ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดนครปฐม

พิกัด: 13°49′N 100°04′E / 13.82°N 100.06°E / 13.82; 100.06
หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นครปฐม)

จังหวัดนครปฐม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Pathom
คำขวัญ: 
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว
ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน
สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี
พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ว่าง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด2,168.327 ตร.กม. (837.196 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 66
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด922,171 คน
 • อันดับอันดับที่ 24
 • ความหนาแน่น425.29 คน/ตร.กม. (1,101.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 8
รหัส ISO 3166TH-73
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้จัน
 • สัตว์น้ำกุ้งก้ามกราม
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ถนนบางเตย-ดอนยายหอม ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
 • โทรศัพท์0 3434 0003-4
 • โทรสาร0 3434 0003-4
เว็บไซต์www.nakhonpathom.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

ก่อนประวัติศาสตร์

มีการพบหลักฐานโบราณคดีที่อาจมีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไรหิน เศษภาชนะสำริดลักษณะคล้ายขัน และชิ้นส่วนเศษกระดูกมนุษย์ ที่แหล่งโบราณคดีไร่นายจิ๋ว บุญรักษา ที่ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม และที่แหล่งโบราณคดีไร่จรัลเพ็ญ บ้านหนองกบ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน[3]

แหล่งโบราณคดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตะกวด)หมายเลข 1 ได้พบกะโหลกศีรษะมนุษย์โบราณ ลูกปัดหิน และกำไรสำริดจำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นสถานที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ยุคเหล็ก กำหนดอายุราว 2,000 ปีมาแล้ว ส่วนแหล่งโบราณคดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หมายเลข 2 พบโครงกระดูกมนุษย์ซึ่งมีการนำภาชนะเครื่องดินเผาวางอุทิศ สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีนี้เป็นสถานที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย มีลักษณะเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม[4]: 164–166 

สมัยทวารวดี

เมืองนครปฐมโบราณเริ่มมีชุมชนมาตั้งถิ่นฐานมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8–11 โดยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13–14 และเสื่อมความสำคัญลงในพุทธศตวรรษที่ 17[5]

บริเวณที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 11–16 ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก[6] จากหลักฐานทางโบราณคดีพบสมอเรือขนาดใหญ่ที่วัดธรรมศาลา นอกจากนั้นยังมีชื่อหมู่บ้านในเขตเมืองนครปฐมที่แสดงถึงพื้นที่ที่เคยอยู่ริมทะเล เช่น แหลมบัว แหลมกระเจา แหลมมะเกลือ แหลมชะอุย หรือบ้านอ่าว เป็นต้น[4]: 55 

เมืองนครปฐมโบราณที่สำคัญในสมัยทวารวดี คือ เมืองนครชัยศรี หรือเรียกว่า นครไชยลิน หรือ เมืองพระประโทณ เมืองตั้งอยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ออกไปทางทิศตะวันออกราว 2 กิโลเมตร มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นเมืองใหญ่ขนาด 3,600 × 2,000 เมตร ภายในเมืองนี้พบร่องรอยโบราณสถานจำนวนมาก อาทิ พระประโทณเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง กับเจดีย์จุลประโทน ส่วนโบราณสถานที่อยู่นอกเมืองคือ วัดพระเมรุ พระปฐมเจดีย์ วัดพระงามอยู่ทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกคือ วัดธรรมศาลา ทางทิศใต้คือ วัดดอนยายหอม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวด้วยว่าเมืองนครปฐมเป็นราชธานีของเมืองทวารวดี ส่วนชนชาติที่อาศัยอยู่ขณะนั้นคือ พวกละว้า[7]

