ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
ศรัณย์วุฒิ ใน พ.ศ. 2562
หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน 2564 – 9 กันยายน 2565
ก่อนหน้าบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์
ถัดไปปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
เขต 2
ดำรงตำแหน่ง
3 กุมภาพันธ์ 2548 – 20 มีนาคม 2566
ก่อนหน้าทนุศักดิ์ เล็กอุทัย
วารุจ ศิริวัฒน์
กนก ลิ้มตระกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร) ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ไทยรักไทย (2544–2549)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2551)
เพื่อไทย (2554–2556, 2561-2564)
ชาติไทยพัฒนา (2557)
เพื่อชาติ (2564–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)

ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ (ชื่อเดิม : ปรีดา[1], ศรัณย์ ศรัณย์เกตุ) (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) นักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคเพื่อไทยจนถึงปี พ.ศ. 2564 ต่อมาเขาได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ​ สมญานาม คือ ส.ส.เอลวิส[2] ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ[แก้]

ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายสกล และนางพรรณี ศรัณย์เกตุ มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีบุตร 5 คน หนึ่งในนั้นคือ นางสาวจารุวรรณ ศรัณย์เกตุ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่[3]

งานการเมือง[แก้]

ศรัณย์วุฒิ เคยได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย ใน พ.ศ. 2544 แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติให้ใบแดง ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2548 แต่หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นายศรัณย์วุฒิย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550

หลังจากนั้น พ.ศ. 2554 ได้ย้ายกลับมาลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย จึงได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2[3] ต่อมาการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557 ได้ย้ายลงสมัครในนามพรรคชาติไทยพัฒนา โดยได้รับการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ย้ายกลับพรรคเพื่อไทย ได้รับการเลือกตั้งอีกเป็นครั้งที่ 3[4] จนกระทั่งถูกขับออกจากพรรคเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564[5]

หลังจากที่นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ได้เข้าสังกัดพรรคเพื่อชาติในเวลาต่อมา ได้มีการประชุมวิสามัญพรรคเพื่อชาติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่จังหวัดเชียงราย ที่ประชุมได้ให้นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยมีนายเทวกฤต พรหมมา เป็นรองหัวหน้าพรรค[6][7]

ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 ศรัณย์วุฒิได้จัดแถลงข่าวที่รัฐสภาประกาศว่าหลังจากมีการประกาศยุบสภาแล้วจะลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อชาติ เพื่อย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[8] จากนั้นในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ศรัณย์วุฒิได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับคุกเข่าขอขมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค[9] โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[10] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[11]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย → พรรคเพื่อชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คุณจดบันทึกไว้เลยนะ นี่คือตัวตนของผม ‘ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ’,มติชนออนไลน์
  2. แม่ทัพเพื่อชาติ "ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ" สูตรลับเชียงรายโมเดล
  3. 3.0 3.1 เปิดประวัติ ศรัณย์วุฒิ ผู้ชำแหละนโยบายประยุทธ์ ลูกสาวก็เป็นส.ส.พรรคดัง,ข่าวสดออนไลน์
  4. เปิดใจหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ “ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
  5. "มติขับ'ศรัณย์วุฒิ-พรพิมล'พ้นเพื่อไทย ฐานทำลายชื่อเสียง-ฝักใฝ่พรรคอื่น". สำนักข่าวอิศรา. 2021-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ตามคาด! ‘ศรัณย์วุฒิ’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ,มติชนออนไลน์
  7. “ศรัณย์วุฒิ” นั่งเก้าอี้หน.พรรคเพื่อชาติ-ชูนโยบาย เพื่อชาติ เพื่อประชาชน,กรุงเทพธุรกิจ
  8. โผซบ‘รทสช.’ ‘ศรัณย์วุฒิ’ยก 3 จุดเด่น‘ลุงตู่’ มั่นใจได้กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ
  9. ‘ศรัณย์วุฒิ’กลับใจ! เล่นฉากใหญ่คุกเข่าขอขมา‘บิ๊กตู่’ สวมเสื้อ‘รทสช.’
  10. ‘ศรัณย์วุฒิ’ สอบตก ส.ส.อุตรดิตถ์ ‘เพื่อไทย’ กวาดทั้งจังหวัด 3 ที่นั่ง
  11. 'ครม.' ตั้ง 'ครูแก้ว-ศรัณย์วุฒิ-รังสิมา' นั่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ถัดไป
บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
(21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 9 กันยายน พ.ศ. 2565)
ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช