ข้ามไปเนื้อหา

ประทีป กรีฑาเวช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประทีป กรีฑาเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)

ประทีป กรีฑาเวช (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ประทีป กรีฑาเวช เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 [1] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนโกรกพระพิทยาคม

การทำงาน

[แก้]

ประทีป กรีฑาเวช เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 สังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งนำโดย พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร และพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)

ต่อมาประทีป ได้ย้ายไปสังกัดพรรคปวงชนชาวไทย และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 พร้อมกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และ จำลอง ครุฑขุนทด หลังจากนั้นพรรคปวงชนชาวไทยจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติพัฒนา ในปี 2535 โดยมี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรค และเขาได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย คือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 นายประทีปและสมาชิกพรรคชาติพัฒนา ได้ย้ายไปเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็น ส.ส.สมัยที่ 6

ภายหลังการกลับมาฟื้นฟูพรรคชาติพัฒนา (ในชื่อพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา) ของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เขาจึงได้เข้าร่วมงานอีกครั้ง และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค[3] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี 2552[4] และในปี 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ[5][6] ลำดับที่ 21 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ประทีป กรีฑาเวช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย ดังนี้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา → พรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2548
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/D/017/75.PDF
  4. https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2020/01/b3_.pdf
  5. ชพน.เปิดตัวผู้สมัครส.ส.343คน'สุวัจน์'ตอบไม่ได้จะได้กี่คนแต่อยากได้เยอะๆ
  6. ชาติพัฒนาเปิดนโยบาย 9 ด้านที่โคราชครั้งแรก “สุวัจน์”แจงนโยบาย 3 ระดับตามเมืองสำคัญ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