ยังมีเมืองโบราณอีกแห่ง คือ เมืองกำแพงแสน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครปฐมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร มีรูปร่างเกือบกลมล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดิน มีเนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ คูเมืองมีความกว้าง 30 เมตร พบโบราณวัตถุเช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปสำริด ระฆังหิน ลายปูนปั้นประดับศาสนาสถาน หินบดยา แหวนโลหะ และเนื่องจากเมืองกำแพงแสนตั้งอยู่ระหว่างเมืองอู่ทองและเมืองนครชัยศรี จึงสันนิษฐานว่าเมืองกำแพงแสนเป็นเมืองเศรษฐกิจทั้งทางน้ำและทางบก เป็นสถานที่พักและเปลี่ยนสินค้า จากหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเมืองนครชัยศรีและเมืองกำแพงแสน แสดงให้เห็นว่าประชาชนนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู[4]: 56–59 

สมัยสุโขทัย

ในสมัยสุโขทัยยังไม่ปรากฏชื่อนครปฐม เมืองนครปฐมโบราณในสมัยสุโขทัยมีฐานะอยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย และยังให้ความสำคัญกับเมือง มีการบูรณะมหาเจดีย์และซ่อมแซมพระพุทธรูป ดังปรากฏว่าในศิลาจารึกวัดศรีชุม[4]: 59  โดยเรียกเมืองนครปฐมโบราณว่า นครพระกฤษณ์[8]

สมัยอยุธยา

ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นช่วงเวลาที่พม่ายกทัพมาโจมตีอยุธยาหลายครั้ง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้รวมพื้นที่เมือง 3 เมืองขึ้นเป็นเมือง และตั้งชื่อตามเมืองโบราณว่า เมืองนครชัยศรี เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อเตรียมการระดมไพร่พลเพื่อรับศึกและควบคุมไพร่ไม่ให้หลบหนี ยังเป็นเมืองที่มีย่านการค้าและรับสินค้าจากภายนอกเข้ามาขาย เมืองนครชัยศรีที่ตั้งใหม่เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่ห่างจากเมืองนครชัยศรีเดิมไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร ปรากฏฐานะในกฎหมายตราสามดวงระบุถึงตำแหน่งผู้ปกครอง คือ "ออกพระสุนธรบุรียศรีพิไชยสงคราม" เมืองนครชัยศรีอยู่ในฐานะเมืองจัตวา เป็นเมืองในเขตการปกครองชั้นในและเมืองในวงราชธานี เช่นเดียวกับเมืองราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร

จากหลักฐานทางโบราณคดีในยุคนี้ สันนิษฐานว่าวัดกลางบางแก้วน่าจะเป็นวัดประจำเมืองนครชัยศรีสมัยอยุธยา วัดในสมัยอยุธยา ได้แก่ วัดศรีมหาโพธิ์ วัดห้วยพลู วัดตุ๊กตา และวัดบางพระ[4]: 60–61 

สมัยธนบุรี

เมืองนครชัยศรีในสมัยธนบุรีมีความสำคัญด้านสงคราม เป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า ผู้ครองเมืองนครชัยศรีเป็นผู้มีความสามารถในการรบ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ยกฐานะเจ้าเมืองเป็นพระยานครชัยศรี ในภาวะขาดแคลนข้าว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ขุนนางควบคุมไพร่ออกบุกเบิกพื้นที่โดยรอบ รวมถึงเมืองนครชัยศรี เมืองในสมัยนี้เป็นเมืองขนาดเล็กและเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ[4]: 61 

สมัยรัตนโกสินทร์

ภาพถ่ายพระปฐมเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากบันทึกของสังฆราชปาเลอกัว บริเวณเมืองนครชัยศรีมีการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเจรจาในสนธิสัญญาเบอร์นี มีชาวจีนมาเป็นกรรมกรในโรงงานและประกอบอาชีพอื่น เช่น เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ชาวจีนได้รวมตัวกันมากขึ้นจนได้ตั้งสมาคมลับหรืออั้งยี่ที่เมืองนครชัยศรี จน พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) (ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)) เข้ามาปราบปรามอั้งยี่[4]: 63 

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น[9]

