ข้ามไปเนื้อหา

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Nursing,
Khon Kaen University
ชื่อย่อพย. / NU
สถาปนา1 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (53 ปี)[1]
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร
ที่อยู่
วารสารวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
สี  สีฟ้า
มาสคอต
ดอกปีบ
เว็บไซต์https://nu.kku.ac.th https://nueng.kku.ac.th

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Nursing, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยความตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลของประเทศ คณะพยาบาลศาสตร์จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นคณะพยาบาลศาสตร์แห่งแรกในส่วนภูมิภาค และแห่งที่ 2 ของประเทศ

ประวัติ

[แก้]

การก่อตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งขณะนั้นมี ศาสตราจารย์ พิมล กลกิจ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ดำริที่จะเปิดการศึกษาวิชาชีพพยาบาลขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรทางการพยาบาลที่มีความรู้ ความสามารถรับผิดชอบงานด้านพัฒนาอนามัย ซึ่งถือว่าเป็นการผลิตบุคลากรที่ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและของประเทศชาติโดยส่วนรวม

ดังนั้นการดำเนินงานจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยมหิดล ในขั้นต้น ได้ดำเนินการศึกษาสภาวะและรวบรวมข้อมูลผลการศึกษาได้จัดตั้ง "คณะกรรมการจัดทำโครงการและร่างหลักสูตร" ขึ้น กรรมการชุดนี้ใช้เวลาดำเนินการจัดทำโครงการและร่างหลักสูตรเป็นเวลา 8 เดือน จึงได้นำเสนอหลักสูตรและโครงการฉบับสมบูรณ์แก่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 จึงมีประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนราชการเพิ่มขึ้นอีกคณะหนึ่ง คือ "คณะพยาบาลศาสตร์" ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา[2]

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตทางการพยาบาลเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2514 รับนักศึกษาจำนวน 60 คน โดยใน 2 ปีแรกของการดำเนินการศึกษา ได้ใช้ตึกภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นสำนักงานชั่วคราว อาคารคณะพยาบาลศาสตร์อาคารแรกได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้เปิดใช้เป็นสำนักงานของคณะพยาบาลศาสตร์ในกลางปีการศึกษา 2516 และในปลายปีการศึกษา 2521 คณะพยาบาลศาสตร์มีสำนักงานและอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง พร้อมกับการขยายงานและจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปี[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อความเหมาะสม ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพปัญหาสังคมในขณะนั้น เป็นการผสมผสานเนื้อหาวิชา โดยใช้ชุมชนเป็นหลัก ปรับจำนวนหน่วยกิต รวมทั้งระยะเวลาในการเรียน และได้เปลี่ยนชื่อปริญญามาเป็น "พยาบาลศาสตรบัณฑิต" ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 และใช้มาจนปัจจุบัน[4]

สัญลักษณ์

[แก้]
  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ดอกปีบ

อนึ่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก็ใช้สัญลักษณ์ประจำคณะคือ ดอกปีบ เช่นเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อ ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ จะเรียกว่า "ดอกปีบ" ส่วนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะเรียกว่า "กาสะลอง"

  • สีประจำคณะ

  สีฟ้า

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

ดอกปีบ

สาขาวิชา

[แก้]
  • สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชม
  • สาขาวิชาการผดุงครรภ์
  • สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล
  • สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
  • สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[5]
หลักสูตรประกาศนียบัตร/ฝึกอบรมระยะสั้น ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

  • สาขาการบริหารการพยาบาล
  • สาขาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤต
  • สาขาการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต
  • สาขาการพยาบาลผู้เสพและผู้ติดสารเสพติด
  • สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
  • สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น

  • สาขาศาสตร์และศิลปการสอนทางการพยาบาล

หลักสูตรประกาศนียบัตร

  • สาขาผู้ช่วยพยาบาล

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

  • สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชม
  • สาขาวิชาการผดุงครรภ์
  • สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล
  • สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
  • สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)

  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
  • สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
  • สาขาวิชาการผดุงครรภ์
  • สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการพยาบาล
  • สาขาวิชาการพยาบาล (นานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด นิยมวิภาต พ.ศ. 2514 - 2522
2. รองศาสตราจารย์ กัลยา พัฒนศรี

พ.ศ. 2522 - 2526
พ.ศ. 2531 - 2534
พ.ศ. 2539 - 2542

3. รองศาสตราจารย์ พรรณี เหมือนวงศ์ พ.ศ. 2527 - 2530
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ พ.ศ.2536 - 2538
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2542 - 2546
6. รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ พ.ศ. 2546 - 2549
7. รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร ทองกระจาย พ.ศ. 2549 - 2552

พ.ศ. 2552 - 2554

8. รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา นันทบุตร พ.ศ. 2554 – 2558
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี พ.ศ. 2558 – 2562
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พักตร์วิไล ศรีแสง[6] พ.ศ. 2562 - 2566
11. รองศาสตราจารย์ ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร พ.ศ. 2566 - ปัจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเหตุ รายนามดังกล่าว จัดเรียงชื่อและนามสกุลตามตัวอักษร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 88, ตอนที่ 98, 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514, หน้า 571
  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะพยาบาลศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 112
  3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะพยาบาลศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 113
  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะพยาบาลศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537, หน้า 47
  5. ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. "ข้อมูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พักตร์วิไล ศรีแสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะพยาบาลศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 109 -118
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะพยาบาลศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537, หน้า 47 - 50

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]