มุข สุไลมาน
มุข สุไลมาน | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กันยายน พ.ศ. 2492 (71 ปี) จังหวัดปัตตานี |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ |
คู่สมรส | ดร.ฟารีดา สุไลมาน |
ศาสนา | อิสลาม |
มุข สุไลมาน (1 กันยายน พ.ศ. 2492 – ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี[1] อดีตเลขานุการ รมว.มท.
ประวัติ[แก้]
มุข สุไลมาน เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2492 ที่จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของนายบิเซะ สุไลมาน กับนางนีเมาะห์ สุไลมาน[2] สมรสกับ ดร.ฟารีดา สุไลมาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์หลายสมัย
มุข สุไลมาน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารและการบัญชี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2528 และปริญญาโทบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538
การทำงาน[แก้]
มุข สุไลมาน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี สมัยแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/1 และต่อจากนั้นก็ได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย คือ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/2 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ (กลุ่มวาดะห์) ซึ่งต่อมาได้ย้ายเข้าไปรวมกับพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 จึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคมาตุภูมิ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในจังหวัดปัตตานี เขต 4 สังกัดพรรคมาตุภูมิ[3] ซึ่งเป็นการลงสมัครคนละพรรคการเมืองกับภรรยาที่สมัคร ส.ส.จังหวัดสุรินทร์ในนามพรรคภูมิใจไทย
มุข สุไลมาน ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ในปี พ.ศ. 2561 เขาและกลุ่มวาดะห์ นำโดยนาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "วันนอร์"ดึงมาตุภูมิเสริมทัพเพื่อไทย จ่อสมัครสมาชิก 20 ธ.ค.นี้ หลอมกลุ่มวาดะห์ตั้งเป้าเจาะเสียง 3 จังหวัดชายแดนใต้
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ กกต.มั่นใจไร้รุนแรง 6 พรรคส่งเลือก ส.ส.ปัตตานี
- ↑ น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดปัตตานี
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาราช
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคมาตุภูมิ
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.