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนภูมิภาคจาก "กินเมือง" มาเป็น "เทศาภิบาล" โดยรวมเอาหัวเมืองเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่า "มณฑล" ให้รวมอำนาจขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย โดยมณฑลนครชัยศรีก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ประกอบด้วยเมืองนครชัยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร ตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองนครชัยศรี และได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระองค์โปรดให้เรียกชื่อเมืองนครปฐม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานนามพระราชวังว่า "ปฐมนคร" และได้เปลี่ยนชื่อ จากเมือง "นครไชยศรี" เป็น "นครปฐม" เมื่อ พ.ศ. 2459[10]

พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศยกเลิกมณฑลนครไชยศรีและโอนให้การปกครองจังหวัดในมณฑลนครไชยศรีไปรวมกับมณฑลราชบุรี และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 จังหวัดนครปฐมซึ่งเคยขึ้นกับมณฑลราชบุรีก็แยกมาเป็นเขตการปกครองส่วนภูมิภาคอิสระเป็นจังหวัดนครปฐมจนถึงปัจจุบัน[11]

ภูมิศาสตร์

จังหวัดนครปฐมตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยหน่วยงานบางแห่ง เช่น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้จังหวัดนครปฐมอยู่ภาคตะวันตก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร

จังหวัดที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครปฐม แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ประกอบด้วย 106 ตำบล และ 930 หมู่บ้าน โดยอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้

แผนที่อำเภอในจังหวัดนครปฐม
เลขในแผนที่ อำเภอ ประชากร
(พ.ศ. 2562)
ระยะห่างจากศาลากลาง
(กม.)
1 อำเภอเมืองนครปฐม 280,482
2 อำเภอกำแพงแสน 128,568 26
3 อำเภอนครชัยศรี 111,658 15
4 อำเภอดอนตูม 48,871 19
5 อำเภอบางเลน 94,239 35
6 อำเภอสามพราน 213,646 23
7 อำเภอพุทธมณฑล 42,572 34
รวม 920,030

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 117 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 20 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 90 แห่ง[12]

