การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงทะเบียน | 44,778,628 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 64.77% ( 7.79 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 22 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[1] โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ก่อนการเลือกตั้ง
[แก้]สัตยาบันเพื่อปฏิรูปการเมือง
[แก้]ภายหลังการการยุบสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ [2]
พรรคไทยรักไทยแสดงจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน [3] และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [4] พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคเห็นว่าท่าทีของพรรคไทยรักไทย มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัคร [5]
นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ
[แก้]เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 93 ของพรรคไทยรักไทยได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทย อย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีพระพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส
การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร [6] และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้
การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549
[แก้]เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
[แก้]- 3 พรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์,ชาติไทย,มหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน
- รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางการดื้อแพ่ง
- อาจารย์ ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้งและนำเลือดมาใช้ในการ กาบัตรเลือกตั้งและยืนยันว่าเป็นการผิดกฎหมาย ในเขตลาดพร้าว เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน แบบหนึ่ง
ปัญหาในการเลือกตั้ง
[แก้]- ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกใคร แต่ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน
- คูหาเลือกตั้งหันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย
- มีการร้องเรียนว่า ที่หน่วยเลือกตั้งไม่มีปากกาเพียงพอ และบางหน่วยเตรียมไว้ให้เพียงตรายางสำหรับประทับ
- เดิม กกต. ให้ใช้เฉพาะตรายาง ต่อมาได้มีการร้องเรียนไปยังศาลปกครองเป็นกรณีเร่งด่วน และศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้สามารถใช้ได้ทั้งปากกา และตรายางประทับ คำสั่งศาลปกครอง เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง
- มีบัตรเสียจำนวนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะบัตรเสียในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ข้อวิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
[แก้]- การประชุมกำหนดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะไม่ชอบ เกี่ยวกับองค์ประชุม ที่กำหนดในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง 2540 มาตรา 8 ระบุเรื่องการประชุมให้มีไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของเท่าที่มีอยู่ แต่ในวันที่ประกาศ พรฎ นั้น กรรมการ กกต. มีจำนวนเพียง 3 คน จากที่มีอยู่ 4 คน (กกต. จะต้องมี 5 คนตามรัฐธรรมนูญ แต่ มีกรรมการ 1 คนเสียชีวิตเมื่อ พย.2548 ยังไม่มีการสรรหาเพิ่ม, และขณะนั้น 1 คนเดินทางไปต่างประเทศ)
- กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 40 เขตในวันที่ 23 เมษายน 2549 โดยเปิดรับผู้สมัครใหม่เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน แต่ให้ผู้ที่เคยสมัครในการเลือกตั้งรอบแรก ใช้หมายเลขเดิม
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเวียนเทียนสมัคร โดยผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง และแพ้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน และทาง กกต.ยังไม่ได้รับรองการเลือกตั้ง สามารถย้ายไปลงสมัครที่เขตอื่น จังหวัดอื่นได้ ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งได้ตัดสิทธิ์ของผู้สมัครเหล่านี้ แต่กลับมีหนังสือเวียนโดยนายวาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. แจ้งให้รับสมัครได้
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งก่อนหน้า ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน ได้ โดยอ้างว่าได้รับสิทธิ์คืนมา เนื่องจากไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แล้ว
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วัน นับถึงวันรับสมัครรอบแรก ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนได้ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครบ 90 วัน ในวันรับสมัครรอบที่สอง วันที่ 8-9 เมษายน แล้ว
การเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549
[แก้]คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่
เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
[แก้]- ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง
- กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ
- มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]พรรค | แบ่งเขต | บัญชีรายชื่อ | ที่นั่งรวม | +/- | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | |||||
ไทยรักไทย | 361 | 16,420,755 | 56.45% | 100 | 461 | |||||
คนขอปลดหนี้ | 4 | 0 | 4 | |||||||
พลังประชาชน | 3 | 305,015 | 0 | 3 | ||||||
ประชากรไทย | 2 | 292,895 | 0 | 2 | ||||||
พลังธรรม | 1 | 0 | 1 | |||||||
เกษตรกรไทย | 0 | 675,662 | 0 | 0 | ||||||
ธัมมาธิปไตย | 0 | 255,853 | 0 | 0 | ||||||
ไทยช่วยไทย | 0 | 146,680 | 0 | 0 | ||||||
พัฒนาชาติไทย | 0 | 134,534 | 0 | 0 | ||||||
แผ่นดินไทย | 0 | 125,008 | 0 | 0 | ||||||
คะแนนสมบูรณ์ | 15,608,509 | 100% | 371 | 18,356,402 | 100% | 100 | 471 | |||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 9,610,874 คน | 33.14% | 9,051,706 | 31.12% | ||||||
คะแนนเสีย | 3,778,981 | 13.03% | 1,680,101 | 5.78% | ||||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง | 28,998,364 | 64.76% | 29,088,209 | 64.77% | ||||||
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง | 44,778,628 | 44,909,562 | ||||||||
ที่มา: |
ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง มีดังต่อไปนี้ [7][8][9][10][11][12][13]
พรรคไทยรักไทย (99)
[แก้]กรุงเทพ
[แก้]ภาคกลาง
[แก้]
ภาคเหนือ
[แก้]ภาคอีสาน
[แก้]ภาคใต้
[แก้]จังหวัด | เขต | รายนาม | พรรค | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กระบี่ | 1 | ||||
ณัฐพร ฉายประเสริฐ | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
โสภณ เสือพันธ์ | พรรคพลังธรรม | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | |||||
ทศพร รัญวาศรี | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ชุมพร | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20[15] | |||
2 | สมชาย คุณวุฒิ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
ตรัง | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | |||||
มะลิวัลย์ รักเมือง | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | ทัศนีย์ สุนทรนนท์ | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | |||||
วิรัช ยิมเทียง | พรรคประชากรไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
นครศรีธรรมราช | 1 | ||||
กณพ เกตุชาติ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
3 | |||||
ณัฏฐ์ประชา เกื้อสกุล | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
4 | ปิติ เทพภักดี | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | วิรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | |||||
อารี ไกรนรา | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
7 | อุดมเกียรติ อภินันทิกุล ปานมี | พรรคไทยรักไทย | |||
8 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
9 | มาโนช เสนาชู | พรรคคนขอปลดหนี้ | |||
10 | เร็วจริง รัตนวิชา | พรรคไทยรักไทย | |||
นราธิวาส | 1 | ||||
อับดุลคอเต เจ๊ะอูเซ็ง | พรรคคนขอปลดหนี้ | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
สุทธิพันธ์ ศรีกานนท์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | นัจมุดดีน อูมา | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | |||||
เดาฟิก สะมะแอ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
5 | สมรรถ วาหลง | พรรคไทยรักไทย | |||
ปัตตานี | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | สมมารถ เจ๊ะนา | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | มุข สุไลมาน | พรรคไทยรักไทย | |||
พังงา | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | กฤษ ศรีฟ้า | พรรคไทยรักไทย | |||
พัทลุง | 1 | วาทิต ไพศาลศิลป์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | |||||
เปลื้อง บัวสรี | พรรคคนขอปลดหนี้ | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ภูเก็ต | 1 | ||||
ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
ยะลา | 1 | ||||
นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ซูการ์โน มะทา | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | |||||
บูราฮานูดิน อุเซ็ง | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ระนอง | 1 | ไพโรจน์ ชาญพาณิชย์ | พรรคไทยรักไทย | ||
สงขลา | 1 | ||||
วันชัย ปริญญาศิริ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | |||||
ทวีศักดิ์ ทวีรัตน์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
4 | |||||
กิตติพัฒน์ แก้วมณี | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
5 | สมนิตย์ ประทุมวรรณ | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | |||||
ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
7 | |||||
อรัญ พรหมรัตน์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
8 | |||||
สุรศักดิ์ มณี | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
สตูล | 1 | ||||
จิรายุส เนาวเกตุ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ชัยรัตน์ ลําโป | พรรคไทยรักไทย | |||
สุราษฎร์ธานี | 1 | ภานุ ศรีบุศยกาญจน์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | สมพล วิชัยดิษฐ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
4 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
5 | โกมล นกวิเชียร | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 |
ภาคตะวันออก
[แก้]ภาคตะวันตก
[แก้]จังหวัด | เขต | รายนาม | พรรค | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กาญจนบุรี | 1 | พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | สันทัด จีนาภักดิ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | เรวัต สิรินุกุล | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | ไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | พลโทมะ โพธิ์งาม | พรรคไทยรักไทย | |||
ตาก | 1 | ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | ชํานาญ สันติพนารักษ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | สุกัลยา โชคบํารุง | พรรคไทยรักไทย | |||
ประจวบคีรีขันธ์ | 1 | พีระ สุกิจปาณีนิจ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | พรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | |||||
