตัดเลือกเซลล์หรือเนื้อเยื่อเฉพาะส่วนจากตัวอย่างที่ต้องการนำไปทดสอบด้วยกระบวนการอื่นๆ เพื่อการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล เช่น DNA RNA และ Proteomics หรือในเซลล์เพาะเลี้ยง หรืองานทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ โดยอาศัยลำแสงเลเซอร์ สามารถตัดตัวอย่างได้สะดวก แม่นยำและปราศจากการปนเปื้อนแม้เพียงเซลล์เดียวในเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้กับตัวอย่างสด ตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการตรึงด้วยพาราฟิน หรือแช่แข็ง ตัวอย่างฟิล์มเลือด โครโมโซม และเซลล์จากการเพาะเลี้ยงที่อยู่ในอาหารเหลว โดยไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ไม่ทำลายชีวโมเลกุลที่ต้องการศึกษาได้แก่ DNA RNA และโปรตีน มีความแม่นยำ โดยการเลื่อนแท่นวางตัวอย่างผ่านลำแสงเลเซอร์ ซึ่งตรึงอยู่กับที่ด้วยความแม่นยำสูงกว่า 1 ไมโครเมตร และขนาดของลำแสงเลเซอร์ที่ใช้ตัดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ไมโครเมตร เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 100 เท่า
เครือข่ายนานาชาติ[แก้]
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความร่วมมือ ภายใต้สัญญาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชากร(MOU) กับสถาบันนานาชาติ จำนวน 23 สถาบัน ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา และการวิจัย ดังนี้
- Jigme Dorji Wangchuck National Referral Hospital (Bhutan)
- Faculty of Odonto-Stomatology, University of Health Sciences (Cambodia)
- Faculty of Dentistry, International University (Cambodia)
- Chang Gung Health and Culture Village, Chang Gung Medical Foundation (Taiwan R.O.C. China)
- Chang Gung Craniofacial Research Center Chang Gung Medical Foundation (Taiwan R.O.C. China)
- School of Stomatology, Kunming Medical University (PR. China)
- International Medical College (Germany)
- Faculty of Dentistry, University of Hong Kong (Hong Kong SAR)
- Faculty of Dentistry, University of Indonesia (Indonesia)
- Faculty of Dentistry, Graduate School, Tokyo Medical and Dental University (Japan)
- The Nippon Dental University, School of Life Dentistry, Tokyo and Niigata (Japan)
- Faculty of Dentistry, Hiroshima University (Japan)
- Faculty of Dentistry, Okayama University (Japan)
- School of Dentistry, Osaka University (Japan)
- College of Dentistry, Yonsei University (Korea)
- University of Health Sciences, Faculty of Dentistry (Lao PDR)
- Faculty of Odonto-Stomatology, University of Medical Sciences, Ho Chi Minh City (Vietnam)
- Hanoi Medical University, School of Odonto-Stomatology, Hanoi City (Vietnam)
- Faculty of Dentistry, Can Tho University of Medicine and Pharmacy, Can Tho City (Vietnam)
- Lutheran Medical Center (USA)
- Tufts University School of Dental Medicine (USA)
- University of Pennsylvania School of Dental Medicine (USA)
- Indiana University School of Dentistry (USA)
อีกทั้งเป็นสมาชิกของ South-East Asia Association for Dental Education (SEAADE) และเป็นสถาบันแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการประเมินโดย SEAADE Peer Review and Consultation Visitation ในปี พ.ศ. 2550
รวมถึงเป็นสมาชิกของ International Association for Dental Research (IADR) เพื่อดำเนินโครงการและร่วมประชุมระดับนานาชาติกับประเทศสมาชิกในทุก ๆ ปี พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของศูนย์ความร่วมมือทางทันตแพทย์นานาชาติในแถบลุ่มแม่น้ำโขง International Dental Collaboration of the Mekong River Region (IDCMR) ซึ่งมีสมาชิกเครือ
ข่ายจากสถาบันในราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหภาพพม่า ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ประชาชนของประเทศในแถบแม่น้ำอิรวดีเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขง
นอกจากนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ยังเป็นสมาชิก WHO NEW-CCET โดยเป็น National Center of Expertise on Dental Education ศูนย์เชี่ยวชาญทางทันตสุขศึกษาแห่งชาติอีกด้วย
การบริการทางทันตกรรม[แก้]
ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ ณ วิทยาเขตพญาไท[10] และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา[11] ประกอบด้วย 4 อาคาร ที่เพียบพร้อมด้วย ห้องเรียน , ห้องปฏิบัติการ , คลินิกเฉพาะทาง 13 คลินิก 2 ศูนย์ สำหรับให้บริการทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปาก รังสีวิทยา ทันตกรรมจัดฟัน เวชศาสตร์ ช่องปากและปริทันตวิทยา ทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมสำหรับเด็ก และประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร อีกทั้งยังมียูนิตทำฟัน 620 ยูนิต สำหรับระบบการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาทันตแพทย์ได้นำความรู้จากภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติงานจริง โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและเริ่มดำเนินการนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรประกอบด้วย 12 คลินิก และห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม ให้บริการด้านทันตกรรมทุกแผนกด้วยเป้าหมายที่ต้องการเป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง พร้อมให้การบริการรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในและนอกเวลาราชการ
พิพิธภัณฑ์[แก้]
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดพิพิธภัณฑ์ทางทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเฉลียวอยู่วิทยานุสรณ์เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ “สิรินธรทันตพิพิธ” เพื่อร่วม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา และเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างยั่งยืนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า “สิรินธรทันตพิพิธ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 [12]
“สิรินธรทันตพิพิธ” มีเนื้อที่ทั้งหมด 620 ตารางเมตร ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
- พื้นที่อเนกประสงค์ภายใต้ชื่อใต้ร่ม พระบารมีจักรีวงศ์ เป็นโซนที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ไทยที่มีต่อคณะทันตแพทย์ศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ยุคแรกเริ่มในทวีปเอเชีย บอกเล่าเรื่องราวการรักษาฟันทั้งในจีน อินเดียและไทย
- คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตสู่ปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวถึงการเรียน ของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย
- หน่วยทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บอกเล่า เรื่องราวการจำลองภาพแบบสามมิติในการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร และส่วนสุดท้าย
- ห้องทันตสุขภาพสำหรับทุกคน ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฟันตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีภาพแอนิเมชั่น ประกอบบอกเรื่องราวเปิดให้มีการซักถามของบุคคลทั่วไป
“สิรินธรทันตพิพิธ” ตั้งอยู่ภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนโยธี มีเนื้อที่ทั้งหมด 620 ตารางเมตร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9.30 – 16.30 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ [13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑,18 มิถุนายน พ.ศ. 2511
- ↑ ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ http://www.dt.mahidol.ac.th/48anniversary/index.php/dean
- ↑ ภาควิชาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ โรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ หน่วยทันตแพทยศาสตร์ศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ สำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ (พญาไท)
- ↑ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก(ศาลายา)
- ↑ สิรินธรทันตพิพิธ
- ↑ เปิดสิรินธรทันตพิพิธ พิพิธภัณฑ์ฟันแห่งแรกของไทย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- คณะทันตแพทยศาสตร์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′50″N 100°31′59″E / 13.763912°N 100.533180°E