การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหิดลสิทธาคาร

บทความนี้กล่าวถึงการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดิมเคยมีฐานะเป็น โรงเรียนราชแพทยาลัย และ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ใน พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในหลายสาขาวิชาโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)[1][2] นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน

ภาพรวม[แก้]

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
CWTS (2017) 2(458)
CWUR (2017) 2(518)
Nature Index (2016) 2 (-)
QS (Asia) (2018) 2(58)
QS (World) (2018) 2(334)
QS GER (2018) 2(301-500)
RUR (2017) 2(408)
RUR reputation (2017) 2(246)
RUR research (2016) 3(457)
RUR Academic (2017) 1(328)
SIR (2020) 1(554)
THE (Asia-Pacific) (2017) 1(101-110)
THE (Asia) (2017) 1(97)
THE (World) (2021) 1(601-800)
THE (BRICS) (2017) 1(76)
UI Green (Overall) (2017) 1(86)
URAP (2017-2018) 1(443)
U.S. News (2018) 1(509)
Webometrics (2018) 1(548)
4 International Colleges & Universities (2018) 1(568)

การจัดอันดับโดยหน่วยงานต่าง ๆ[แก้]

Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 440 ของโลก[3]

Center for World University Rankings[แก้]

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย บัณฑิตที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 522 ของโลก[4]

Nature Index[แก้]

Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group สำหรับปี 2016 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย[5][6]

Quacquarelli Symonds[แก้]

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 334 ของโลก[7]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[8]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[9]

โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 58 ของเอเชีย[10]

Rankings by Subject[แก้]

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject[11]
อันดับที่ 101 – 150 ของโลก
  • Medicine
  • Pharmacy & Pharmacology
อันดับที่ 201 – 250 ของโลก
  • Biological Sciences
  • Linguistics
อันดับที่ 251 – 300 ของโลก
  • Sociology
อันดับที่ 351 – 400 ของโลก
  • Chemistry

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำปี พ.ศ. 2560 ได้มีสาขาวิชาต่างๆ ที่ติดอันดับของโลก ดังนี้ อันดับที่ 101 – 150 ของโลก ได้แก่ สาขา Medicine, Pharmacy & Pharmacology, อันดับที่ 201 – 250 ของโลก ได้แก่ สาขา Biological Sciences, Linguistics อันดับที่ 251 – 300 ของโลก ได้แก่ สาขา Sociology อันดับที่ 351 – 400 ของโลก ได้แก่ สาขา Chemistry , Social Sciences and Management (399)

และยังมีสาขาวิชา Anatomy & Physiology, Biological Sciences, Medicine, Nursing, Pharmacy & Pharmacology, Sociology และ Theology, Divinity & Religious Studies ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

Graduate Employability Rankings 2018[แก้]

เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 301 - 500 ของโลก [12]

Round University Rankings[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 484 ของโลก[13]

SCImago Institutions Ranking[แก้]

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 554 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [14]

The Times Higher Education[แก้]

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) , จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย (Times Higher Education Asia University Rankings) และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

THE World

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 601-800 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย[15] หากนับเฉพาะด้านงานวิจัยแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 577 และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน[16]

THE Asia

  1. Teaching: The learning environment (25%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, students and research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (7.5%) ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม วัดจาก รายได้ทางอุตสาหกรรมจากงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 97 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [17]

THE Asia-Pacific

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 101–110 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [18]

BRICS & Emerging Economies การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings)

  1. Teaching: The learning environment (30%) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลสำรวจด้านชื่อเสียง คุณภาพการสอน สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา
  2. Research: Volume, Income, Reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์ นักศึกษา งานวิจัยนานาชาติ และความร่วมมือกับต่างประเทศ
  5. Industry income: knowledge transfer (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี 2017 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 76 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [19]

University Ranking by Academic Performance[แก้]

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 432 ของโลก[20] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

U.S. News & World Report[แก้]

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2018” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดลถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 509 ของโลก[21]

UI Green Metric World University Ranking[แก้]

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 86 ของโลก[22]

Webometrics[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2561 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 548 ของโลก[23]

International Colleges & Universities[แก้]

การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2018 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยและอันดับ 568 ของโลก [24]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  2. "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  3. [1]
  4. [2]
  5. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  6. http://www.natureindex.com/institution-outputs/thailand/chulalongkorn-university-cu/513906bb34d6b65e6a000175
  7. https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2018
  8. QS. QS World University Rankings: Methodology. September 11, 2015. http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology (accessed june 29, 2016).
  9. QS. QS University Rankings: Asia methodology. 13 June 2016. http://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology (accessed 29 June 2016).
  10. https://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2018
  11. https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news60/QsRanking2017.html[ลิงก์เสีย]
  12. https://www.topuniversities.com/university-rankings/employability-rankings/2018
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  14. [3]
  15. [4]
  16. [5]
  17. [6]
  18. [7]
  19. BRICS & Emerging Economies
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  21. การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  23. http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
  24. http://www.4icu.org/th/