ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University
คติพจน์เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำระดับโลก ด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
สถาบันหลักมหาวิทยาลัยมหิดล
สถาปนา30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524; 42 ปีก่อน (2524-11-30) ก่อตั้ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-05-20) สถาปนา
ผู้อำนวยการนรัตถพล เจริญพันธุ์
ที่อยู่999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เว็บไซต์mb.mahidol.ac.th

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันวิจัยที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัย ทางด้านชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล และสนับสนุนภารกิจหลักด้านการวิจัย การจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา การบริการวิชาการสู่สังคม ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต

ประวัติความเป็นมา

[แก้]

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการควบรวมของหน่วยงานทั้ง 2 หน่วยงาน คือ "สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และ "สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์"

ปี พ.ศ. 2524 จัดตั้ง "สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยได้ทำงานค้นคว้าวิจัยทางด้านชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล [1]

ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการสร้างอาคารวิจัยอย่างเต็มรูปแบบขึ้นในพื้นที่ของศาลายา ด้วยงบประมาณก่อสร้างประมาณ 392 ล้านบาท พร้อมครุภัณฑ์อีก 24 ล้านบาท โดยถือเป็นอาคารหลังแรกและเป็นศูนย์รวมของการมีห้องปฏิบัติการวิจัยในสาขาต่างๆอย่างครบถ้วน

"สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์" จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแหล่งผลิต วิจัย พัฒนาและเป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการด้านอณูวิทยาพันธุศาสตร์ และพันธุศาสตร์ [2]

ต่อมา "สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และ "สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์" ได้รับการปรับโครงสร้างของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องการจัดตั้งส่วนงานของ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เป็น "สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล" [3]

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นจุดเริ่มต้นของการบ่มเพาะงานวิจัยในระดับแนวหน้าของมหาวิทยาลัยและของประเทศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น ธาลัสซีเมีย และไข้เลือดออก ไปจนถึงด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อคนไทย อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพ ยางพารา มันสำปะหลัง กุ้ง และเทคโนโลยีในการควบคุมประชากรยุง เป็นต้น งานวิจัยและพัฒนาจำนวนหนึ่งมีมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะวัคซีน ยาขับเหล็ก และเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง นอกจากนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ยารักษาโรค การวินิจฉัยโรค และวัคซีนของสถาบันฯ ยังเป็นผลงานที่มีผลกระทบสูง สร้างรายได้ให้แก่สถาบันฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล และยังสามารถตอบเป้าหมายการพัฒนาสากลที่เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDG) ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ทำเนียบผู้อำนวยการ

[แก้]
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2527
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2540
3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544
สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
5. ศาสตราจารย์ ดร.นพ.กนก ภาวสุทธิไพศิฐ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประเสริฐ เอื้อวรากุล 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (วาระที่ 1)
17 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (วาระที่ 2) [4]
2. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ นรัตถพล เจริญพันธุ์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 [5]17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน [6]

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ระดับปริญญามหาบัณฑิต

[แก้]

เปิดสอนจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

[แก้]

เปิดสอนจำนวน 3 หลักสูตร คือ

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ

ศูนย์วิจัยและกลุ่มสาขาวิชา

[แก้]

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลประกอบด้วย 5 ศูนย์วิจัย และ 1 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่

  • ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย
  • ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน
  • ศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง
  • ศูนย์วิจัยชีววัตถุการแพทย์ชั้นสูงเพื่อการรักษา
  • กลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและภาควิชาในมหาวิทยาลัยมหิดล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524
  2. ราชกิจจานุเบกษา ,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540
  3. ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552, 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  4. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 50/2555,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล[ลิงก์เสีย], 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  5. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 45/2559,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล[ลิงก์เสีย], 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
  6. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 48/2563,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, 21 กันยายน พ.ศ. 2563

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]