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนครปฐม
แผนที่
เขตเทศบาลในจังหวัดนครปฐม
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
สิ้นปี 2561
(คน)[13]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1   เทศบาลนครนครปฐม 19.85 2542 เมืองนครปฐม 1 8 9 75,955
เทศบาลเมือง
2 (1)   เทศบาลเมืองสามพราน 8.15 2551[14] สามพราน 4 4 17,622
3 (2)   เทศบาลเมืองไร่ขิง 25.40 2551[15] สามพราน 1 1 32,094
4 (3)   เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม 10.90 2551[16] สามพราน 1 1 27,080
5 (4)   เทศบาลเมืองนครปฐม 22.20 2556[17] เมืองนครปฐม 1 1 13,766
6 (5)   เทศบาลเมืองสามควายเผือก 14.72 2562[18] เมืองนครปฐม 1 1 10,837
เทศบาลตำบล
7 (1)   เทศบาลตำบลดอนยายหอม 4.64 2542 เมืองนครปฐม 1 1 6,526
8 (2)   เทศบาลตำบลธรรมศาลา 3.64 2542 เมืองนครปฐม 1 1 7,153
9 (3)   เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ 14.80 2542 เมืองนครปฐม 1 1 10,844
10 (4)   เทศบาลตำบลกำแพงแสน 2542 กำแพงแสน 2 2 7,041
11 (5)   เทศบาลตำบลนครชัยศรี 4.54 2542 นครชัยศรี 5 5 8,261
12 (6)   เทศบาลตำบลห้วยพลู 2542 นครชัยศรี 1 1 2,196
13 (7)   เทศบาลตำบลสามง่าม 2542 ดอนตูม 2 2 13,929
14 (8)   เทศบาลตำบลบางเลน 16.14 2542 บางเลน 2 2 8,383
15 (9)   เทศบาลตำบลบางหลวง 2542 บางเลน 1 1 2,167
16 (10)   เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม 6.08 2542 บางเลน 1 1 2,209
17 (11)   เทศบาลตำบลลำพญา 4.00 2542 บางเลน 1 1 1,961
18 (12)   เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ 12.00 2542 สามพราน 1 1 2 23,988
19 (13)   เทศบาลตำบลศาลายา 13.50 2542 พุทธมณฑล 1 1 11,071
20 (14)   เทศบาลตำบลคลองโยง 31.63 2550 พุทธมณฑล 1 1 10,306
21 (15)   เทศบาลตำบลบางกระทึก 12.85 2551 สามพราน 1 1 12,619
22 (16)   เทศบาลตำบลมาบแค 20.15 2555 เมืองนครปฐม 1 1 8,591
23 (17)   เทศบาลตำบลบ่อพลับ 4.90 2555 เมืองนครปฐม 1 1 9,331
24 (18)   เทศบาลตำบลขุนแก้ว 10.80 2556 นครชัยศรี 1 1 7,880
25 (19)   เทศบาลตำบลศีรษะทอง 2563 นครชัยศรี 1 1
26 (20)   เทศบาลตำบลตาก้อง 2563 เมืองนครปฐม 1 1
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระยาศิริชัยบุรินทร์ (ใหญ่ ศยามานนท์) พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2460
2 หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี [19] พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2462
3 พระยาภูมิพิชัย (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) [20] พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2463
4 พระสำราญนฤปกิจ (เบี๋ยน หงสะเดช) [21] พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2469
5 พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2472
6 พระศรีสุทัศน์ (หม่อมหลวงอนุจิตร สุทัศน์) พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2474
7 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2476
8 พระยาพิพิธอำพล (ประเดิม อังศุสิงห์) พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2478
9 พระอรรถนิพนธ์ปรีชา (ฮวด คันธะยุกตะ) พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2478
10 พระกล้ากลางสมร (มงคล หงส์ไกร) พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2479
11 พระณรงค์ฤทธี (ชาย ดิฐานนท์) พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2480
12 หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุขปิยังคุ) พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2482
13 หลวงนรกิจบริหาร (แดง กนิษฐสุต) พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2482
14 พระประชากรบริรักษ์ (ประชา สุนทรศารทูล) พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2487
15 นายทวี แรงขำ พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488
16 นายอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร 15 พฤษภาคม 2488 - 29 กุมภาพันธ์ 2490
17 ขุนนครรัฐเขตต์ (สุนทร ตามไท) 1 มีนาคม 2490 - 21 ธันวาคม 2490
18 ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์) 1 มกราคม 2491 - 20 มีนาคม 2494
19 นายแม้น อรจันทร์ 3 เมษายน 2494 - 31 ธันวาคม 2494
20 นายพยุง ตันติลีปิกร 8 มกราคม 2495 - 3 เมษายน 2496
21 ขุนคำณวนวิจิตร (เชย บุนนาค) 3 เมษายน 2496 - 31 ธันวาคม 2500
22 นายพล วงศาโรจน์ 9 เมษายน 2501 - 26 ตุลาคม 2510
23 นายดำรง สุนทรศารทูล 26 ตุลาคม 2510 - 1 ตุลาคม 2513
24 นายประพจน์ เลขะรุจิ 1 ตุลาคม 2513 - 16 กรกฎาคม 2518
25 นายคล้าย จิตพิทักษ์ 16 กรกฎาคม 2518 - 1 ตุลาคม 2520
26 นายเจริญ ธำรงเกียรติ 1 ตุลาคม 2520 - 1 ตุลาคม 2524
27 นายสมพร ธนสถิตย์ 1 ตุลาคม 2524 - 30 กันยายน 2527
28 นายสุชาติ พัววิไล 1 ตุลาคม 2527 - 30 กันยายน 2530
29 นายสุกิจ จุลลนันทน์ 1 ตุลาคม 2530 - 30 กันยายน 2534
30 นายประเวศ ต่อตระกูล 1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2537
31 นายณัฏฐ์ ศรีวิหค 1 ตุลาคม 2537 - 30 กันยายน 2539
32 นายวิชัย ธรรมชอบ 1 ตุลาคม 2539 - 30 เมษายน 2540
33 นายสุชาญ พงษ์เหนือ 1 พฤษภาคม 2540 - 30 กันยายน 2542
34 นายมานิต ศิลปอาชา 1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2544
35 นายนาวิน ขันธหิรัญ 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2547
36 นายประสาท พงษ์ศิวาภัย 1 ตุลาคม 2547 - 30 กันยายน 2549
37 นายปรีชา บุตรศรี 13 พฤศจิกายน 2549 - 30 กันยายน 2550
38 นายชนินทร์ บัวประเสริฐ 1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2552
39 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553
40 นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 1 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2554
41 นายนิมิต จันทน์วิมล 13 มกราคม 2555 - 30 กันยายน 2555
42 นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ 8 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2557
43 นายชาติชาย อุทัยพันธ์ 3 พฤศจิกายน 2557 - 30 กันยายน 2559
44 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
45 นายชาญนะ เอี่ยมแสง 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2563
46 นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2567
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนครปฐม
ปีประชากร±%
2549 820,704—    
2550 830,970+1.3%
2551 843,599+1.5%
2552 851,426+0.9%
2553 860,246+1.0%
2554 866,064+0.7%
2555 874,616+1.0%
2556 882,184+0.9%
2557 891,071+1.0%
2558 899,342+0.9%
2559 905,008+0.6%
2560 911,492+0.7%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[22]

สถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม
  • วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า
  • วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล
  • วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม
  • กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยว

งานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์


  • วัดไร่ขิง
  • วัดพระประโทน
  • วัดดอนยายหอม
  • วัดไร่แตงทอง
  • วัดหนองพงนก
  • วัดกลางบางพระ
  • ถนนชมพูพันธุ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก
  • เจษฎา เทคนิค มิวเซียม (Jesada Technik Museum)
  • วู้ดแลนด์ เมืองไม้ (Woodland Museum & Resort)
  • เมืองรติยา
  • หอภาพยนตร์

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ศาสนา
บันเทิง
กีฬา
นางงาม
ข้าราชการ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 7 มีนาคม 2565.
  3. "พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 2" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 26 จังหวัดนครปฐม". กรมศิลปากร. 2563.
  5. ผาสุข อินทราวุธ. รายงานการขุดค้นที่ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526). หน้า 73.
  6. พนมกร นวเสลา. "นครปฐมเมืองท่าแห่งสหพันธรัฐทวารวดี". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.
  7. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. "โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี" (PDF). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 38.
  8. วินัย พงศ์ศรีเพียร. "ประวัติศาสตร์และหลักฐานประวัติศาสตร์สุโขทัย" (PDF). p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
  10. "จังหวัดนครปฐมมาจากไหน พระปฐมเจดีย์มีที่มาอย่างไร". ศิลปวัฒนธรรม.
  11. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2528.
  12. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  13. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=73&statType=1&year=61 2562. สืบค้น 23 กันยายน 2562.
  14. สำนักงานเทศบาลเมืองสามพราน. "ข้อมูลทั่วไป: สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.samphrancity.go.th/index.php?options=content&mode=cate&id=1 เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 ธันวาคม 2555.
  15.  กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองไร่ขิง.
  16. สำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krathumlom.com/basic/general.php เก็บถาวร 2014-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2556.
  17. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองนครปฐม.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองสามควายเผือก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 237 ง): 18. 23 กันยายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
  19. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  20. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  21. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  22. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°49′N 100°04′E / 13.82°N 100.06°E / 13.82; 100.06