เอี่ยม ทองใจสด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอี่ยม ทองใจสด
เอี่ยม ใน พ.ศ. 2563
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 5
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปอัคร ทองใจสด
เขตเลือกตั้งอำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี (ยกเว้นตำบลสามแยก)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 6
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าตนเอง
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
ถัดไปตนเอง
เขตเลือกตั้งอำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี (ยกเว้นตำบลสามแยก ตำบลซับน้อย ตำบลโคกปรง ตำบลซับสมบูรณ์ และตำบลบึงกระจับ)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
กิตติคุณ นาคะบุตร
ตนเอง
ถัดไปวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
ตนเอง
เขตเลือกตั้งอำเภอวังโป่ง, อำเภอชนแดน, อำเภอหนองไผ่, อำเภอบึงสามพัน, อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 6
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าแก้ว บัวสุวรรณ
ถัดไปตนเอง
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
เขตเลือกตั้งอำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี (ยกเว้นตำบลโคกปรง ตำบลยางสาว ตำบลท่าโรง และตำบลน้ำร้อน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ แก้ว บัวสุวรรณ
ก่อนหน้าตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
แก้ว บัวสุวรรณ
ถัดไปกิตติคุณ นาคะบุตร
แก้ว บัวสุวรรณ
เขตเลือกตั้งอำเภอวิเชียรบุรี, อำเภอบึงสามพัน และอำเภอศรีเทพ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2
ดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
และแก้ว บัวสุวรรณ
ก่อนหน้าตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
เกษม บุตรขุนทอง
ถัดไปตนเอง
แก้ว บัวสุพรรณ
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
และเกษม บุตรขุนทอง
ก่อนหน้าตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
แก้ว บัวสุวรรณ
ถัดไปกิตติคุณ นาคะบุตร
แก้ว บัวสุวรรณ
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
และแก้ว บัวสุวรรณ
ก่อนหน้าตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
วิเชียร สอนน้อย
ถัดไปตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
เกษม บุตรขุนทอง
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 29 เมษายน พ.ศ. 2531
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
และวิเชียร สอนน้อย
ก่อนหน้าเกษม บุตรขุนทอง
วิเชียร สอนน้อย
ถัดไปตนเอง
สุพจน์ ตั้งตระกูลไท
แก้ว บัวสุวรรณ
เขตเลือกตั้งอำเภอชนแดน, อำเภอหนองไผ่, อำเภอบึงสามพัน, อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (82 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
ชาติไทย
ความหวังใหม่
ไทยรักไทย
พลังประชาชน
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสกนกนุช ทองใจสด

นายเอี่ยม ทองใจสด (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 10 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ[แก้]

เอี่ยม ทองใจสด เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายเอี่ยมแท้ง และนางริ้ง ทองใจสด มีพี่น้อง 10 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สมรสกับนางกนกนุช ทองใจสด มีบุตร 5 คน อาทิ นายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ คนปัจจุบัน และนางสาวเทียนทอง ทองใจสด ส.อบจ.เพชรบูรณ์

งานการเมือง[แก้]

อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ 2 สมัย (พ.ศ. 2523 - 2528) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 10 มกรา และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาทุกครั้ง ในสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคความหวังใหม่ตามลำดับ ยกเว้นปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย พ่ายให้กับนายแก้ว บัวสุวรรณ จากพรรคความหวังใหม่

เอี่ยม เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[1]

เมื่อปี พ.ศ. 2552 ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กรีดรถนักข่าวภายในอาคารจอดรถของสวนสัตว์ดุสิต ตรงข้ามอาคารรัฐสภา แต่เจ้าตัวปฏิเสธ[2]

ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 9 ก่อนที่จะย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในปี พ.ศ. 2562 พร้อมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนมากที่มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นแกนนำ และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัย ที่ 10

ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2566 ได้ประกาศวางมือทางการเมือง เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น จึงส่งไม้ต่อยังนายอัคร ทองใจสด ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นหลานชายของตน และบุตรชายของนายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ ในเขตเลือกตั้งของตน ซึ่งก็ได้รับเลือกเช่นกัน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เอี่ยม ทองใจสด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 10 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
  2. "เอี่ยม ทองใจสด"รับเครียดกลายเป็นผู้ต้องสงสัยกรีดรถนักข่าว-ขรก.ในที่จอดรถรัฐสภา ยันไม่ได้ทำ
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]