ทศเนตร เทียมเทศ | พรรคประชากรไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
เพชรบุรี | 1 | พรจนัฐ ศรีรัตนานนท์ | พรรคคนขอปลดหนี้ | ||
2 | ธานี ยี่สาร | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ปิยะ อังกินันทน์ | พรรคไทยรักไทย | |||
ราชบุรี | 1 | กอบกุล นพอมรบดี | พรรคไทยรักไทย | เสียชีวิต/ไม่มีเลือกตั้งใหม่ | |
2 | วิวัฒน์ นิติกาญจนา | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ปารีณา ไกรคุปต์ | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | วัฒนา มังคลรังษี | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | บุญลือ ประเสริฐโสภา | พรรคไทยรักไทย |
รายชื่อตัวอย่างผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง
[แก้]- รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
- นายรัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช
- นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ (ศาลจังหวัดตรัง ตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 คำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ)
- นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา (อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
- นายนิกร ยอดหนูขุน
- นางปราณี วีรวงศ์ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- น.ส.จินตนา จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นางสุมล ตุลา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นางสอาด จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- น.ส.วลัย ยนประเสริฐ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นายศฦงคาร ชูวงศ์วุฒิ (ประธานชมรมโรงกลึงยะลา และรองประธานมูลนิธิสง)
- นายนิคม ชูวัฒนะ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.ภ ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร)
- นายยงค์ ยังพลขันธุ์ (เจ้าของสวนปาล์มขนาดใหญ่ จ.ชุมพร)
- นายกฤช เทพบำรุง (นักธุรกิจ จ.ภูเก็ต)
- นายบุญชัย จรัสรัศมี
- นายสมมาตร หมั่นคิด
- นายวิกรม อิศรางกูร
- นายสนชัย ฤทธิชัย
- นายพรเทพ จันทร์ทองแก้ว
- นายแสวง กลิ่นคง
- น.ส.บุญนำ จันทรุพันธ์ (ข้าราชการบำนาญ)
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา
[แก้]25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยทรงแสดงความห่วงใยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมซึ่งการเลือกตั้งซ่อมครั้งแรกผ่านพ้นไปก็ปรากฏว่ายังไม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ทรงชี้แนะให้พิจารณาว่าการที่ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน หลังยุบสภานั้นถูกต้องหรือไม่ หรือจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะหรือไม่ รวมทั้งทรงแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งโดยมีผู้สมัครพรรคเดียวนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้มีพระราชดำรัสว่ามาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มิได้ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจทำอะไรได้ทุกอย่าง และทรงแนะแนวทางให้ฝ่ายตุลาการ คือ ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมกันหารือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
[แก้]การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 เก็บถาวร 2006-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดการพิจารณาวินิจฉัย ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ผลการพิจารณา กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก จำนวน 8 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย จำนวน 6 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่[16]
กกต.ดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ และคำพิพากษาจำคุก กกต.
[แก้]จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม [17] จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549[18]
การรัฐประหาร พ.ศ. 2549
[แก้]แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และภายหลังการรัฐประหารนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีคำสั่งแถลงการณ์ฉบับที่ 3[19] จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 (ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549)
- ↑ "บรรหาร"ทำหนังสือถึง"ทักษิณ" ทรท.ส่อปัดลงสัตยาบันแก้รธน.
- ↑ ""ทักษิณ"ปัดตอบลงสัตยาบันขอเป็นผู้พิทักษ์ทรท.ถกเช้านี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
- ↑ 'ทักษิณ'จนมุมอ้อนพรรคเล็กลงสัตยาบัน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พรรคร่วมฝ่ายค้านปัดประชาคม"แม้ว"-มติคว่ำบาตรเลือกตั้ง
- ↑ "'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่หนึ่ง)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สอง)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สาม)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สี่)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่ห้า)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่หก)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่เจ็ด)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ ไทยรัฐ, สรุปรวม พรรคไม้ประดับ แย่งที่นั่ง ทรท.ได้ถึง 9 เขต เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "การพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2006-05-08.
- ↑ "ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 (วันที่ 15 ตุลาคม 2549)
- ↑ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง องคมนตรี ศาลทั้งหลายดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป)